Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไทยลดพลาสติกสูงเป็นประวัติการณ์ “วันคุ้มครองโลก” ทส.ปลุกคนไทยร่วมเคลื่อนโรดแมปรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก  

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โชว์ผลงานประเทศไทยลดถุงพลาสติกได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 8 เดือน 2,686 ตัน สั่งทุกหน่วยเร่งเดินหน้าโรดแมป ตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิดในปีนี้ ก่อนเลิกใช้เด็ดขาด “หลอดดูด-แก้ว-ถุงพลาสติกหูหิ้ว-กล่องโฟม” ในปี 2565 “วันคุ้มครองโลก” จัดกิจกรรมปลุกคนไทยร่วมเคลื่อนโรดแมป แนะปรับพฤติกรรม “ปฏิเสธ” ถุงพลาสติกในทุกโอกาส เพื่อจับจ่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ปัญหาขยะพลาสติกและขยะทะเล เป็นหนึ่งในตัวการคร่าชีวิตของสัตว์หายากและสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น เต่าทะเล วาฬ และอื่นๆ จนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยแต่ละปีทั่วโลกมีการใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5 แสนล้านใบ และมีขยะพลาสติก ไม่น้อยกว่า 13 ล้านตันไหลลงสู่ทะเล ถือเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจังทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีความตระหนักและมอบหมายให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น “โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก” โดยร่วมกับผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสดทั่วประเทศในส่วนของหน่วยงานราชการ อุทยานแห่งชาติ และสวนสัตว์ร่วมกันรณรงค์งดการให้บริการถุงพลาสติกและกล่องโฟมแก่ประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและประชาชนทำให้เฉพาะในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาที่สามารถลดปริมาณขยะถุงพลาสติกไปได้แล้วกว่า 1,300-1,500 ล้านใบ หรือประมาณ 2,686 ตัน ส่วนโฟมก็ลดลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้เดิมที่มีอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้ามากที่สุดในประวัติการณ์นับตั้งแต่ประเทศไทยเคยรณรงค์เรื่องนี้มา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังมีมติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 ให้ความเห็นชอบ (ร่าง) โรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 เพื่อเป็นกรอบการทำงานด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายลดและเลิกการใช้พลาสติก แล้วหันมาใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย ภายในปี 2562 เลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม, พลาสติกผสมสารออกโซ, และไมโครบีด และภายในปี 2565จะเลิกใช้เพิ่มอีก 4 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร, หลอดพลาสติก ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้สำหรับเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วย, และแก้วพลาสติกแบบบางประเภทใช้ครั้งเดียว “นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยพยายามผลักดัน ผมได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการภารกิจในความรับผิดชอบของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการฉวยจังหวะและโอกาสต่างๆ ทำการรณรงค์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมอย่างจริงจังต่อไป” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าว นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวเสริมว่า เนื่องในโอกาส วันคุ้มครองโลก (Earth Day) วันที่ 22 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติกอย่างต่อเนื่อง ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ กรุงเทพมหานคร นายรัชฎาย้ำว่า คนไทยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโรดแมปลดปัญหาขยะได้ทันที โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างในชีวิตประจำวัน เช่น 1. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับจับจ่ายแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิเสธการใช้ถุงพลาสติกในทุกโอกาส แล้วใช้ถุงผ้า กระเป๋าสะพาย หรือเป้แทน อีกทั้งเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้หลายๆ 2. ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วและโฟมในสำนักงาน โดยเตรียมถุงผ้า แก้วน้ำ ภาชนะใส่อาหารให้พร้อมเมื่อไปซื้อของหรือซื้ออาหารในช่วงพักกลางวัน 3. ลดการใช้พลาสติกและโฟม เมื่อเดินทางท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ สวนสัตว์ หรือสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ 4. จัดการขยะให้ถูกต้อง ทิ้งให้ถูกที่ถูกถัง โดยเฉพาะขยะพลาสติกและโฟม และ 5. ร่วมกันบริจาคถุงผ้าเพื่อแบ่งปันส่งต่อให้โรงพยาบาลทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ป่วยใส่ยากลับบ้านแทนการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น Manager online 29.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร