Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไอซ์แลนด์อัด CO2ใส่หินใต้ภูเขาไฟสร้างอากาศสะอาด  

ไอซ์แลนด์อัดคาร์บอนไดออกไซด์ใส่หินในใจกลางภูเขาไฟ กักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนไว้ใต้พิภพไปตลอดกาล โดยเทคนิคของนักเล่นแร่แปรธาตุแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ เป็นการเลียนแบบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพียงแต่เร่งเวลาให้เร็วขึ้น ปกติกระบวนการตามธรรมชาตินั้น จะใช้เวลานับพันนับหมื่นปีในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในก้อนหิน แต่เทคโนโลยีที่ไอซ์แลนด์ใช้นั้นจะอัดฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่หินบะซอลต์ที่ีมีรูพรุนอยู่มากมาย และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกนี้ไว้ตลอดไป แซนดรา ออสก์ สแนบจอร์นดอตตีร์ (Sandra Osk Snaebjornsdottir) นักธรณีวิทยาระบุว่า ด้วยวิธีดังกล่าวช่วยให้เราร่นเวลาในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มหาศาล ทั้งนี้ แซนดรากำลังทำงานในโครงการคาร์บฟิกซ์ (CarbFix project) ของไอซ์แลนด์ ร่วมกับนักวิจัยและวิศวกรจากบริษัททางด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ (University of Iceland) ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส (France's National Centre for Scientific Research: CNRS) และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ในสหรัฐฯ ไอซ์แลนด์นั้นเป็นดินแดนแห่งน้ำพุร้อน ธารน้ำแข็งและภูเขาไฟ ซึ่งพลังงานที่ใช้ภายในประเทศอย่างน้อยครึ่งหนึ่งได้จากแหล่งพลังงานความร้อนใต้ดิน ซึ่งกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของทีมวิจัยคาร์บฟิกซ์ ซึ่งได้เปลี่ยนโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพเฮลลิสไฮดิ (Hellisheidi) ให้กลายเป็นห้องปฏิบัติการของพวกเขา โรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่ภูเขาไฟเฮนกิลล์ (Hengill volcano) ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ บนชั้นหินบะซอลต์ที่ก่อตัวขึ้นจากลาวาที่เย็นตัวแล้ว และยังเข้าถึงแหล่งทรัพยากรน้ำที่มีไม่จำกัดด้วย โรงไฟฟ้าจะสูบน้ำใต้ภูเขาไฟเพื่อเดินเครื่องกังหันไฟฟ้า 6 ตัว เพื่อผลิตไฟฟ้าและความร้อนให้แก่เมืองเรคยาวิก (Reykjavik) เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ที่อยู่ห่างออกไป 30 กิโลเมตร คาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าจะถูกดักจับจากไอน้ำ แล้วจะถูกควบแน่นให้กลายเป็นของเหลว จากนั้นละลายใส่น้ำปริมาณมหาศาล ซึ่ง เอ็ดดา ซฺฟ อราดอตตีร์ (Edda Sif Aradottir) ผู้อำนวยการโครงการคาร์บฟิกซ์ อธิบายอย่างง่ายๆ ว่าเป็นการผลิตโซดาจากคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำซ่าที่ได้จะถูกส่งต่อทางท่อออกไปอีกหลายกิโลเมตร เพื่อไปยังบริเวณที่เป็นรูปโดมสีเทาคล้ายกระท่อมอิกลู (igloo) ของชาวเอสกิโมและพื้นผิวขรุขระเหมือนดวงจันทร์ เมื่อถึงบริเวณนี้น้ำซ่าโซดาจะถูกฉีดอัดด้วยแรงดันสูงลงสู่หินที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน 1,000 เมตร ของเหลวซ่าจากคาร์บอนไดออกไซด์นี้จะเข้าไปอุดรูพรุนของหินและเริ่มกระบวนการกลายเป็นของแข็ง เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งเกิดขึ้นเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สัมผัสแคลเซียม แมกนีเซียมและเหล็กในหินบะซอลต์ ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกฉีดลงไปนั้นจะกลายเป็นแร่ธาตุภายใน 2 ปี และเมื่อกลายเป็นหินแล้วก็จะถูกกักเก็บไว้ตลอดไป ยกเว้นเมื่อภูเขาไฟระเบิด แต่ภูเขาไฟที่นั่นไม่ได้ระเบิดมากว่าพันปีแล้ว Manager online 09.05.62

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร