Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ทส.รณรงค์เข้มก่อนขีดเส้น! “พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง” ปี 2565  

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทส. ออกมาแถลงว่าคนไทยให้ความร่วมมือในการลดใช้ถุงพลาสติก ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมากกว่า 1,300 ล้านใบ และเร็วๆ นี้ จะรณรงค์กับกลุ่มแม่บ้าน พร้อมเร่งใช้นวัตกรรม มาผลิตบรรจุภัณฑ์ใช้ทดแทนโฟมและพลาสติก ยันเล็งเลิกใช้แน่ พลาสติกหูหิ้ว (ถุงพลาสติกที่มักใช้ครั้งเดียวทิ้ง) กล่องโฟม และหลอดพลาสติกในปี 2565 ตามโรดแมป พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาหลังจากรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก ประเทศไทยประสบผลสำเร็จจนเป็นที่น่าพอใจ เมื่อสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อได้ 1,300-1,500 ล้านใบ หรือคิดเป็นประมาณ 2,686 ตัน ส่วนโฟมลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณการใช้ทั้งประเทศหลังผู้ประกอบการและผู้ผลิตโฟมหันมาใช้ชานอ้อย เข้าสู่กระบวนการผลิตจำหน่ายแทนโฟม จึงเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้โฟมในการจับจ่ายสินค้าในตลาดสด ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น “จากการสำรวจพบผู้หญิงใช้ถุงพลาสติก มากกว่าผู้ชายในการซื้อของและกับข้าว เราจึงเตรียมจะรณรงค์ให้กลุ่มแม่บ้านลดใช้ถุงพลาสติกลง แล้วใช้ถุงผ้าแทนมากขึ้น” พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าว ซึ่งภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบบูรณาการของหน่วยงาน ทั้งการลดและเลิกใช้พลาสติก โดยใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปีนี้ จะเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด คือ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสารอ๊อกโซ่ และพลาสติกผสมสารไมโครบีท “ส่วนในปี 2565 ก็จะเลิกใช้ อีก 4 ชนิด เฉพาะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว (Single use Plastic) คือ 1.พลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน 2.กล่องโฟมบรรจุอาหาร 3.หลอดพลาสติก ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และ 4.แก้วพลาสติกแบบบาง ประเภทใช้ครั้งเดียว” นอกจากนี้ จะเดินหน้าเน้นการใช้นวัตกรรม มาผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใช้ทดแทนโฟมและพลาสติก โดยต้องไม่มีส่วนผสมของสารเคมี ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นในการที่ประเทศไทยจะเลิกใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งยังถือเป็นความท้าทายของไทยและในฐานะประธานอาเซียนของไทยปีนี้ด้วย ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อติดตามความก้าวหน้า โครงการ "ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เริ่มจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการลดการใช้ถุงพลาสติก ณ ห้องประชุมกรรณิการ์ และห้องประชุมราชาวดี ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพจ Rereef บอกเป็นข่าวดี หากคิดปริมาณการลดถุงพลาสติกไปได้ 1,300 ล้านใบ เมื่อครบ 1 ปีเต็ม (12 เดือน) ก็น่าจะลดลงเกือบ 2,000 พันล้านใบ แต่ถ้าคิดว่าคนไทยใช้ถุงพลาสติกปีละ 4.5 หมื่นล้านใบ (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ) นั่นเท่ากับลดลงไม่ถึง 5% นี่คือความเป็นจริงของการรณรงค์และขอความร่วมมือ ซึ่งก็คงอดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แต่จุดนี้รัฐต้องขยับไปใช้กลไกอื่นควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การคิดเงินค่าถุงพลาสติก (เพื่อนำไปใช้จัดการขยะในชุมชน ถุงละ 2 บาทพิสูจน์แล้วว่าได้ผลมาก) ซึ่งจะทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้ลงได้อย่างชัดเจนถึง 70-80% ในทุกๆประเทศ ล่าสุดคือออสเตรเลีย ก็ลดลงไป 80% เช่นกัน ข่าวออสเตรเลียลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 80% ในเวลาเพียง 3 เดือน (ข้อมูลจากซูเปอร์มาร์เก็ต) https://www.ecowatch.com/australia-plastic-bag-ban-26222803… ลองคิดกันดูว่าถ้าประเทศไทยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 80% นั่นคือเอาถุงพลาสติก 3.6 หมื่นล้านใบต่อปีออกจากกองขยะ!! อย่างไรก็ยังเอาใจช่วย และอยากเห็นมาตรการตาม Road Map ที่จะเลิกใช้พลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟม และหลอดพลาสติกในปี 2565 ยิ่งออกมาเร็วผู้ประกอบการและผู้บริโภคก็จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เร็วขึ้น Manager online 24.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร