Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ศิริราชพบยารักษามะเร็งเต้านมอาจใช้ได้ผลดีกับมะเร็งท่อน้ำดี  

ทีมวิจัยศิริราชพยาบาล ม.ขอนแก่น และญี่ปุ่น ค้นพบแนวทางใหม่ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีสำหรับผู้ป่วยไทย โดยใช้ยายับยั้งโปรตีน CDK4-Cyclin D ผลการทดลองในสัตว์ได้ผลดีและมีความเป็นพิษต่ำ เมื่อเทียบกับเคมีบำบัด เตรียมขยายผลทดสอบในคนต่อไป รศ. ดร.ศิวนนท์ จิรวัฒโนทัย อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านเภสัชวิทยาเชิงระบบศิริราช ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า มะเร็งท่อน้ำดีเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของคนไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณปีละ 6,000 - 10,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก “เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาใดๆ ให้ผลน่าพอใจ การรักษาที่อาจได้ผลมีเพียงการผ่าตัดที่ทำได้เฉพาะในผู้ป่วยจำนวนไม่กี่รายเท่านั้น (ไม่เกิน 5 คนจากผู้ป่วย 100 คน) ดังนั้นการวิจัยค้นคว้าหายาที่จะใช้ได้ผลดีกับมะเร็งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดและต้องรีบดำเนินการ” ล่าสุดทีมนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ค้นพบและผลักดันแนวทางการรักษาใหม่สำหรับมะเร็งร้ายนี้ โดยอาศัยจุดอ่อนจำเพาะอันหนึ่งของมะเร็งท่อน้ำดี ที่พึ่งพาโปรตีนที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ (cell cycle regulators) ได้แก่ CDK 4 และ Cyclin D1 ในการดำรงชีวิตและเจริญเติบโต ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่คล้ายมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่ง การค้นพบนี้จะนำไปสู่แนวทางการรักษาใหม่ที่ใช้ยาต้านการออกฤทธิ์ของโปรตีน CDK4-Cyclin D ไปทำลายมะเร็งท่อน้ำดีโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดลองที่โรงพยาบาลศิริราชแสดงว่ามะเร็งท่อน้ำดีไวต่อยาชนิดนี้มาก และครอบคลุมมะเร็งท่อน้ำดีได้หลายประเภท นักวิจัยได้ทำการยืนยันในโมเดลที่สามารถเป็นตัวแทนผู้ป่วยในหลายระดับเพื่อความมั่นใจ โดยใช้โมเดลที่เสมือนผู้ป่วยในการทดสอบทั้งแบบ 2 มิติ, 3 มิติ และในสัตว์ทดลอง นำมาสู่ผลการทดลองที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะนำไปสู่การทดลองในมนุษย์เป็นลำดับต่อไป หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวถึงประโยชน์และข้อดีที่เป็นจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้ต่อการพัฒนาแนวการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี ว่าการค้นพบพฤติกรรมของมะเร็งท่อน้ำดีนี้สำคัญมาก เพราะทำให้เราเชื่อมโยงความรู้เข้ากับการรักษาได้ทันที ยาที่ใช้ยับยั้งโปรตีนกลุ่มนี้มีอยู่แล้วหลายตัว เช่น Palbociclib, Ribociclib, และ Amebaciclib ซึ่งมีความเป็นพิษต่ำเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด โดยเป็นยารับประทานวันละครั้ง และมีข้อมูลด้านความปลอดภัยพร้อมอยู่แล้ว ขณะนี้เริ่มมีการใช้รักษามะเร็งอื่น ๆ ในประเทศไทย เช่น มะเร็งเต้านม จึงสามารถนำมาปรับใช้กับมะเร็งท่อน้ำดีได้อย่างรวดเร็ว และลัดการทดสอบได้หลายขั้นตอน ซึ่งจะช่วยเร่งการใช้ประโยชน์จากแนวทางใหม่นี้ให้ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีได้ประโยชน์เร็วที่สุด การยับยั้งโปรตีนในสองกลุ่มดังกล่าวแล้วได้ผลเป็นอย่างดีมากนั้นค่อนข้างอยู่เหนือความคาดหมาย เพราะรายงานชิ้นสำคัญที่ผ่านมาจะไม่พบการกลายพันธุ์ของโปรตีน CDK4-Cyclin D อย่างชัดเจนในมะเร็งท่อน้ำดี แต่เนื่องจากทีมวิจัยนี้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโปรตีน จึงตรวจพบร่องรอยของความผิดปกติ “ผลการวิเคราะห์ชิ้นเนื้อของผู้ป่วยไทยอย่างละเอียด จากประสบการณ์ในการทำวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับโปรตีนดังกล่าวมานาน ทำให้นักวิจัยเห็นร่องรอยบางอย่างของโปรตีนกลุ่มนี้ซ่อนอยู่ในเนื้อเยื่อมะเร็งที่วิเคราะห์ จึงเร่งพิสูจน์ทราบอย่างละเอียดจนนำมาสู่การทดสอบการใช้ยาและผลที่น่าพอใจ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังเสนอวิธีการทำนายล่วงหน้าว่าผู้ป่วยคนใดจะได้ประโยชน์หรือไม่ได้ประโยชน์จากยานี้ เวลาปฏิบัติจริงแพทย์ก็จะเลือกใช้ยาได้อย่างประสิทธิภาพโดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับยาหากไม่ได้ผลอีกด้วย นับว่างานวิจัยนี้ส่งผลกระทบทั้งทางเศษฐกิจและนโยบายอย่างแท้จริง โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), e-Asia Joint Research Project รวมถึงคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผลการทดลองได้รับความสนใจจากแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก นำมาสู่การตีพิมพ์ในวารสาร Hepatology อันเป็นวารสารสำคัญทางการแพทย์ระดับนานาชาติที่มีผู้สนใจมาก ทั้งนี้เพราะมะเร็งท่อน้ำดีเริ่มกลายเป็นปัญหาสำคัญต่อประชากรทั่วโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มพบผู้ป่วยในตะวันตกจำนวนมากขึ้นเช่นกัน “ทีมวิจัยมุ่งมั่นที่จะรักษาชีวิตหรือเพิ่มคุณภาพการรักษาให้กับผู้ป่วยชาวไทยเป็นหลัก เพราะผู้ป่วยไทยขาดโอกาสในการรักษาจริงๆ โรคมะเร็งท่อน้ำดีแต่เดิมไม่ใช่ปัญหาของโลกตะวันตก จึงไม่ค่อยมีการวิจัยหรือแนวทางการรักษาถูกพัฒนาขึ้นจากโลกตะวันตกออกมา เราจึงต้องทำเองและต้องรีบ โดยความร่วมมือร่วมใจของทีมวิจัยทั้งหมด และการทำงานเป็นทีมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการนี้ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และวิทยาการที่ทันสมัยที่สุดในการเอาชนะความท้าทายนี้ ขณะนี้เราไม่ได้นิ่งนอนใจและเร่งค้นคว้าต่อยอดงานวิจัยนี้อย่างเต็มความสามารถ” รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวนนท์กล่าวทิ้งท้าย Manager online 28 พฤษภาคม 2562

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร