Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นวัตกรรม "พลาสติก" จาก "แป้งสับปะรด" ย่อยสลายได้  

ป.เอก มหิดล คิดค้นนวัตกรรม พลาสติกจากแป้งสับปะรด ย่อยสลายได้ หวังต่อยอดทดแทนพลาสติก เพิ่มมูลค่าลำต้นสับปะรดจากขยะที่ต้องเผาทิ้งหลังเก็บเกี่ยว สร้างรายได้เกษตรกร ดร.นิธิมา นาคทอง ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลงานนวัตกรรมพลาสติกย่อยสลายได้จากแป้งสับปะรด ว่า สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย มีพื้นที่การปลูกถึง 6 แสนไร่ แต่หลังเก็บเกี่ยว ใบและลำต้นจะกลายเป็นขยะ ต้องเผาและปลูกใหม่ทุก 2 ปี กลายเป็นต้นเหตุของมลภาวะทางอากาศ ทั้งนี้ ใบสับปะรดสามารถเอามาทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ส่วน “ลำต้นสับปะรด” เมื่อสกัดแล้วมีแป้งถึงร้อยละ 30 จากน้ำหนักแห้ง หากนำลำต้นสับปะรดจาก 6 แสนไร่หลังเก็บเกี่ยวมาสกัด จะได้แป้งสับปะรดถึง 1 แสนตันต่อปี เมื่อขายในราคาเดียวกับแป้งมันสำปะหลังจะทำมูลค่าได้สูงถึง 1.5 พันล้านบาทต่อปี ดร.นิธิมา กล่าวว่า ตนจึงศึกษาคุณสมบัติของแป้งสับปะรดและคิดริเริ่มศึกษาคิดค้นพลาสติกที่ทำจากแป้ง เข้ามาทดแทนพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าแป้งสับปะรดมีอะไมโลส (Amylose) ในปริมาณสูง ถือเป็นแป้งที่ย่อยยาก เมื่อขึ้นรูปเป็นพลาสติกจะมีคุณสมบัติเชิงกลที่สูง มีความทนต่อการใช้งานมากกว่าแป้งที่มีอะไมโลสต่ำ นอกจากนี้ ยังดูดซับน้ำได้น้อยกว่า ทำให้วัสดุที่ได้เปื่อยยุ่ยน้อยกว่า โดยแป้งสับปะรดมีปริมาณอะไมโลสสูงกว่าแป้งทั่วไป 2 เท่า ทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า เพราะเป็นการนำขยะทางการเกษตรมาแปรรูป "จากการนำมาลองทำเป็นกระถางเพาะชำย่อยสลายได้ เพื่อช่วยลดความบอบช้ำของต้นกล้า โดยไม่ต้องฉีกถุงเพาะชำก่อนปลูกเหมือนพลาสติกทั่วไป ซึ่งวัสดุจากแป้งสับปะรดสามารถสลายในดินได้เองภายในเวลา 45 วัน มีความคงทนแข็งแรงกว่าวัสดุจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งย่อยสลายในดินภายใน 15 วัน ซึ่งเป็นการย่อยสลายที่เร็วเกินไป ไม่เหมาะต่อการใช้งาน ผลการทดลองที่ได้ พบว่าพลาสติกจากแป้งสับปะรดมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมาก อาจนำไปทำกล่องใส่อาหาร ทดแทนกล่องโฟม หรือกล่องพลาสติก เป็นการลดการใช้พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ลดผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากแป้งสับปะรดไม่ได้เป็นแป้งที่เรานำมาใช้บริโภคเป็นหลักเหมือนอย่างแป้งมันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้" ดร.นิธิมา กล่าว รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ที่ปรึกษาฯ กล่าวว่า งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์นวัตกรรมระดับดี มีกำหนดเข้าพิธีมอบรางวัล และโล่ประกาศเกียรติคุณ ในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 วันที่ 8 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ต้องการให้เห็นว่ามีหลายอย่างรอบตัวเราที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และจะต้องวิจัยต่อไปอีก สิ่งที่เราพบอาจทดแทนพลาสติกที่เราใช้กันค่อนข้างมากได้ในบางด้านเท่านั้น ไม่อยากให้มองกันแต่ว่าพลาสติกทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ เนื่องจากไม่มีวันย่อยสลาย เป็นการมองที่ปลายเหตุ เพราะว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เกิดจากความไม่รับผิดชอบของผู้ใช้ พลาสติกก็มีข้อดีที่ว่าสามารถผลิตได้คราวละมากๆ โดยใช้พลังงานน้อย และสามารถเอาไปทำประโยชน์ได้หลากหลาย และในบางกรณีก็จำเป็นต้องใช้อย่างปฏิเสธไม่ได้ เช่น การนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ต้องใช้พลาสติกที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ถุงที่ใช้บรรจุเลือด หรือภาชนะบรรจุเพื่อรักษาสภาพอาหาร จึงอยากให้ใช้กันอย่างรับผิดชอบ โดยช่วยกันนำมารีไซเคิล แทนที่จะต้องไปสร้างพลาสติกใหม่ manager online 08.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร