Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ปส. เผยผลตรวจการ์ดพลังงานพบค่าระดับรังสีสูงกว่าขีดจำกัด 350 เท่า  

ปส. เผยผลตรวจการ์ดพลังงานพบค่าระดับรังสีสูงกว่าขีดจำกัด 350 เท่า ย้ำประชาชนไม่ควรมีไว้ครอบครอง เสี่ยงรับรังสีโดยไม่จำเป็น สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา ฯ รับช่วง อ.อ๊อด ม.เกษตรฯ ตรวจการ์ดพลังงานด้วยเทคนิคทันสมัยอย่างละเอียดข้ามคืน พบระดับรังสีของแผ่นการ์ดสูงกว่าค่าขีดจำกัดการได้รับปริมาณรังสีสำหรับประชาชนทั่วไป 350 เท่า กรณีตัวอย่างที่ได้รับมีความสมบูรณ์ไม่มีการแตกหักจะไม่พบการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้นผิวด้านนอก หากนำไปผสมน้ำดื่ม มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ย้ำประชาชนไม่ควรมีไว้ครอบครอง และอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จากกรณีกระแสข่าวประชาชนซื้อบัตรสมาร์ทการ์ด คล้ายบัตร ATM ที่อ้างว่าเป็นบัตรพลังงานมีสรรพคุณในการรักษาโรคโดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ ตามร่างกาย โดยใช้วิธีการนำบัตรไปแกว่งในแก้วน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือนำแก้วน้ำวางทับบนบัตรแล้วดื่ม รวมทั้งมีการนำบัตรสัมผัสกับร่างกายในจุดที่ปวดเมื่อย ตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ ปส. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศได้เดินทางรับตัวอย่างจาก รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมเร่งตรวจสอบด้วยกระบวนการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ล่าสุดวันนี้ (วันที่ 17 มิ.ย. 62 เวลา 12.00 น. ) ปส. ได้ผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ไม่พบการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่วัสดุห่อหุ้มและพื้นผิวของแผ่นการ์ด สำหรับการ์ดตัวอย่าง ที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก 2. การวัดธาตุองค์ประกอบของแผ่นการ์ดด้วยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (X-ray Fluorescence: XRF) พบธาตุยูเรเนียมและทอเรียม 3. การวิเคราะห์ไอโซโทปรังสีในแผ่นการ์ดด้วยระบบวิเคราะห์แกมมาสเปคโตรสโคปี (Gamma Spectroscopy) พบนิวไคลด์กัมมันตรังสีของอนุกรมทอเรียมและยูเรเนียม 4. การวัดค่าระดับรังสี (Dose rate) เทียบกับค่ารังสีพื้นหลัง พบว่า ระดับรังสีของแผ่นการ์ดสูงกว่าระดับรังสีพื้นหลัง ประมาณ 200 เท่าที่ระยะห่างจากแผ่นการ์ด 1 เซนติเมตร ซึ่งระดับรังสีที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 40 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง หรือเทียบเป็น 350 เท่าของขีดจำกัดการได้รับปริมาณรังสีสำหรับประชาชนทั่วไปในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561 5. การวัดค่าการกระจายตัวของสารกัมมันตรังสีในแผ่นการ์ด ด้วยเทคนิค Imaging plate พบว่าสารกัมมันตรังสีกระจายอยู่ทั่วทั้งแผ่นการ์ดอย่างสม่ำเสมอ 6. การถ่ายภาพเพื่อดูลักษณะภายในของแผ่นการ์ดด้วยรังสีเอกซ์ ไม่พบชิ้นส่วนอื่นใดประกอบอยู่ภายในแผ่นการ์ด ทั้งนี้หากยูเรเนียมและทอเรียมเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดการแผ่รังสีต่ออวัยวะภายใน และเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ ปส. เตรียมการวิเคราะห์การปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสีเมื่อนำแผ่นการ์ดแช่ในน้ำในลำดับต่อไป และเมื่อมีข้อมูลครบถ้วน ปส. อาจดำเนินคดีกับบริษัทผู้จำหน่ายต่อไป ปส. จึงแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการครอบครองและใช้สินค้าที่มีส่วนผสมของวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ หรือวัตถุอันตรายดังกล่าว เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์หรือความคุ้มค่าแล้ว อาจได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าระดับรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไป ทั้งนี้หากประชาชนผู้ใช้สินค้ามีข้อกังวลใจประเด็นที่ไม่ทราบว่าจะนำการ์ดดังกล่าวไปกำจัดที่ไหน สามารถประสานไปยังสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เพื่อจัดการต่อไป Bangkokbiznews 17.05.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร