Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

"ซอมบี้เซลล์" กุญแจไขความลับความเยาว์วัย!?  

รายงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ในร่างกายมนุษย์เรามีเซลล์พิเศษประเภทหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้าย “ซอมบี้” คือฆ่าไม่ตาย ซึ่งอาจเป็นกุญแจไขความลับของการมีอายุยืนยาว เมื่อพูดถึงซอมบี้ เรามักจะนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่ฆ่าไม่ตาย หรือตายแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ และถ้าเป็น “ซอมบี้เซลล์” ในทางวิทยาศาสตร์ ก็หมายถึงเซลล์ที่ไม่ตาย แต่สามารถสะสมในร่างกาย นำไปสู่ภาวะชราภาพและโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้น เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและสมอง ขณะนี้ นักวิจัยกำลังพยายามศึกษาวิจัยเพื่อคิดค้นยาที่สามารถฆ่าซอมบี้เซลล์เหล่านั้นเพื่อชะลอการแก่ตัวลงของคนเราและชะลอเวลาการเกิดโรคร้ายต่างๆ นายแพทย์จอห์น เคิร์กแลนด์ แห่ง Mayo Clinic ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐฯ ผู้ศึกษาเรื่องซอมบี้เซลล์ กล่าวกับ Associated Press ว่า เซลล์ดังกล่าวอาจเรียกว่าเป็นเซลล์การแก่ตัว ซึ่งเกิดขึ้นเหมือนกับเซลล์ทั่วไป แต่เกิดความผิดปกติบางอย่างที่อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือดีเอ็นเอบางส่วนถูกทำลาย โดยเซลล์ที่ว่านี้ไม่ตายไปด้วย แต่กลับกลายเป็น “ซอมบี้เซลล์” ซึ่งเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “การระงับการเคลื่อนไหว” และจะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมาทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ติดกัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแก่ตัวและโรคร้ายต่างๆ นักวิจัยได้เคยทดสอบยาบางชนิดเพื่อทำลายซอมบี้เซลล์ในหนูทดลอง ซึ่งผลปรากฎว่าช่วยลดอาการหลายอย่างที่เกี่ยวกับอายุที่เพิ่มขึ้นของหนูทดลอง เช่น โรคเบาหวาน โรคต้อ ปัญหาที่ไต หรือการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่า หนูทดลองบางตัวที่อายุมากและได้รับยาต้านซอมบี้เซลล์นี้เข้าไป กลับสามารถเดินได้เร็วขึ้น แข็งแรงขึ้น และสามารถทำกิจกรรมทางกายต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยนักวิจัยพบว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถยืดอายุของหนูทดลองที่แก่มากแล้วได้ถึง 36% และเมื่อลองนำซอมบี้เซลล์นี้ไปใส่ในตัวของหนูทดลองที่ยังอายุน้อย พบว่าหนูทดลองตัวนั้นเดินช้าลง ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อลดลง และเซื่องซึมมากขึ้น ที่น่าประหลาดใจคือ ซอมบี้เซลล์ที่ถูกใส่ไปในตัวหนูทดลองอายุน้อยนั้น ยังไปทำให้เซลล์อื่นๆ รอบข้างกลายเป็นซอมบี้เซลล์ไปด้วย หลังจากได้ผลชัดเจนกับหนูทดลอง นายแพทย์เคิร์กแลนด์ได้ทดลองกระบวนการนี้กับคนเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 14 คนที่เป็นผู้ป่วยโรคพังผืดที่ปอดแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมักลุกลามไปเป็นโรคปอดที่ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งพบซอมบี้เซลล์ที่ปอดของผู้ป่วยเหล่านี้ด้วย หลังการรักษาด้วยยาต้านซอมบี้เซลล์เป็นเวลาสามสัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีลักษณะทางกายภาพบางอย่างดีขึ้น เช่น เดินได้เร็วขึ้น แม้ยังไม่พบการพัฒนาที่ชัดเจนในด้านอื่นๆ มากนัก อย่างไรก็ตาม การทดลองครั้งแรกกับมนุษย์นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการศึกษาเรื่องซอมบี้เซลล์ในอนาคต และขณะนี้มีอย่างน้อย 12 บริษัทที่ได้เริ่มวิจัยยาต้านซอมบี้เซลล์นี้อย่างเป็นจริงเป็นจังแล้ว อาจารย์ลอร่า นีเดิร์นโฮฟเฟอร์ แห่ง University of Minnesota เชื่อว่า ในอนาคต ยาต้านซอมบี้เซลล์อาจสามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง ด้วยการป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งลุกลามออกไปอีก แต่สำหรับการนำยานี้มาใช้กับคนที่แข็งแรงดี เพื่อป้องกันไม่ให้แก่ตัวลงอย่างรวดเร็วนั้น ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้บอกว่ายังต้องมีการศึกษาวิจัยอีกมากเพื่อให้แน่ใจว่ายาดังกล่าวปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงอื่นๆ ถึงกระนั้น นักวิจัยจากหลายสถาบันเชื่อว่า ในที่สุดแล้ว “ซอมบี้เซลล์” อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยไขความลับสู่การรักษาโรคร้ายต่างๆ หรืออาจเป็น “น้ำพุแห่งความเยาว์วัย” ที่ถูกพูดถึงกันมาหลายยุคหลายสมัยแล้วก็เป็นได้ Voice of America 22.05.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร