Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

'ไมโครพลาสติก' ในร่างกายมนุษย์มาจากที่ไหน? ส่งผลอย่างไร?   

การศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Environmental Science and Technilogy เมื่อวันพุธที่ 5 มิถุนายน ซึ่งอาศัยเกณฑ์ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ ให้ภาพว่าในแต่ละปีมีคนอเมริกันได้รับอนุภาคขนาดเล็กของพลาสติก หรือที่เรียกว่า "ไมโครพลาสติก" เข้าสู่ร่างกายโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 74,000 ถึง 121,000 อนุภาคโดยขึ้นอยู่กับอายุและเพศของบุคคล แต่สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกเป็นประจำ การรับอนุภาคดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกปีละราว 90,000 อนุภาคเลยทีเดียว นักวิจัยได้ตัวเลขดังกล่าวจากการวิเคราะห์รายงานการศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายจากแหล่งสำคัญแปดแหล่ง คือจากอากาศที่หายใจ จากการดื่มแอลกอฮอล์ จากน้ำบรรจุขวด จากน้ำผึ้ง อาหารทะเล เกลือ น้ำตาล และน้ำประปา แต่แหล่งที่มาของไมโครพลาสติกดังกล่าวไม่รวมถึงเนื้อสัตว์และผักต่างๆ เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ นักวิจัยอธิบายว่า Microplastic หรืออนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกนี้มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอยู่แล้ว และไม่ใช่เฉพาะคนเท่านั้นแต่สัตว์ต่างๆ ก็ได้รับไมโครพลาสติกนี้เข้าสู่ร่างกายในกระบวนการดำรงชีวิตเช่นกัน เพียงแต่ว่ามนุษย์อาจได้มากกว่าจากกระบวนการผลิตและการบรรจุอาหาร จากตัวเลขของกระทรวงเกษตรและสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ นักวิจัยประเมินว่า โดยเฉลี่ยในแต่ละปีเด็กผู้ชายจะได้รับไมโครพลาสติกราว 81,000 หน่วย เทียบกับ 74,000 หน่วยสำหรับเด็กผู้หญิงส่วนผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่จะได้ไมโครพลาสติก 121,000 หน่วยเทียบกับ 98,000 หน่วยสำหรับผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติกเพียงอย่างเดียวจะเพิ่มอนุภาคพลาสติกนี้ได้ถึง 75,000 หน่วยสำหรับเด็กผู้ชาย 64,000 หน่วยสำหรับเด็กผู้หญิงและราว 127,000 หน่วยสำหรับผู้ชายกับราว 93,000 หน่วยสำหรับผู้หญิงตามลำดับ ผลการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงว่า อนุภาคไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กพอที่จะแทรกตัวเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายและกระตุ้นปฏิกิริยาด้านภูมิคุ้มกัน หรือปล่อยสารพิษกับโลหะหนักที่ติดมาจากสิ่งแวดล้อมได้ แต่ผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้จริงของเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่ทราบกัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางคนผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษานี้เตือนว่า นอกจากผลของไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์ซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนแล้ว การศึกษาดูจะละเลยเรื่องกลไกและระบบร่างกายของมนุษย์ที่อาจสามารถกรองหรือกำจัดไมโครพลาสติกในอากาศที่เราหายใจเข้าไปได้ และนักวิทยาศาสตร์บางคน เช่น ศาสตราจารย์ Richard Lampitt จากทีมวิจัยด้านสมุทรศาสตรของอังกฤษก็ชี้ว่า ขณะนี้เรายังขาดการให้คำนิยามไมโครพลาสติกอย่างชัดเจนว่ามีขนาดเล็กแค่ไหน เพราะนอกจากไมโครพลาสติกแล้ว ยังมีอนุภาคของพลาสติกขนาดเล็กกว่าที่เรียกว่า "นาโนพลาสติก" ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในขอบข่ายของการศึกษาครั้งนี้ด้วย ในขณะนี้ถึงแม้จะมีการประเมินจำนวนไมโครพลาสติกที่มนุษย์ได้รับเข้าไปในร่างกายจากแหล่งต่างๆ ก็ตาม แต่ความเข้าใจเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแท้จริงนั้นยังไม่ชัดเจน และนักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่าจำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไป Voice of America 10.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร