Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สถาบันประสาทฯ จ่อวิจัย "น้ำมันกัญชา" บรรเทาลมชักในเด็ก-ปลอกประสาทอักเสบ ย้ำไม่ได้รักษาต้นเหตุ  

สถาบันประสาทฯ เตรียมวิจัย "น้ำมันกัญชา" บรรเทาอาการลมชักในเด็ก-กล้ามเนื้อหดเกร็งผู้ป่วยปลอกหุ้มประสาทอักเสบ ส่วนกลุ่มพาร์กินสัน สมองเสื่อมมีโรคจิต และปวดเส้นประสาทใบหน้า ต้องวิจัยเทียบยาจริงยาหลอก ย้ำแค่บรรเทาอาการไม่ได้รักษาให้หายขาดได้ เล็งวางเกณฑ์จ่ายยากัญชา พญ.ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวถึงการศึกษาการใช้น้ำมันกัญชารักษาโรคทางระบบประสาท ว่า การศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การใช้กัญชารักษาโรคที่มีงานวิจัยรองรับแล้วว่ามีประโยชน์ คือ ลมชักในเด็กที่ดื้อต่อการรักษา และภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกหุ้มประสาทอักเสบส่วนกลาง ในส่วนนี้ไม่ใช่การวิจัยศึกษาเปรียบเทียบ แต่จะเป็นการให้ยากัญชาในผู้ป่วย ร่วมกับการใช้ยารักษาปัจจุบันควบคู่กันไป เพื่อดูประสิทธิภาพในการบรรเทาโรคและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น พญ.ทัศนีย์ กล่าวว่า และ 2.กลุ่มที่น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลวิชาการสนับสนุนหรือวิจัยเพิ่มเติม ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผลเพื่อสนับสนุนการนำมาใช้ โดยจะศึกษาวิจัยใน 3 โรค คือ โรคพาร์กินสันที่ควบคุมอาการไม่ได้ , โรคสมองเสื่อมที่มีโรคจิตหรือภาวะทางจิตร่วมด้วย และปวดเส้นประสาทใบหน้า โดยทั้ง 3 โรคจะต้องมีการนำเข้าสู่กระบวนการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบเคสผู้ป่วยที่ได้รับยาจริง ยาหลอก ก่อนจะนำมาแปรผล และสรุปผล "ทั้ง 2 กลุ่มเป็นการศึกษาเพื่อดูประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจากโรค ยังไม่ใช่เรื่องการรักษาให้หายขาดจากโรค เหมือนกรณีผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะมีอาการปวดมากๆ เราให้ยาพาราเซตามอลก็เพื่อลดอาการปวด ไม่ได้ไปแก้ปัญหาเนื้องอกในสมองซึ่งเป็นต้นเหตุ การรักษาต้นเหตุ คือ ต้องตัดเนื้องอกออก เป็นต้น สำหรับยากัญชาที่ใช้จะมีสูตรที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละโรค ตอนนี้ยังไม่สามารถกำหนดจำนวนผู้ป่วยที่จะเข้าสู่โครงการได้ เพราะยังไม่ทราบว่า น้ำมันกัญชาที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) จะจัดสรรให้มีจำนวนเท่าไร เพราะที่ระบุว่าล็อตแรก 2,500 ขวดก็ไม่ได้ให้สถาบันประสาทวิทยาแห่งเดียว แต่จะกระจายให้หลายหน่วยงาน หากทราบรายละเอียดตรงนี้ก็จะสามารถกำหนดให้ชัดเจนและเดินหน้าโครงการได้ โดยจะไม่เริ่มจนกว่าจะได้ยามา เบื้องต้นคาดว่าน่าจะ ก.ค.หรือ ส.ค." พญ.ทัศนีย์ กล่าว พญ.ทัศนีย์ กล่าวอีกว่า อีกเรื่องที่กังวล คือ อภ.จะผลิตยาให้ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าได้ล็อตแรกล็อตเดียวแล้วไม่มีอีกเลย คนไข้จะไม่ได้ยาในระดับที่สูงเพียงพอ เกิดการขาดยา ต้องหยุดยา จะมีผลต่อประสิทธิภาพการรักษา อาจทำให้เกิดการแปรผลลำบาก แต่ตอนนี้ทางกรมการแพทย์ได้มีการทำเอ็มโอยูกับหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฯลฯ เพื่อเพาะปลูกกัญชาและส่งให้ อภ.ผลิต ทั้งนี้ สถาบันประสาทฯ ได้ตั้งคลินิกเฉพาะผู้ป่วยที่รักษาด้วยกัญชา แยกจากคลินิกเฉพาะทางด้านอื่นๆ เพราะปัจจุบันกัญชายังจัดเป็นยาเสพติดประเภท 5 ต้องมีการควบคุม ทั้งการได้มา การเก็บรักษา และการจ่าย คนไข้เอายาไปกี่ขวด กลับมาแล้วต้องตรวจสอบ แต่ยังไม่ได้หารือกันว่า อาจจะต้องถึงขั้นนำขวดยามาคืนด้วยหรือไม่ เพราะตามปกติ หากเป็นยาเสพติดประเภทอื่น เช่น มอร์ฟีน เวลาจะเบิกขวดใหม่ต้องเอาขวดเก่ามาคืน กัญชาก็อาจจะอิงตามมาตรฐานเบิกจ่ายมอร์ฟีน ซึ่งอยู่ระหว่างหารือวางหลักเกณฑ์ Manager online 19.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร