Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เก็บ "ผักตบชวา" แล้วเอาไปทำปุ๋ยหมัก  

หลายคนเก็บผักตบชวาตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีแล้ว ไม่ทราบว่าจะจัดการกับวัชพืชน้ำนี้อย่างไรต่อ แต่สำหรับชุมชนบางกระเจ้ามีตัวช่วยเป็นเครื่องทำปุ๋ยหมักที่เปลี่ยนผักสวะทั้งหลายให้กลายเป็นปุ๋ยได้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่งมอบเครื่องผลิตปุ๋ยหมักจากวัชพืชและผักตบชวา จำนวน 7 เครื่อง ให้แก่ชุมชนในตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องผลิตปุ๋ยหมักดังกล่าวเป็นผลงานของ ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งได้รับทุนจาก วช.เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตปุ๋ยหมักนี้ เครื่องผลิตปุ๋ยหมักนี้เหมาะสำหรับบ้านหรือหน่วยงานที่มีขยะอินทรีย์ประเภทเศษผัก เศษอาหาร ใบไม้แห้ง วัชพืชน้ำ เช่น จอกแหน ผักตบชวา โดยเครื่องจะช่วยพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก ไม่ต้องใช้แรงงานคนพลิกกลับเหมือนการผลิตปุ๋ยหมักแบบเดิมๆ ภายในเครื่องผลิตปุ๋ยหมักมีอุปกรณ์ช่วยกวนผสม เมื่อเปิดใช้งานจะช่วยกวนผสมอินทรีย์วัตถุภายในถังหมัก ทำให้อากาศไหลวนเข้าไป เพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้การย่อยสบายเกิดได้เร็วภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้ได้สารฮิวมัสที่มีลักษณะคล้ายดิน เครื่องผลิตปุ๋ยหมักนี้มี 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กสำหรับครัวเรือนที่มีความจุถังหมัก 80 ลิตร และขนาดใหญ่สำหรับภาคการเกษตรที่มีความจุถังหมัก 400 ลิตร โดยเครื่องปุ๋ยที่ชาวชุมชนบางกระเจ้าได้รับคือขนาด 400 ลิตร ซึ่งเป็นขนาดที่ ดร.ลักขณาระบุว่า เหมาะสำหรับชุมชนและภาคเกษตร ดร.ลักขณอธิบายถึงการใช้งานเครื่องผลิตปุ๋ยหมักขนาด 400 ลิตรว่า ในกรณีใช้ผักตบชวาหรือวัชพืชน้ำ เช่น จอก แหน จะใช้ผักตบชวา 2 ส่วน ต่อใบไม้แห้ง 1 ส่วน ต่อมูลสัตว์ 0.5-1 ส่วน โดยคิดเป็นน้ำหนักสดผักตบชวาประมาณ 150 กิโลกรัม หากใน 1 เดือน ผลิตปุ๋ยหมัก 4 รอบ จะกำจัดผักตบชวาได้ประมาณ 600 กิโลกรัม และแต่ละรอบการผลิตจะได้ปุ๋ยหมัก 50 กิโลกรัม รวมทั้งเดือนจะได้ปุ๋ยหมัก 200 กิโลกรัม วช.ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เมื่อต้นเดือน ก.ค.62 ณ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง พร้อมทั้งมอบเครื่องผลิตปุ๋ยหมัก โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 145 คน ภายในกิจกรรมดังกล่าว ดร.ลักขณา ได้สาธิตวิธีการใช้เครื่องรวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักและดินปลูกจากวัชพืชและผักตบชวา และการปลูกพืช พร้อมทั้งบรรยายในเรื่อง “การปรุงดิน: การทำดินไม่ดีให้กลายเป็นดินดีภายใน 14 วัน” อีกทั้ง นายสุเทพ กุลศรี เครือข่ายการควบคุมโดยชีววิธี ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. ได้ร่วมบรรยายพิเศษเรื่อง “การปลูกผักในถุงดำแล้วนำไปเลี้ยงต่อที่บ้าน: ปลูกแบบง่ายๆ แต่ให้ได้อย่างมืออาชีพ” ให้แก่ชุมชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา ฝ่ายจัดงานคาดหวังว่าการสาธิตและให้ความรู้ดังกล่าว จะช่วยให้ชุมชนนำความรู้ไปใช้ในการเกษตรและจำหน่ายเป็นการเสริมอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งเกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนด้วยนวัตกรรมที่ช่วยกำจัดวัชพืชและผักตบชวา และเป็นการพัฒนาลำน้ำพร้อมนำไปสู่การใช้ประโยชน์และพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดำเนินชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตอนนี้ วช.ได้มอบเครื่องผลิตปุ๋ยหมักไปแล้วจำนวน 23 เครื่อง ให้แก่ 1.ชุมชนใน อ.บางไทร จ.อยุธยา จำนวน 8 เครื่อง 2.ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง จำนวน 8 เครื่อง และ 3. ชุมชนในตำบลบางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จำนวน 7 เครื่อง และยังเหลือจัดกิจกรรมแบบนี้อีก 5 จังหวัด คือ จ.ลพบุรี จ.กาญจนบุรี จ.นครปฐม จ.อุทัยธานี และ จ.นครสวรรค์ รวมทั้งหมด 37 เครื่อง เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก เป็นนวัตกรรมจากงานวิจัยที่ ดร.ลักขณาได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากส วช.ในปี พ.ศ.2555 เมื่อสิ้นสุดโครงการก็มีการขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปตามโรงเรียนและบ้านเรือน แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่า การทิ้งขยะอินทรีย์ลงถังเพื่อให้ อบต.หรือเทศบาลนำไปกำจัดนั้นง่ายกว่าการแยกขยะแล้วนำมาทำปุ๋ยหมัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนใจนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของเกษตรกร และมี 2 กลุ่ม ที่นำเครื่องผลิตปุ๋ยหมักไปใช้เพื่อการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกจำหน่าย ก่อให้เกิดรายได้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ กลุ่มชุมชนเมืองวัดท่าพูด และกลุ่มโรงเรียนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนสถาพรวิทยา สำหรับปี พ.ศ. 2562 นี้ ดร.ลักขณา ระบุว่า เป็นโอกาสพิเศษที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในชื่อกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” จัดกิจกรรมมอบเครื่องผลิตปุ๋ยหมักจำนวน 60 เครื่อง ให้กับ 60 กลุ่ม ใน 8 จังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการทำปุ๋ยหมักด้วยวัชพืชน้ำและผักตบชวา ส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย เป็นการสร้างรายได้เสริมให้แก่กลุ่มหรือชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป "รู้สึกภาคภูมิใจที่มีผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีส่วนร่วมในโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถึงแม้จะเป็นผลงานเล็กๆ แต่หากมีประชาชนสนใจนำไปใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำปุ๋ยหมักทั้งด้วยการนำขยะอินทรีย์และผักตบชวามาใช้เป็นวัตถุดิบกันมากขึ้น ก็จะช่วยลดปริมาณวัชพืชน้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำมีคุณภาพดีขึ้น และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย หากประชาชนสนใจสามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 094-4635614 ค่ะ" ดร.ลักขณากล่าว Manager online 4.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร