Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

TDRI ชี้ จุดอ่อน ก.อุดมศึกษาฯ ถ้าแก้ไม่ได้ก็ไร้ประโยชน์  

“TDRI” ชี้ ก.อุดมศึกษาฯ ต้องดึงภาคธุรกิจร่วมทำวิจัย เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ตลาดต้องการ ด้าน “พระจอมเกล้าลาดกระบัง” หวั่นโครงสร้างกระทรวงใหม่ติดระบบราชการ ขณะที่ “พรรคอนาคตใหม่” ห่วงมัธยมกับอุดมศึกษาอยู่คนละกระทรวง อาจมีปัญหาความต่อเนื่องในการจัดทำหลักสูตร ติง รมว.ต้องถนัดทั้งด้านวิทยาศาสตร์และบริหารการศึกษา ส่วน “ประชาธิปัตย์” เกรงพันธกิจพัฒนางานวิจัยล้มเหลว เหตุตั้งหน่วยงานใหม่โดยปราศจากการศึกษา และทุกคณะไม่ได้ถนัดงานวิจัย เป็นที่จับตาไม่น้อยทีเดียวสำหรับกระทรวงที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่สดๆร้อนๆอย่าง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)” ซึ่งเป็นการยุบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนากำลังคนให้มีทักษะสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ กระทรวงแห่งนี้จะมีอำนาจกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการอุดมศึกษาที่แยกจากกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งทำหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเตรียมคนไทยไปสู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านมหาวิทยาลัย และปฏิรูประบบเศรษฐกิจสังคมไปสู่ฐานนวัตกรรม ทั้งนี้ในมุมมองของหลายฝ่ายเห็นว่าการตั้งกระทรวงดังกล่าวควรมีเป้าหมายเพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในหลากหลายประเด็น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) หน่วยงานที่ศึกษาวิจัยถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มองว่า ประเด็นสำคัญในการก่อตั้งกระทรวงดังกล่าวก็เพื่อแก้ปัญหา 2 ประการ คือ 1) ผลงานการวัจัยของสถาบันวิจัยที่อยู่ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและภาคสังคม ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของงานวิจัย และ 2) การวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆกับการวิจัยของสถาบันวิจัยเป็นการทำงานแบบแยกส่วน ซึ่งเป็นปัญหาที่รองลงมา แต่การตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯซึ่งควบรวมสถาบันอุดมศึกษาเข้ากับหน่วยงานด้านการวิจัยที่อยู่ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นั้นในเบื้องต้นสามารถแก้ปัญหาได้เพียงข้อเดียวคือทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยได้ร่วมมือกันในการทำวิจัย ดังนั้นสิ่งต่อไปที่กระทรวงแห่งนี้ต้องทำก็คือทำให้งานวิจัยที่ออกมาสามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจ นำไปสู่การผลิตสินค้าที่สามารถจำหน่ายและส่งออกได้ ซึ่งการจะทำอย่างนั้นได้ต้องดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการทำวิจัย ทั้งในส่วนการคิดโจทย์การวิจัยและร่วมออกทุนวิจัยด้วย ขณะที่งานวิจัยภาคสังคมนั้นจะต้องมีการประเมินผลอย่างเข้มงวดว่างานวิจัยที่ออกมาสามารถแก้ปัญหาต่างๆของสังคมได้จริงๆ เช่น แก้ปัญหาพืชผลเกษตรเน่าเสียเร็ว ช่วยให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “ก่อนจะทำงานวิจัยต้องถามว่ามีเอกชนรายใดสนใจร่วมทำการวิจัยและร่วมสนับสนุนงบประมาณไหม ถ้าไม่มีก็ไม่ควรเสียเวลาทำวิจัยชิ้นนั้น เพราะแสดงว่างานวิจัยนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์” ดร.สมเกียรติ กล่าว ด้าน รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หนึ่งในสถาบันที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม กล่าวว่า ปัญหาในการทำวิจัยที่ผ่านมาคือกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผู้ให้ทุนในการทำวิจัยไม่ได้ติดตามผลว่าผู้วิจัยได้นำผลงานการวิจัยไปใช้ทำอะไรบ้าง งานวิจัยถูกส่งกลับมาที่กระทรวงแล้วเก็บไว้บนหิ้ง ไม่เกิดประโยชน์ ขณะที่ระบบการขอทุนเพื่อเรียนในสาขาการวิจัยหรือพัฒนาด้านนวัตกรรมในระดับอุดมศึกษา เมื่อเรียนจบผู้เรียนต้องกลับไปทำงานใช้ทุนให้หน่วยราชการที่ให้ทุนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านวิชาการ แทนที่จะได้ไปทำงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ความรู้จากการเรียนจึงไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งกระทรวงการอุดมศึกษาฯต้องหาทางแก้ปัญหาในจุดนี้ “ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มมีการหารือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและโปรดักต์ใหม่ๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งตรงนี้จะทำงานวิจัยไม่สูญเปล่า” รศ.ดร.คมสัน ระบุ ด้าน กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งดูแลด้านการศึกษา เป็นห่วงว่าการแยกมหาวิทยาลัยออกมาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ขณะที่โรงเรียนต่างๆซึ่งจัดการศึกษาในระดับมัธยมอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ อาจเกิดปัญหาเรื่องการประสานงานในการจัดทำหลักสูตรการศึกษา นอกจากนั้นการโอนถ่ายงบประมาณจากกระทรวงเก่าไปยังกระทรวงใหม่จะมีปัญหาหรือไม่อย่างไร ส่วน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองหัวหน้าตามภารกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า การตั้งกระทรวงใหม่โดยไม่มีการศึกษาวิจัยรองรับมันขัดต่อหลักการ จะมั่นใจได้อย่างไรว่าพันธกิจจะบรรลุผล นอกจากนั้นงานวิจัยของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีลักษณะเป็นงานวิจัยทางธุรกิจ ต่างจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งมีลักษณะเป็นวิชาการ การนำสองหน่วยงานที่รูปแบบทำงานต่างกันมารวมกันจะเกิดปัญหาหรือไม่ “ ที่จริงปัญหางานวิจัยที่ไม่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจนั้นสามารถแก้ไขได้โดยการนำเอกชนเข้ามาร่วมเสนอความเห็น หรือตั้งสถาบันความเป็นเลิศในนวัตกรรมด้านต่างๆขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ด้านไบโอเทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีทางอวกาศ ไม่จำเป็นต้องตั้งกระทรวงใหม่ให้ยุ่งยากซับซ้อน” นอกจากนั้น นายชินวรณ์ ยังวิตกว่า มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะและสาขาต่างๆมากมาย ไม่ได้มีแค่คณะวิทยาศาสตร์ การจะให้ทุกคณะทำวิจัยอาจไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาของคณะนั้นๆ ขณะที่ ดร.สมเกียรติ กลับเห็นต่างออกไป โดยมองว่า ทุกคณะและสาขาวิชาสามารถทำงานวิจัยได้หมด เพราะแต่ละสาขาล้วนมีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพ เช่น คณะสถาปัตยกรรมอาจทำงานวิจัยเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน คณะเศรษฐศาสตร์ทำงานวิจัยเรื่องเครื่องมือในการประมวลผลทางเศรษฐกิจ คณะแพทยศาสตร์ทำวิจัยเรื่องนวัตกรรมในการรักษา ประเด็นเรื่องบุคลากรก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม ซึ่ง ดร.สมเกียรติ เห็นว่า เรื่องหนึ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งทำก็คือการบริหารบุคลากรเพื่อไม่ให้งานสะดุด โดยสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนในกระทรวงการอุดมศึกษาฯให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการสะดุดหยุดชะงักในการทำงานอันเนื่องมาจากปัญหาการแบ่งงาน การแย่งงาน และการเกี่ยงงาน ซึ่งมักเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการควบรวมหน่วยงาน “ถ้ากระทรวงที่ตั้งขึ้นใหม่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจได้ประเทศไทยก็จะมีนวัตกรรมใหม่ๆที่นำไปสู่การผลิตสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดรายได้และการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น แต่ถ้าบุคลากรไม่สามารถผลักดันให้บรรลุผลดังกล่าวได้ การตั้งกระทรวงนี้ก็สูญเปล่า” ประธานทีดีอาร์ไอ ระบุ ส่วนผู้ที่จะมานั่งในตำแหน่งเจ้ากระทรวงการอุดมศึกษาฯเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าน่าจะเป็น ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ปลุกปั้นกระทรวงการอุดมศึกษาฯมากับมือนั้น กุลธิดา รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่าไม่ขอแสดงความเห็นว่าเหมาะสมหรือไม่ แต่ส่วนตัวมองว่าผู้ที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ต้องมีความรู้ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และการบริหารการศึกษา ซึ่งอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จากนี้คงต้องรอดูว่า “กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะสามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ที่ต้องการได้จริงหรือไม่ คุ้มค่ากับงบประมาณปีละแสนกว่าล้านบาทที่ทุ่มลงไปหรือเปล่า Manager online 15.05.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร