Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อีก 11 ปี หายนะของโลกมาเยือน! เหตุก๊าซเรือนกระจก ทะลุ 400 ppm  

ปัจจุบัน ชั้นบรรยากาศของโลกอันแสนบอบบางนี้ ไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป ทุกวันนี้ ชั้นบรรยากาศของโลกถูกปกคลุมด้วย "ก๊าซเรือนกระจก"มากเกินไป ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลักรวมถึงก๊าซมีเทน ก๊าซโอโซน ฯลฯ อันมีคุณสมบัติที่ดีในการดูดกลืนและเก็บกักรังสีอินฟาเรด ดังนั้น รังสีอินฟาเรดที่ควรสะท้อนออกนอกโลกก็จะถูกเก็บกักสะสมไว้ในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้พื้นผิวโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สาเหตุหลักของก๊าซเรือนกระจกคือธาตุคาร์บอนที่เคยสะสมในรูปของน้ำมันและถ่านหินถูกปลดปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการที่มนุษย์ขุดเอาสิ่งเหล่านั้นจากชั้นใต้ดินมาใช้เป็นพลังงาน ตามปกติ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะค่อยๆ ถูกธรรมชาติดูดซับ อาทิ ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมเป็นเนื้อไม้ หรือละลายกับน้ำ และสะสมอยู่ในรูปของภูเขาหินปูนและปะการัง แต่ตอนนี้มนุษย์ขุดคาร์บอนจากน้ำมันขึ้นมาเผาวันละ 80 ล้านบาร์เรล และยังเผาป่า ทำลายต้นไม้หลายร้อยล้านต้นที่เป็นตัวดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำคัญเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจึงมีมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะจัดการได้ มันจึงสะสมในชั้นบรรยากาศมากขึ้นจนกลายเป็นภาวะเรือนกระจก เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน ในช่วงที่มนุษย์เริ่มขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ ชั้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 280 โมเลกุลในทุกๆ 1 ล้านโมเลกุลของมวลอากาศ หรือ 280 ppm (parts per million) ช่วงสิบกว่าปีก่อนที่ผู้คนทั่วโลกเริ่มตื่นตัวในปัญหาภาวะเรือนกระจกชั้นบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 380 ppm มีการประชุมนานาชาติบ่อยครั้ง เพื่อจะหามาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มักจะถูกคัดค้านโดยประเทศมหาอำนาจที่มีส่วนได้เสียในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นักวิทยาศาสตร์หวั่นเกรงว่า หากปริมาณก๊าซชนิดนี้เกิน 400 ppm หายนะของโลกมาเยือนแล้ว แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯตรวจพบระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงสุดในประวัติศาสตร์นับแต่เริ่มมีการบันทึกโดยพบว่าก๊าซเรือนกระจกนี้สูงมากกว่า 415 ppm นับเป็นสัญญาณเตือนในขณะที่มนุษย์ยังคงปล่อยก๊าซชนิดนี้อย่างไม่ลดละ หอสังเกตการณ์มัวนาโลอา (Mauna Loa Observatory) ในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งติดตามก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมาตั้งแต่ปลายปีทศวรรษ 1950 ได้ออกมาประกาศว่า ระดับล่าสุดที่ตรวจวัดคือ 415.26 ppm เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 3 ล้านปี เมื่อประมาณกว่า 3 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลโลกสูงเฉลี่ยกว่าปัจจุบันหลายเมตรและบางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงเวลานั้นปกคลุมไปด้วยป่า นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า ที่ผ่านมาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ แต่หากยังไม่มีมาตรการแก้ไขอย่างจริงจังอีกไม่ถึง 100 ปี ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์อาจจะสูงขึ้นถึง 1,000 ppm จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) บ่งชี้ว่า หากทั่วโลกยังคงปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับเดียวกับปัจจุบัน จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพุ่งเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2030 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิเฉลี่ยโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3.2 องศาเซลเซียส เรามีเวลาเพียง 11 ปี ที่จะยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกพุ่งเกิน 1.5 องศา ถามว่า ถ้าโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 1.5 องศา จะเกิดอะไรขึ้น ทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเกิดขึ้นตลอดเวลา ความเสี่ยงเรื่องหายนะจากธรรมชาติ เช่น ภาวะแล้งจากไฟป่า น้ำท่วมใหญ่ น้ำแข็งละลาย การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ปะการังฟอกขาว รวมทั้งการขาดแคลนอาหารสำหรับผู้คนนับล้านๆ คนทั่วโลก ซึ่งหากอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศา หายนะต่างๆ จะเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมชายฝั่ง เมืองที่อยู่ติดทะเล อาจประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวร กรุงเทพมหานครก็หนีไม่พ้นชะตากรรมนี้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะแล้งจัดในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ หรือคลื่นความร้อนจัดในทวีปยุโรป และฝนตกหนักจากพายุเฮอริเคนในสหรัฐอเมริกา อาจเป็นแค่หนังตัวอย่าง มีการคาดกันว่า ปะการังของโลก 70-90 เปอร์เซ็นต์อาจตายหมด นั่นหมายถึงการสูญพันธุ์ของปลาทะเล อาหารหลักของคนทั้งโลก เมื่อปี พ.ศ.2558 ผู้นำ 197 ประเทศได้มาร่วมประชุมปัญหา Climate Change ที่กรุงปารีส ตกลงที่จะร่วมมือกันควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม ยกเว้นรัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงโดยอ้างว่าไม่เป็นธรรมสำหรับสหรัฐฯ แต่เอาเข้าจริง นักวิทยาศาสตร์พบว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกทั้งสิ้นคือ 37.1 ล้านตัน ยังเพิ่มสูงขึ้น 2.7 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาใหญ่มาจากการปล่อยก๊าซจากพลังงานถ่านหิน ในประเทศจีนและอินเดีย ที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด การผลิตไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก 3 อันดับแรกคือ จีน 27 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐอเมริกา 15 เปอร์เซ็นต์ และอินเดีย 6 เปอร์เซ็นต์ แค่สามประเทศก็ปล่อยก๊าซขึ้นไปเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว นักวิทยาศาสตร์เตือนเราแล้วว่า อีกเพียง 11 ปี โลกจะลุกเป็นไฟ จากปัญหาโลกร้อน ความร่วมมืออย่างจริงจังจากทั่วโลก เป็นหนทางเดียวที่จะหยุดยั้งมหันตภัยครั้งนี้ได้ เรามีเวลาแค่นั้นจริงๆ หลายประเทศเริ่มตื่นตัวอย่างจริงจัง รัฐสภาอังกฤษ ไอร์แลนด์ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ The Guardian สื่อทรงอิทธิพลของอังกฤษ ได้เปลี่ยนคำว่า Climate Change เป็น Climate Crisis เพื่อสะท้อนหายนะของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ในสังคมไทย ดูเหมือนจะมีแต่ความเงียบ Manager online 7.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร