Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

Green Meeting ก้าวเล็ก ๆ ของไทยสู่การสร้างอาเซียนที่ยั่งยืน  

ในฐานะประธานอาเซียนปี 2562 และเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ประเทศไทยได้จัดการประชุมที่จะเป็นแบบอย่างของการสร้างความยั่งยืน ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะทะเล ซึ่งไทยติดอันดับ 6 ของประเทศที่สร้างขยะทะเลมากที่สุดในโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศทั่วโลก มีความไม่แน่นอน ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาสะสม ที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการใช้ชีวิตของเราได้ทุกเวลาแต่คนจำนวนไม่น้อยได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ และหันมาช่วยเหลือโลกโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน และกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมก็ได้เริ่มแพร่หลายไปในวงกว้างมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่ทำจากขยะหรือสิ่งของเหลือใช้ หรือการรณรงค์ลดการใช้แก้วและหลอดพลาสติก รวมไปถึงบริษัทน้อยใหญ่ ที่เริ่มมองหาแนวทางการทำงานและการจัดประชุมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าเดิม กระแสดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนครั้งนี้ว่า “Advancing Partnership for Sustainability” หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” โดยมิติหนึ่งของความยั่งยืน (Sustainability) คือ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยการประชุมระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะระดับระดับรัฐมนตรีและผู้นำที่ไทยเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดเสร็จสิ้นลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกในกรอบอาเซียนที่มีการนำแนวทางการจัดการประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาปฏิบัติจริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความริเริ่มของประเทศไทยในการนำแนวคิดหลักนี้มาใช้ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม “การจัดประชุมอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” หรือ Green Meeting เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมรูปแบบหนึ่งที่มีมานานแล้ว แต่หลายคนอาจไม่สังเกต เพราะเป็นการลดการใช้สิ่งของเล็ก ๆ รอบตัว ตามหลัก 3Rs ได้แก่ การลดขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) รวมถึงการนำขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่ม (Upcycle) ซึ่งจะนำมาปรับใช้ในการประชุมอาเซียนตลอดทั้งปี เมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นการใช้ขวดแก้วหรือเหยือกน้ำแทนการใช้ขวดพลาสติก และกล่องรับคืนฝาขวดน้ำซึ่งจะนำไปผลิตขาเทียม การแยกขยะ กล่องรับคืนบัตรประจำตัว ซึ่งจะมีการนำสายห้อยบัตรไปรีไซเคิล การลดการพิมพ์กระดาษ โดยนำระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ การใช้ สมุดจดจากกระดาษรีไซเคิล การใช้กล่องอาหารกระดาษชานอ้อยและช้อนส้อมพลาสติกชีวภาพ การใช้ถุงผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิลใส่ของที่ระลึกที่จะแจกให้ผู้เข้าประชุม และการใช้เก้าอี้ในห้องแถลงข่าวที่ทำจากกระดาษรีไซเคิล การเลือกใช้สิ่งของโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาภายหลังเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของไทยในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน และช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากการประชุมต่าง ๆ ได้จำนวนมาก การริเริ่ม Green Meeting ครั้งนี้ ภาครัฐได้จับมือกับหน่วยงานภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ภาควิชาการและภาคประชาสังคม อาทิ เอสซีจี บริษัท การบินไทย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล กลุ่มเซ็นทรัล ธนาคารออมสิน บริษัท MQDC บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ (Scrap Lab) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน (Partner for Sustainability) โดยร่วมกันให้การสนับสนุนในมิติ “Sustainability of Things” ในหลากหลายรูปแบบรวมถึงจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของประเทศไทยทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการดำเนินการเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปี นอกจากจะริเริ่มการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ไทยยังมุ่งผลักดันประเด็นความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อภูมิภาค รวมถึงระดับโลก อาทิ มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนความร่วมมือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแก้ไขปัญจัดการขยะทะเล ซึ่งการหยิบยกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เข้าสู่การประชุมในกรอบอาเซียนตลอดทั้งปีจะช่วยขยายความตระหนักรู้ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ รวมถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีสภาพแวดล้อมสีเขียว สะอาด มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนและประชาชนชาวอาเซียน การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของประเทศไทยที่เวียนมาบรรจบในรอบทศวรรษนี้ นอกจากจะเป็นโอกาสให้ประชาชนชาวไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี ให้เกียรติต้อนรับแขกสำคัญจากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศ คู่เจรจาทั่วโลกเพื่อสร้างความประทับใจแล้ว ยังเป็นวาระสำคัญที่ไทยจะแสดงให้เห็นถึงการร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ เพื่อนำพาให้อนาคตของประชาคมอาเซียนก้าวไกลยั่งยืน และที่สำคัญอีกประการคือ เป็นการสร้างแรงผลักดันในวงกว้างให้ประชาชนไทยร่วมกันดำเนินชีวิตประจำวันในรูปแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตาม Motto “Keep Calm and Go Green” ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่กลุ่มคนยุคใหม่ทั่วโลก asean2019.go.th 27.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร