Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กรีนพีซย้ำ 3 ข้อเสนอแนะอาเซียนแก้ปัญหาขยะทะเล  

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ และมีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษด้านขยะทะเล (Special ASEAN Ministerial Meeting on Marine Debris) โดยในครั้งนี้สามารถได้รับการรับรองเอกสาร 2 ฉบับ คือ 1.ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาขยะในภูมิภาค 2.กรอบปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันทั้งด้านนโยบายการบริหารที่จะช่วยลดปริมาณขยะทะเล อย่างไรก็ตาม “กรีนพีซ” ได้ย้ำถึง 3 ข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้ หนึ่ง ห้ามการนำเข้าขยะพลาสติก รวมถึงการนำเข้า “เพื่อรีไซเคิล” และรับรองว่าประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะให้สัตยาบันในข้อแก้ไขเพิ่มเติมในอนุสัญญาบาเซล (Basel Ban Amendment) สอง สร้างนโยบายระดับภูมิภาคแบบองค์รวมที่มุ่งสู่การลดการผลิตผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างมีนัยสำคัญและเอื้อให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำและระบบทางเลือกในการจัดส่งและกระจายสินค้า สาม ผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรมบนพื้นฐานของแนวทางขยะเหลือศูนย์(zero waste) ที่ปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่ต้องพึ่งพาแบบแผนการถลุงใช้ทรัพยากร การผลิต การบริโภคและการเกิดของเสียอย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ กรีนพีซกำลังเดินหน้ารณรงค์ออนไลน์ “อาเซียนไม่ใช่ถังขยะโลก” เพื่อเปิดให้สาธารณชนร่วมเรียกร้องต่อผู้นำอาเซียนให้กอบกู้วิกฤตมลพิษพลาสติก ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ของกรีนพีซ “กรณีปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน” และ“กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล” กล่าวว่า “ปฏิญญากรุงเทพฯ” ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และกรอบการปฏิบัติงานอาเซียน ว่าด้วยขยะทะเล เป็นตัวอย่างที่ดีของปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม “กรอบการปฏิบัติงาน” ไม่ได้เน้นถึงสาเหตุที่เป็นรากเหง้าของมลพิษพลาสติก กลับมุ่งไปที่การจัดการของเสียมากกว่าเรื่องของการลดการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันการเกิดขยะ พลาสติกเป็นปัญหามลพิษ ไม่ใช่ปัญหาขยะ และต้องเน้นการแก้ปัญหาตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเมื่อพลาสติกหมดอายุการใช้งาน ข้อจำกัดของกรอบการปฏิบัติงานว่าด้วยขยะทะเล คือเน้นเพียงการจัดการปลายทางหลังจากมลพิษพลาสติกได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์กากของเสีย การจัดการของเสียและการกำจัดขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะจัดการขยะพลาสติกอย่างไรเพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะทะเล แต่ทุกประเทศต้องมุ่งไปที่ต้นตอ และลดการผลิตพลาสติกลงอย่างขนานใหญ่ ในขณะที่กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลกล่าวถึงนวัตกรรมและทางเลือก แต่กลับขาดวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาระบบที่เหมาะสม ไม่ขึ้นอยู่แต่การแทนบรรจุภัณฑ์ด้วยวัสดุอย่างอื่นที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนอยู่ในจุดที่จะพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดที่มีต่อพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อการลดมลพิษพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนผืนดินหรือในทะเล ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องขับเคลื่อนให้เหนือไปกว่ากรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลและสร้างนโยบายในระดับประเทศเพื่อรับประกันว่าการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจะเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สามารถทำให้เกิดขึ้นโดยการออกข้อบังคับและการยกเลิกพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และออกกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการออกแบบใหม่ของบรรจุภัณฑ์และระบบกระจายสินค้าออกสู่ตลาด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลนั้นล้มเหลวในการพูดถึงปัญหาการนำเข้าขยะ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างต่อกรกับการค้าของเสียซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางนิเวศวิทยาและสังคม น่าเสียดายที่อาเซียนไม่ลงมือทำในเรื่องการค้าของเสีย ถึงแม้ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการรีไซเคิล ทั้งๆ ที่การประชุมสุดยอดนี้ถึงเป็นเวลาที่ดีที่สุด Manager online 27.06.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร