Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เผย 3 ทริคเด็ด ออกแบบแพคเกจจิ้งสำคัญอย่างไรถึงส่งออกได้  

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาคุณภาพสินค้า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย ยิ่งจะช่วยดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากใช้สินค้า และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในที่สุด ปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการออกแบบ คือ แพคเกจจิ้งของสินค้าจะสามารถสร้างจุดขาย หรือเล่าเรื่องราวที่มาของสินค้า ให้เป็นที่เตะตากับลูกค้าได้อย่างไร ตลอดจนความสำคัญและเป้าหมายในการออกแบบแพคเกจจิ้ง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำ ด้วยความเรียบง่ายและเข้าถึงใจลูกค้าได้อย่างไร ประกอบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการท้องถิ่นนั้น ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชุมชน ให้มีความน่าสนใจต่อสายตาชาวโลกได้อย่างไร หากต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIPT) จึงพัฒนาความรู้และทักษะการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการระดับฐานรากถึงผู้ส่งออก จัด “โครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG)” ดันสินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลก” ในระยะที่ 1 จะเป็นการอบรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความพร้อมให้ผู้ส่งออกรุ่นใหม่มีศักยภาพที่จะสามารถส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกได้ โดยมีการจัดอบรมหัวข้อ “ความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าส่งออก พร้อมกรณีศึกษาไทยที่ประสบความสำเร็จ” บรรยายโดย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ PROMPT PARTNERS ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่การันตีด้วยรางวัลระดับโลก มาให้ความรู้เกี่ยวกับ “3 ทริคเด็ด ออกแบบแพคเกจจิ้งสำคัญอย่างไรถึงส่งออกได้” ดังนี้ 1.สินค้าต้องตั้งชื่อให้โดน (Brand name) ในโลกใบนี้มีแบรนด์ดังหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ถูกวางขายแตกต่างกันแต่ละประเทศและชื่อไม่เหมือนกัน ตรงนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ ว่าชื่อแบรนด์สินค้าของคุณอาจจะตรงใจ พอใจ แต่อาจจะวางขายบางประเทศแล้วไม่เกิดความเข้าใจ อาจเนื่องด้วยภาษาที่แตกต่างกัน เช่น เลย์ ถ้าไปออสเตรเลีย กลายเป็นชื่อสมิท หรือบางประเทศนั้นไม่อนุญาตชื่อนี้ อาจใช้แล้วไม่สุภาพ หลายๆ ครั้งดิสทิบิลเตอร์เขาจะมีความหมายที่สอดคล้องกับจริตประเทศนั้น ดังนั้นไปประเทศไหนเอาคนที่รู้จริงมาแปล หรือแนะนำการตั้งชื่อ การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญว่าจะบ่งบอกถึงสิ่งที่เราขาย และสื่อสารสินค้าของเรากับผู้ซื้ออย่างไร จะสามารถสร้างการจดจำแบรนด์ในวงกว้างได้หรือไม่ วิธีการง่ายๆ คือ ตั้งชุดความคิดแบบง่ายๆ ขายอะไร อยากเล่าเรื่องราวอะไร และลองสุ่มเทสดูว่า ในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง หากได้ยินชื่อที่ตั้งขึ้นทดสอบสัก 50 ชื่อ เวลาผ่านไป 3 วัน ลองกลับมาย้อนถามดูใหม่ หากจำชื่อไหนได้ นั้นหมายความว่า ชื่อแบรนด์นั้น มีประสิทธิภาพในตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์แบบ 2.สร้างเรื่องราวให้ทัชใจลูกค้า (Storytelling) การเล่าเรื่องราว เราอยู่ในยุคที่นวัตกรรมที่หาได้ง่าย ความแตกต่างของสินค้าจะไม่มี เพราะงั้นหลายคนทำสินค้าเหมือนกัน เช่น ทุเรียนมีหลายเจ้า เป็นพันๆ เจ้า ดังนั้นไม่มีความแตกต่าง เรื่องที่จะขายได้ยุคนี้คือเรื่องเล่า จะขายทุเรียน คิดว่าจะเหมือนกันไหม จนไม่มีทางคิดว่าจะเหมือนไหม ก็เล่าเรื่องราว storytelling มีอายุของมันระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยน ตรงนี้ยังไม่มีใครเล่ามากเท่าไหร่ มันมีแบรนดที่เล่าก็จริงอยู่แต่ในทุกแบรนด์ไม่เล่าอะไรเลย เราต้องเล่าเรื่องราวเบื้องต้นก่อนเพื่อเราจะได้ไปอยู่ในใจเขา 3.สื่อสารอย่าซับซ้อน ต้องง่ายและชัดเจน (Be Simple,Bold and Clear) สุดท้ายการสื่อสารอย่าซับซ้อน แต่ต้องแตกต่างเคลียร์ชัดเข้าใจง่าย ภาษาที่พูดเป็นสากล ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมากมาย เพราะในตลาดมีความวุ่นวายอยู่แล้ว ในตลาดมีแบรนด์ทุกคนหากเป็นแบบนี้ถ้าเราเป็นแบรนด์ใหม่ต้องทำตัวให้เรียบง่าย ยกตัวอย่าง แบรนด์ Raimaijon (ไร่ไม่จน) ทำน้ำอ้อยมาขาย สมัยแรกเริ่มทำขายเป็นระบบเฟรนไชส์ เพราะบริหารจัดการไม่วุ่นวายนัก แต่ขายได้ไม่มากเท่าไหร่ สิ่งแรกที่ต้องกลับมาคิดคือ แพคเกจจิ้ง น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำอ้อยได้อย่างไร จึงได้ตัดสินใจช่วยกันคิดใหม่ ทำใหม่ โดยเริ่มเปลี่ยนขวด และเปลี่ยนโลโก้ก่อน เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษหมด “RAIMAIJON” และ lobo type เป็นท่อนอ้อย และ 3 บรรทัดอ่านง่ายๆ ได้ logo ใหม่ พอบอกว่าต้องเป่าขวดเป็นเรื่องใหญ่ อยากได้รูปทรงต่อเป็นท่อนอ้อยได้ เพื่อต่อกันได้ จึงส่งไปเป่าขวด ทำเทสมาเพื่อต่อให้ได้ ต้องเทสหลายทีเพื่อให้ต่อกันให้ได้ พอทำมาแล้วจึงเริ่มมีโครงการหลายๆ โครงการนำไปออกบูธในไทย และหลายรายการโทรทัศน์นำไปเผยแพร่ ทำให้เป็นที่รู้จัก จากความน่าสนใจในตัวแบรนด์มากยิ่งขึ้น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือสถาบัน NEA กล่าวว่า สถาบัน NEA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะความสามารถให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ และในทุกๆมิติ จะเห็นได้ว่า การจัดโครงการฝึกอบรมและสัมมนาต่างๆ ของสถาบัน และในโครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG) ผลักดันให้สินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลก” ในระยะที่ 1 นั้น ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงเพิ่มทักษะและขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการได้มีโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้จากผู้ที่เก่ง ผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทย ในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้ก้าวไปสู่เวทีการค้าโลกได้อย่างสมภาคภูมิต่อไปในอนาคต Manager online 30.05.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร