Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘เกรตา ธันเบิร์ก’ไอคอนคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมให้โลกถูกทำลาย  

เมื่อเร็วๆ นี้ สาวน้อยนักเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม 'เกรตา ธันเบิร์ก' (Greta Thunberg )ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ และได้รับคัดเลือกให้ขึ้นปกนิตยสารไทม์ (Time Magazine) พร้อมบทความ Next Generation Leaders: The Teenager on Strike for the Planet “Now I Am Speaking to the Whole World.” - Greta Thunberg อย่างที่เกรตาเคยกล่าวไว้ "You are never too small to make a difference" ไม่มีใครไม่สำคัญในการลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง ถึงตอนนี้สาวน้อยนักกิจกรรมอายุ 16 ปีจากสวีเดนกลายเป็นไอคอนของคนรุ่นใหม่ที่กำลังต่อสู้เพื่ออนาคตของโลกและคนรุ่นต่อไป ในขณะที่ระดับก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์แตะผ่านระดับ 415 ppm สูงที่สุดในรอบ 3 ล้านปี ผู้นำโลกส่วนใหญ่ยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องการเมือง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และปล่อยให้หายนะคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ “สิ่งที่เราทำ 10 ปีต่อจากนี้จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของมนุษยชาติไปอีกเป็น 10,000 ปี” คำพูดดังกล่าวไม่ได้พูดเก๋ๆ แต่มีพื้นฐานมาจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ปัญหาในตอนนี้อาจจะสายไปมากแล้ว แต่ยังไม่สายเกินไป เอาจริงๆ เราอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์โลกที่สำคัญมากๆ เราเป็นคนรุ่นสุดท้ายที่ยังมีโอกาสแก้ปัญหานี้ และนี่คือสิ่งที่เกรตา และเยาวชนทั่วโลกเรียกร้อง การนิ่งดูดายของผู้ใหญ่ในวันนี้ คือการขโมยอนาคตของเด็กๆ ในวันข้างหน้า อีก 20-30 ปีจากนี้ แม้เด็กๆที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่อยากทำอะไรมากแค่ไหน ก็อาจไม่มีวันทำได้อีกแล้ว เพราะมันสายเกินไปเมื่อโลกได้ผ่านจุดเปลี่ยน (tipping point) จนเกินเยียวยา ในรายงานล่าสุดของ UN ที่เตือนถึงวิกฤติการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เกิดจากมนุษย์ ระบุว่า "กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์มากมายจากระบบเดิมๆ ย่อมขัดขวางการเปลี่ยนแปลงทุกวิถีทาง แต่เราต้องเอาชนะให้ได้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่" เกรตา เป็นหนึ่งในความหวังว่า สุดท้ายแล้วเผ่าพันธุ์มนุษย์จะสามารถเอาชนะด้านมืดของตัวเองได้ เพราะเราทุกคนล้วนต้องการความหวัง แต่ความหวังจะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าเราไม่ลงมือทำ จากเด็กออทิสติกที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ สู่ไอคอนคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมให้โลกถูกทำลาย พวกคุณบอกว่าคุณรักลูกหลานของคุณเหนือสิ่งอื่นใด แต่คุณกลับขโมยอนาคตของพวกเขาไปต่อหน้าต่อตา...พวกคุณไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะยอมรับความจริง และทิ้งปัญหาไว้ให้กับพวกเรา เด็กๆ ทั้งหลาย” - เกรตา ธุนเบรก์ (ออกเสียงแบบสวีดิช) ถึงนาทีนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักสาวน้อย Greta Thunberg นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมวัย 16 ปี ชาวสวีเดน ผู้กล่าวสุนทรพจน์เตือนสติบรรดาผู้นำประเทศและนักการเมืองระดับสูงในงานประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (COP 24) ที่โปแลนด์ได้อย่างตรงใจคนทั้งโลก ใครจะรู้ว่า 4 ปีก่อนหน้านี้ เธออ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนจนเกิดอาการซึมเศร้า ล้มป่วย ไม่พูดกับใคร ไม่กินอาหาร น้ำหนักตัวลดไป 10 กิโลกรัมภายในสองเดือน และต่อมาได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) และภาวะไม่พูดในบางสถานการณ์ (Selective mutism) ซึ่งรวมๆแล้วเป็นอาการออทิสติกอย่างหนึ่ง “หนูสามารถทำอะไรซ้ำๆได้นานหลายๆชั่วโมง และจะพูดเมื่อคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นจริงๆเท่านั้น” เกรตาอธิบาย เธอหยุดเรียนไปถึงหนึ่งปี แต่โชคดีที่ได้พ่อและแม่ที่ใส่ใจ และรับฟัง ทั้งบ้านจึงเปลี่ยนมาใช้ชีวิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด เธอหยุดบริโภคเนื้อสัตว์ ไม่ซื้อสิ่งของอะไรใหม่เลยยกเว้นจำเป็นจริงๆ หยุดเดินทางด้วยเครื่องบิน ติดตั้งแผงโซลาเซลล์และหันมาปลูกผักกินเอง เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุคลื่นความร้อนและไฟป่าครั้งใหญ่ในสวีเดน เธอตัดสินใจไปประท้วงรัฐบาลหน้าอาคารรัฐสภาให้ทำตามข้อตกลงปารีส ที่กำหนดให้ประเทศที่ร่ำรวยอย่างสวีเดนต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยปีละ 15% และนำไปสู่การประท้วงโดยเด็กนักเรียนในหลายประเทศทั่วโลก เธอบอกว่าคนที่มีอาการออทิสติกมักจะมองโลกแบบขาวดำ “เราโกหกไม่เป็น เล่นเกมไม่เป็น จริงๆแล้วหนูคิดว่าพวกออทิสติกนี่แหละเป็นปกติ คนอื่นๆสิแปลก โดยเฉพาะในเรื่องวิกฤติด้านความยั่งยืน เพราะในขณะที่เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของโลก คนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตกันได้อย่างปกติ หนูไม่เข้าใจจริงๆ" "ถ้าการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนคือการหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แล้วทำไมเราไม่ทำ ทำไมเราจึงยังไม่มีกฎหมายควบคุม สำหรับหนูนี่คือเรื่องขาวดำ ไม่ใช่สีเทา เราต้องเปลี่ยนแปลง” “เรามักจะพูดถึงทางออกต่างๆด้วยความหวัง พลังงานทางเลือก เศรษฐกิจหมุนเวียน แต่เราพูดกันมา 30 ปีแล้ว แต่ก๊าซเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันไม่สำเร็จ...แน่นอนว่าเราต้องการความหวัง แต่ความหวังจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการลงมือทำ” Manager online 23.05.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร