Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

4 ก.ค.วันอนามัยสิ่งแวดล้อม กระตุ้นทุกภาคส่วนลดมลพิษทางอากาศ  

กรมอนามัย ร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย และสมาคมอนามัยแห่งประเทศไทย ร่วมรณรงค์ 4 กรกฎาคม วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ภายใต้แนวคิด “อากาศดี สุขภาพดี ด้วยพลังภาคีทุกภาคส่วน (Better Air Quality for Better Health)” กระตุ้นทุกภาคส่วนร่วมกันลดมลพิษทางอากาศ วันนี้ (24 มิ.ย.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานแถลงข่าว 4 กรกฎาคม วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2562 กล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่พระราชทานพระอนุญาตกำหนดให้วันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ เป็น “วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย” พระองค์เป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานอันแน่วแน่ มั่นคง ต่อการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและเป็นแบบอย่างสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ประจำปี 2562 รณรงค์ภายใต้แนวคิด “อากาศดี สุขภาพดี ด้วยพลังภาคีทุกภาคส่วน (Better Air Quality for Better Health)” เนื่องจากมลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ที่สำคัญ โดยกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั่วโลกอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณมลพิษทางอากาศสูงกว่าค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก และทุกปีจะมีประชากรกว่า 7 ล้านคนเสียชีวิตจากการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศ ซึ่งประเทศไทยมีปัญหามลพิษทางอากาศเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง โดยกรมอนามัย ดำเนินการเฝ้าระวัง สื่อสารและแจ้งเตือนประชาชนให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันสุขภาพตนเอง รวมทั้งสนับสนุนการใช้กฎหมายภายใต้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อช่วยควบคุมการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ การจัดประชุมวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และส่งเสริม ผลักดัน ให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดูแลใส่ใจด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 กำหนดจัดประชุมระหว่างวันที่ 1-2 ก.ค.นี้ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ภายในงานมีการมอบรางวัล “Princess Environmental Health Awards” แก่บุคคลและองค์กรดีเด่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและรางวัลประกวดคลิปวิดีโอด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยตลอดปี 2562 ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ รณรงค์ลดมลพิษอากาศ ด้วยการละเว้นการเผาในที่โล่ง ลดการใช้พลาสติก ช่วยลดปริมาณขยะ และในปี 2562 กรมอนามัย จะดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวช่วยลดมลพิษทางอากาศ เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า กล่าวว่า สถานการณ์มลพิษทางอากาศจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ 63 ในสถานี 33 จังหวัด ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน หากเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาโดยภาพรวมยังทรงตัว ซึ่งมีมลพิษ 3 ชนิดที่เป็นปัญหา ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาด 10 ไมครอน(PM10) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน(PM2.5) และโอโซน หากประเมินเชิงเวลา พบว่า จะมีปัญหาค่าเกินมาตรฐานในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนม.ค.-เม.ย. และปลายปีเริ่มเดือนธ.ค. หากพิจารณารายพื้นที่ ประเทศไทยจะมีปัญหาใน 3 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ 1. พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งของทุกปีเช่นกัน โดยในปี 2562 เกิดช่วงเดือนก.พ.-ปลายเม.ย. สถานการณ์รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอุตุนิยมวิทยาระบุว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญ ทำให้แล้งมากขึ้น อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1-2 องศา และประมาณน้ำฝนลดลง 10 % ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่รุนแรงมากขึ้น เมื่อมีไฟเกิดขึ้นก็จะเผาได้ดี บวกกับแหล่งกำเนิดเกิดจากไฟป่าเป็นหลัก ซึ่ง กว่า 80 % จุดความร้อนจะเกิดในพื้นที่ป่า รวมถึง การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตร พื้นที่ที่ 2 กรุงเทพฯและปริมณฑล ปี 2562 เกิดปัญหาเร็วและจบเร็วในช่วงเดือน พ.ย. 2561-ปลายก.พ.2562 จากปกติจะยืดถึงเดือนเม.ย. ซึ่งแนวโน้มสภาพอากาศรายปีของกทม.ดีขึ้น โดยสาเหตุหลักของมลพิษเกิดจากจราจร ปริมาณการปล่อยไม่ว่าฤดูใดก็จะใกล้เคียงกัน สถานการณ์ที่มีค่าเกินมาตรฐานจึงขึ้นกับสภาพอากาศเป็นหลัก และ3.พื้นที่ ต.หน้าพระลาน จ.สระบุรี สถานการณ์ปี 2562 รุนแรงมากขึ้น ค่าเฉลี่ยมลพิษทางอากาศสูงขึ้น เกิดจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงหน้าแล้งที่จะมีการก่อสร้างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่แหล่งผลิตหินปูน มีเหมือนแร่หินปูน และโรงปูน แม้จะการควบคุมฝุ่นที่ดีขึ้นมาก เช่น ฉีดน้ำ ล้างถนนมากขึ้น แต่ช่วงหน้าแล้งอากาศก็จะปิด ทำให้สถานการณ์มลพิษเกินมาตรฐาน สำหรับการแก้ไขมลพิษทางอากาศ ต้องดำเนินการ 2 มาตรการ คือ 1.มาตรการเฉพาะหน้า โดยเน้นที่การควบคุมแหล่งกำเนิด พื้นที่กทม.ต้องขวดขันวินัยจราจร ทำให้การจราจรคล่องตัว ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะทยอยเสร็จในปี 2563 การจราจรน่าจะดีขึ้น ส่วนภาคเหนือต้องคุมไฟป่าให้ได้ ส่วนพื้นที่หน้าพระลานมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น เช่น โรงโม่แบบปิดในอาคาร ถนนคอนกรีตในโรงงาน เป็นต้น 2.มาตรการระยะยาว จะมีการใช้น้ำมันสะอาดที่จะมีการประกาศใช้ทั้งประเทศในปี 2567 มาตรฐานรถใหม่ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะประกาศในปี 2564-2565 แต่การจะเปลี่ยนรถเก่าเป็นรถใหม่ทั้งหมดที่มีกว่า 10 ล้านคันอาจต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี “ปัจจุบันค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นPM2.5พื้นที่กทม.อยู่ที่ 26-27 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(มคก./ลบ.ม.) สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 25 มคก./ลบ.ม.เล็กน้อย อย่างไรก็ตามสถานการณ์PM2.5พื้นที่กทม.ในปีหน้าคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกแน่นอน เพราะฉะนั้นต้องเตรียมรับมือ ซึ่งจากการถอดบทเรียนในปีนี้ สิ่งสำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะฉะนั้น ต้องช่วยกันกวดขันวินัยจราจร เพิ่มพื้นที่สีเขียว ดูแลรถยนต์ตัวเอง รถที่ใช้ดีเซลควรเปลี่ยนมาใช้เติมยูโร 5 ที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กได้มากกว่า 20 %”นายพันศักดิ์กล่าว ดร.รุจยา บุณยทุมานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มไดออกซินและสารตกค้างยาวนาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นภาคีร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สนับสนุนงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ให้ทันต่อสภาวะมลพิษ เช่น อนุสัญญาสต๊อกโฮล์ม อนุสัญญามินามาตะ มีงานวิจัยและ เป็นห้องปฏิบัติการภาครัฐเพียงแห่งเดียวที่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการวิเคราะห์จะช่วยให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อเกิดมลพิษ เช่น การเผาขยะชุมชน การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในสื่อต่างๆ หรือประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และไม่ก่อเกิดมลพิษอากาศ นำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น นางศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์ อุปนายกสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า สมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและกำหนดมาตรฐานงานอนามัยสิ่งแวดล้อมตามสภาวการณ์ของประเทศ สมาคมฯ ร่วมจัดการประชุมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เพื่อให้ข้อมูลการผลักดันวิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เป็นวิชาชีพควบคุมของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยงานอนามัยสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อชีวิตและสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีมาตรฐาน สามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด อาทิ งานสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมพาหะนำโรค คุณภาพอากาศ เหตุรำคาญ เป็นต้น การประชุมในครั้งนี้จะมีการเสวนาเรื่องบทบาทของนักอนามัยสิ่งแวดล้อมภายใต้วิชาชีพควบคุมและความก้าวหน้าของการออกพระราชกฤษฎีกาให้วิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพควบคุม จึงขอเชิญชวนมายังนักอนามัยสิ่งแวดล้อมและผู้สนใจ Manager online 24.16.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร