Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

"ศิริราชเทคนิค" สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเซลล์ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์กระจกตา  

ศิริราช ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์กระจกตา 3 วิธีสำเร็จครั้งแรกของไทย ทั้งวิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ลิมบัส เยื่อบุปาก และไม่ต้องเพาะเลี้ยง ชู "ศิริราชเทคนิค" ทำสูตรอาหารเลี้ยงเซลล์สะอาด ปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนโปรตีนสัตว์ วันนี้ (4 มิ.ย.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ศิริราชประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์รักษาผิวกระจกตาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย” ว่า สเต็มเซลล์ที่อยู่ติดขอบกระจกตา จะป้องกันให้กระจกตาสะอาดตลอดเวลา ไม่ให้เส้นเลือดเข้าไปเลี้ยง ซึ่งกระบวนในร่างกาย เมื่อมีอะไรผิดปกติ เช่น เกิดการติดเชื้อ เกิดบาดแผล เป็นต้น มักจะมีเส้นเลือดเข้าไปเลี้ยงเพื่อซ่อมแซม แต่หากกระจกตามีเลือดเข้าไปเลี้ยงจะทำให้ขุ่นมัว การเห็นภาพจะแย่ลง จนมองไม่เห็นในที่สุด ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ การรักษาจึงต้องทำให้สเต็มเซลล์ที่สูญเสียไปกลับคืนมา หลักการง่าย แต่กระบวนการไม่ง่าย ศิริราชได้ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์กระจกตาได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2550 และได้พัฒนาต่อมาจนเกิดการรักษา 3 รูปแบบ และพัฒนากระบวนการรักษาจนเรียกว่าเป็น "ศิริราชเทคนิค" ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบ ศิริราชทำการผ่าตัดไปแล้ว 86 ตาในผู้ป่วย 75 ราย รศ.พญ.งามแข เรืองวรเวทย์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ กล่าวว่า กระจกตามนุษย์จะมีความใสและเรียบ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน โดยมีสเต็มเซลล์กระจกตาอยู่รอบ ตาดำ ทำหน้าที่เสมือนโรงงานสร้างเซลล์ผิวกระจกตาแทนเซลล์เก่าที่ตาย และเป็นเขื่อนป้องกันไม่ให้เส้นเลือดจากเยื่อตารุกเข้ามาในกระจกตา สาเหตุที่ทำให้สเต็มเซลล์กระจกตาบกพร่อง มีทั้งการรับสารเคมีเข้าตา การแพ้ยาอย่างรุนแรงกลุ่มสตีเวนส์ จอห์นสัน การอักเสบติดเชื้อที่ตาอย่างรุนแรง สเต็มเซลล์กระจกตาบกพร่องแต่กำเนิด เนื้องอก ต้อเนื้อ การผ่าตัดตาหลายครั้ง ทำให้เส้นเลือดรุกเข้ามาในกระจกตา ทำให้ตาขุ่นมัว เกิดแผลถลอกที่ผิวกระจกตา และติดเชื้อ เป็นภาวะที่รักษายาก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาไม่สามารถรักษาได้ เพราะหากเปลี่ยนกระจกตา เส้นเลือดก็ยังสามารถรุกเข้ามาใหม่ได้ จึงต้องปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ให้ผู้ป่วย รศ.พญ.ภิญนิตา ตันธุวนิตย์ หัวหน้าสาขากระจกตา ภาควิชาจักษุวิทยา และหัวหน้าทีมปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาศิริราช กล่าวว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์กระจกตา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ใช้การเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งจะได้เซลล์จาก 2 แหล่ง คือ เนื้อเยื่อลิมบัสจากดวงตา วิธีนี้เรียกว่า CLET โดยจะตัดเนื้อเยื่อที่มีสเต็มเซลล์กระจกตาออกมา 2x2 มิลลิเมตร (ม.ม.) เพาะเลี้ยงบนเยื่อรกในห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ใช้เวลา 2 สัปดาห์เนื้อเยื่อจะโตเป็น 3x3 เซนติเมตร (ซ.ม.) แล้วนำมาปลูกถ่ายบนผิวกระจกตาผู้ป่วย โดยนำมาจากตาที่ดีอีกข้างของผู้ป่วย แต่หากผู้ป่วยเป็นที่ตาทั้งสองข้างก็จะนำมาจากญาติสายตรงหรือตาบริจาคของผู้เสียชีวิต แต่จะต้องรับยากดภูมิเพื่อลดปฏิกิริยาต่อต้าน ส่วนอีกแหล่ง คือ "เยื่อบุปาก" ที่มีคุณสมบัติใช้แทนได้ เรียกวิธีนี้ว่า COMET จะตัดเยื่อบุปากผู้ป่วยขนาด 5x5 ม.ม. มาเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการเดียวกัน ใช้เวลา 2 สัปดาห์จนได้เซลล์ 3x3 ซ.ม. แล้วนำมาปลูกถ่าย โดยไม่ต้องใช้ยากดภูมิ รศ.พญ.ภิญนิตา กล่าวว่า และ 2.กลุ่มที่ไม่ใช้การเพาะเลี้ยง แต่ตัดเนื้อเยื่อมาปลูกถ่ายกับผู้ป่วยโดยตรงเลย เรียกว่า SLET โดยจะตัดเนื้อเยื่อลิมบัสมาขนาด 1.5x3 ม.ม. แล้วนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ 20-30 ชิ้น จากนั้นนำไปปลูกถ่ายที่กระจกตา โดยใช้กาวพิเศษในการติดแปะไม่ต้องเย็บ ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ใช้เวลาราว 3-5 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยให้เซลล์เจริญเติบโตจนเต็มผิวกระจกตา ซึ่งใช้เวลาราว 2 สัปดาห์เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องนอนรพ.ประมาณ 1 เดือนหลังการผ่าตัด เพื่อให้มั่นใจว่าเซลล์ติดดีและเจริญเติบโตเต็มพื้นที่แล้ว และแม้จะรักษาเสร็จแล้วก็จะมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาทำในรูปแบบของงานวิจัย ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาจะดูตามความเหมาะสมของผู้ป่วย ไม่เกี่ยวกับว่าเป็นโรคมานานเท่าใด โดยจะเลือกวิธี SLET เป็นวิธีแรก แต่หากสภาพไม่เหมาะสมก็จะใช้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทน อย่างผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะกับใช้ยากดภูมิ ก็อาจต้องใช้เนื้อเยื่อบุปาก เป็นต้น "ส่วนข้อจำกัด คือ น้ำตาของผู้ป่วยยังมีเพียงพอหรือไม่ และสภาพเปลือกตาของผู้ป่วย ถ้าผิดปกติจะต้องทำการผ่าตัดแก้ไขก่อน นอกจากนี้ การเพาะเลี้ยงเซลล์ยังดำเนินการเฉพาะในโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ที่มีห้องแล็บได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ศิริราชมีแผนที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับจักษุแพทย์ด้านกระจกตาทั่วประเทศ เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยด้วย ทั้งนี้ ศิริราชมีการติดตามผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการนี้นานสุด 5 ปี พบว่ายังสามารถมองเห็นได้ 80% ของคนปกติ” รศ.พญ.ภิญนิตา กล่าว รศ.ดร.ปัทมา เอกโพธิ์ ฝ่ายวิจัย และหัวหน้าทีมปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาศิริราชทางห้องปฏิบัติการ กล่าวว่า ทีมวิจัยจากภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน และฝ่ายวิจัยศิริราช ได้พัฒนากระบวนการผลิตเซลล์ โดย "ศิริราชเทคนิค" ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เซลล์ที่จะนำไปใช้ในการปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยนั้น มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง โดยอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงเซลล์ไม่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากสัตว์หรือสารเคมีอันตรายใดๆ และการเพาะเลี้ยงเซลล์ทำในห้องปฏิบัติการสะอาด ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล (ISO 14644-1) ทั้งมี การควบคุมคุณภาพของกระบวนการการผลิตเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่เพาะเลี้ยงด้วยวิธีศิริราชเทคนิค สามารถโตได้เพียงพอในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ตามเวลาที่กำหนดประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีปริมาณสเต็มเซลล์สูงมากกว่า80% จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และศิริราชพร้อมที่ผลิตเซลล์ต้นกำเนิดนี้ให้กับรพ.ต่างๆด้วย นายประกอบ วรฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ได้รับการการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อลิมบัสโดยไม่อาศัยการเพาะเลี้ยง กล่าวว่า ตนเองมีอาการสตีเวนส์จอห์นสัน ตั้งแต่ปี 2540 เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ตามืดมัว มองไม่เห็น ก่อนหน้านี้เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนและรัฐ ด้วยการผ่าตัดตา 2 ข้าง ข้างละเกิน 3 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น จนได้มาเข้ารับการรักษาที่ รพ.ศิริราช ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ได้จากลูกสาว ตอนนี้ผ่านมา 1 ปีครึ่งแล้ว เหมือนได้ชีวิตใหม่ เพราะก่อนหน้านี้มองไม่เห็นเหมือนตายทั้งเป็น รู้สึกชีวิตเป็นศูนย์ ตอนนี้กลับมามองเห็นแม้ไม่ 100 % แต่สามารถดำเนินชีวิตปกติได้ สามารถไปไหนมาไหน ทำงานได้ ตนและครอบครัวมีความสุขขึ้นมาก เมื่อถามถึงการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ด้วย "ศิริราชเทคนิค" มีความเฉพาะแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์โดยการเพาะเลี้ยงไม่ได้เกิดขึ้นที่ศิริราชก่อน แต่มาจากอินเดีย และต่อมาก็มีการปลูกถ่ายโดยไม่ต้องเพาะเลี้ยงเซลล์ อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงเซลล์จะต้องเหมาะสม สะอาด ซึ่งอดีตการเพาะเลี้ยงมีการใช้สารอาหารที่ปนเปื้อนโปรตีนเนื้อสัตว์ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ศิริราชเทคนิคได้พัฒนาสูตรในการเลี้ยงเซลล์ที่มีความสะอาด ปราศจากผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และสารเคมี ซึ่งสูตรในการเลี้ยงนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะอาจถูกนำไปจดสิทธิบัตร แต่หากตีพิมพ์เผยแพร่ผลวิจัยแล้ว ศิริราชก็จะถ่ายทอดให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้น ระหว่างนี้หากโรงพยาบาลอื่นๆ มีคนไข้ก็สามารถส่งตัวมารักษาเพื่อเข้าร่วมงานวิจัยได้ Manager online 04.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร