Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผลิตได้แล้ว! พลาสติกจากกระบองเพชร ลดปัญหาบริโภคไมโครพลาสติก  

น่าจะเป็นผลงานการวิจัยที่ทำให้ทั่วโลกยิ้มได้เลย เมื่อนักวิจัยจากเมืองกวาดาลาฮาลา ประเทศเม็กซิโกนำ “ต้นกระบองเพชร” มาคิดค้นเป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายเองได้ 2-3 เดือน หากผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ คาดว่าจะช่วยลดปัญหาการบริโภคไมโครพลาสติกที่คนทั่วโลกหวั่นอันตรายจากการบริโภคสัตว์ทะเล เนื่องจากพลาสติกจากกระบองเพชรซึ่งเป็นวัตถุดิบธรรมชาติ กินเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แถมไม่ทำร้ายสัตว์น้ำในทะเล ทีมวิจัยได้ทดลองตัดใบต้นกระบองเพชรพันธุ์ Prickly pear cactus ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลคล้ายลูกแพร์ สามารถรับประทานได้ อีกทั้งยังขึ้นอยู่ทั่วไปในเม็กซิโก เมื่อนำมาคั้นน้ำจนได้เป็นของเหลวสีเขียว นำไปผสมกับวัตถุดิบทางธรรมชาติอื่นๆ และนำไปเข้ากระบวนการแปรรูป ปรากฏว่า น้ำกระบองเพชรได้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน รวมถึงสามารถปรับแต่งสี เพิ่มความหนา ความยืดหยุ่นได้ตามความต้องการอีกด้วย Sandra Pascoe Ortiz ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมี หัวหน้าทีมวิจัยจาก University of the Valley of Atemajac เจ้าของผลงาน กล่าวว่า Prickly pear cactus เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการนำมาผลิตเป็นพลาสติกเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำตาลและความเป็นยางที่สูงมาก เหมาะแก่การนำมาสร้างเป็นไบโอโพลีเมอร์ บรรจุภัณฑ์พลาสติกจากกระบองเพชรจึงได้รับการคาดหมายว่าจะช่วยลดปัญหาการบริโภคไมโครพลาสติก ซึ่งถือเป็นภัยมืดจากท้องทะเลได้อย่างดี เนื่องจากมันสามารถย่อยสลายเองได้อย่างรวดเร็ว และยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนและสัตว์ หากรับประทานเข้าไป ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการนำข้าวโพดมาทดลองผลิตพลาสติกด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเทียบกันแล้ว พบว่ากระบองเพชรมีข้อดีเหนือกว่า ข้าวโพด มากมาย นั่นคือ มันสามารถเติบโตได้ในพื้นที่ทุรกันดาร ทำให้ไม่ต้องไปแย่งพื้นที่เพาะปลูกของพืชอาหาร อีกทั้งยังไม่ต้องดูแลมากนัก หรือในส่วนของการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศนั้น นักวิจัยพบว่ามันปล่อยคาร์บอนเท่าที่จำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันใช้ในการเติบโตเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาเดียวของพลาสติกจากกระบองเพชรตอนนี้ก็คือ มันยังไม่สามารถคงรูปได้นานเท่าไรนักเมื่อเทียบกับพลาสติกที่ผลิตจากฟอสซิล ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักวิจัยให้ต้องพัฒนากันต่อไป ส่วนใครที่อยากช่วยอุดหนุนพลาสติกแนวใหม่ มีความเป็นไปได้ว่า พลาสติกดังกล่าวนี้อาจมีการผลิตในเชิงพาณิชย์ภายในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากทีมวิจัยเผยว่าอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนบางแห่งอยู่ ปัจจุบัน นอกจากปัญหาขยะพลาสติกทั่วโลกที่ไม่ได้รับการจัดเก็บและทำลายอย่างถูกวิธีจะไหลลงสู่ท้องทะเลมากกว่า 8 ล้านตันต่อปีแล้ว ยังมีปัญหาจากไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กมากรวมอยู่ด้วย ความเล็กของไมโครพลาสติกทำให้สัตว์ทะเลเสี่ยงที่จะบริโภคเข้าไปและสะสมตามส่วนต่าง ๆ เมื่อสัตว์ทะเลเหล่านั้นถูกจับขึ้นมาบริโภค ก็เป็นไปได้สูงมากที่ไมโครพลาสติกนั้นก็ย้อนกลับมาทำลายสุขภาพมนุษย์อีกครั้งในรูปของอาหารทะเล Manager online 24.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร