Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

จุฬาฯ เจ๋ง! พัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก ”สมองสุนัขจำลอง” ลดปัญหาขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์  

เนื่องจากการเรียนการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์จำเป็นต้องอาศัยอวัยวะจริงของสัตว์ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของอวัยวะภายใน อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะจริงของสัตว์ที่ได้รับบริจาคจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงหลังจากที่สัตว์เสียชีวิตลงก็มีข้อจำกัดตรงที่ “สัตว์ที่ได้รับบริจาคมีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้เรียนจำนวนมาก” รวมถึงสภาพอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ที่ได้รับบริจาคอาจมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ การหาสื่อการเรียนการสอนมาใช้แทนอวัยวะสัตว์จริงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ ได้พัฒนา ”สมองสุนัขจำลอง” เป็นสื่อการเรียนการสอนใหม่ในห้องปฏิบัติการ ทดแทนสมอง สุนัขจริง เนื่องจากสมองสุนัขจริงมีขนาดเล็ก หายาก และเป็นอวัยวะที่เน่าเร็วมาก รวมทั้งมักเกิดความเสียหายจากการเรียนในแต่ละครั้ง และอาจเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคติดเชื้อสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้าได้ สมองสุนัขจำลองที่ได้พัฒนาขึ้นนี้เป็นผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยได้รับรางวัลเหรียญทองแดงประเภท Teaching methods and materials จากการประชุมวิชาการนานาชาติ The 47th International Exhibition of Inventions Geneva ณ สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา “สมองสุนัขจำลองผลิตจากกระดาษข้อสอบ กระดาษเหลือใช้ในสำนักงาน แกนกระดาษชำระ และกล่องนม เป็นสื่อการสอนที่ลดขยะบนโลกใบนี้ มีน้ำหนักเบา ทนทาน สามารถใช้งานได้นาน” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงจุดเด่นของนวัตกรรมชิ้นนี้ กระบวนการผลิตสมองสุนัขจำลองเริ่มจากการนำกระดาษที่เหลือใช้แล้วมาย่อยจนเหลือเยื่อกระดาษ นำมารวมกับส่วนผสมที่เป็นแป้ง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า paper mache ขนาดของสมองสุนัขจำลองจะใหญ่กว่าสมองสุนัขต้นแบบหนึ่งเท่า มีความทนทาน สามารถถอดประกอบชิ้นส่วนเพื่อให้เห็นโครงสร้างทางกายวิภาคได้อย่างชัดเจน โดยมีการฝังแม่เหล็กไว้ภายในชิ้นส่วนทั้ง 5 ชิ้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยังไม่มีใครใช้มาก่อน ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือการทำให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกบกันได้พอดี นอกจากนี้ยังมีการทาสีสมองสุนัขจำลองให้เหมือนสมองสุนัขจริง ทำให้นิสิตอยากสัมผัสมากขึ้น รวมทั้งไม่มีกลิ่นสารเคมี เช่น น้ำยาฟอร์มาลีน ที่ช่วยให้สมองสุนัขจริงอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว “แม้จะพัฒนาสมองสุนัขจำลองขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน แต่สมองสุนัขจริงก็ยังมีความจำเป็นต่อนิสิตในการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ เนื่องจากนิสิตยังต้องฝึกฝนทักษะในการผ่าตัดชำแหละเพื่อให้เข้าใจถึงโครงสร้างอวัยวะในร่างกายสัตว์ และความสัมพันธ์ของตำแหน่งหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันได้จดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และยังคงพัฒนาผลงานทั้งสมองสุนัขและหัวสุนัขจำลองเพื่อให้นิสิตได้ใช้อย่างเพียงพอและจะต่อยอดในการพัฒนาตาสุนัขจำลอง และอวัยวะจำลองในส่วนของสัตว์ใหญ่ เช่น หัวม้า อวัยวะสืบพันธุ์ เต้านม ฯลฯ Manager online 11.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร