Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อธิบายด้วยหลักฟิสิกส์ “เครื่องปั่นไฟพลังมือ” ทำได้จริงไหม?  

ทำได้จริงไหม “เครื่องปั่นไฟพลังมือ” ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนี้ ฟังนักฟิสิกส์อธิบายด้วยหลักการทางฟิสิกส์พื้นฐานระดับ ม.ปลาย เป็นกระแสร้อนแรงทีเดียวสำหรับเครื่องผลิตไฟฟ้าปั่นมือของนักประดิษฐ์ท่านหนึ่งที่อ้างว่า ให้แรงไฟฟ้าขนาด 200 โวลต์ (ขนาดเท่าไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน) และให้กำลังไฟฟ้า 500 วัตต์ โดยอาศัยเพียงการปั่นไฟด้วยมือ 15 นาที และสามารถนำไปใช้งานได้ถึง 6-8 ชั่วโมง ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ขอให้ ดร.ดริศ สามารถ นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักวิจัยหลังปริญญาเอกทางด้านฟิสิกส์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงความเป็นไปได้ในการทำงานของเครื่องผลิตไฟฟ้าปั่นมือดังกล่าว โดยหลักการที่อธิบายถึงเรื่องนี้อาศัยเพียงความรู้ฟิสิกส์ระดับ ม.ปลายเท่านั้น ดร.ดริศระบุว่า เครื่องปั่นไฟพลังมือนี้ได้รับกระแสฮือฮาแก่ผู้รับรู้ข่าวเรื่องนี้จำนวนมากผมก็ทราบข่าวจากเพื่อนฝูงนักฟิสกส์ด้วยกันบนโลกโซเชียล แต่ก็มีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องปั่นไฟดังกล่าวในสื่อโซเชียลและกระทู้ออนไลน์จำนวนมาก และคอมเมนต์หลักๆ จะเอ่ยถึงหลักการอนุรักษ์พลังงาน (ไม่ใช่การประหยัดพลังงานแต่อย่างใด) "วันนี้เราจะมาใช้หลักการฟิสิกส์ระดับ ม.ปลาย มาคำนวณง่ายๆ เกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟดังกล่าวกัน โดยเราจะใช้วิเคราะห์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ 2 เรื่องคือ 1. อนุรักษ์พลังงานจากกฏของอุณหพลศาสตร์ 2. เครื่องแรงดันไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก” ในส่วนของหลักการอนุรักษ์พลังงานจากกฏของอุณหพลศาสตร์นั้น ดร.ดริศไล่เรียงว่า อุณหพลศาสตร์เป็นเสาหลักของสาขาหนึ่งของฟิสิกส์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นสาขาวิชาที่ว่าด้วย อุณหภูมิ ความดัน ความร้อน พลังงานและเครื่องจักรกล ซึ่งอุณหพลศาสตร์นั้นมีกฎข้อหนึ่งที่ว่าด้วยกฏการอนุรักษ์พลังงาน โดยพลังงาน คือ ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุ เป็นกำลังงานที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือระยะทางหนึ่ง มีหน่วยการวัดที่เรียกว่า จูล (Joule) "พลังงานเป็นปริมาณที่ใช้อธิบายระบบทางกายภาพ หรือสถานะของวัตถุ พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปไปอยู่ในพลังงานรูปแบบอื่นได้ จากกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ที่ว่าด้วยการอนุรักษ์พลังงาน ระบุว่า พลังงานของระบบที่เปลี่ยนแปลงในกระบวนการที่ไม่มีการถ่ายเทความร้อน จะไม่ขึ้นกับวิถีทางหรือทิศทางของงานที่กระทำต่อระบบในกระบวนการนั้นๆ พลังงานทั้งหมดในระบบปิดจะไม่เปลี่ยนแปลงในสถานะเริ่มต้นและสถานะสุดท้าย หรือกล่าวได้ง่ายๆว่าพลังงานจะไม่เพิ่มขึ้นหรือสูญหายไปจากระบบนั้นเอง นอกจากจะมีพลังงานใส่เข้ามาหรือดึงออกไปจากระบบภายนอก" ส่วนกำลังไฟฟ้าที่ผู้ประดิษฐ์เครื่องปั่นไฟอ้างถึงนั้น คือรูปแบบหนึ่งของปริมาณทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า “กำลัง” ซึ่งเป็นอัตราการทำงานต่อหนึ่งหน่วยเวลา และมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น กำลังทางกล กำลังทางไฟฟ้า สามารถเขียนสมการให้อยู่ในรูปอัตราส่วนของพลังงานกับเวลาคือ “กำลัง = พลังงาน/เวลา” และมีหน่วยเรียกว่า “วัตต์” (Watt) ซึ่งพบได้ตามอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป เครื่องปั่นไฟจากข่าวนั้นให้ข้อมูล “กำลัง” และ “เวลา” ซึ่งจากสมการเราสามารถคำนวณหา “พลังงาน” เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยกฏการอนุรักษ์พลังงานได้ โดยข่าวระบุว่า เครื่องปั่นไฟจะให้กำลังไฟฟ้า 500 วัตต์ เมื่อหมุนปั่นไฟ 15 นาที ซึ่งแปลงเป็นหน่วยชั่วโมงได้ 0.25 ชั่วโมง จากสูตรของกำลังดังกล่าว เราจะได้พลังงาน 500X0.25 = 125 วัตต์ชั่วโมง (หลังจากนี้เราจะใช้หน่วยของพลังงานไฟฟ้าด้วย วัตต์ชั่วโมง แทนที่ จูลเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ) “ตามข่าวยังให้ข้อมูลด้วยว่า เครื่องปั่นไฟสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่นได้เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง ซึ่งจากกฏการอนุรักษ์พลังงาน เราสรุปได้ว่าพลังงานจากเครื่องปั่นไฟได้เท่ากับ 125 วัตต์ชั่วโมง ถ้านำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเวลา 6 ชั่วโมง เราจะพบว่าอุปกรณ์นั้นจะมีกำลังเป็น 125/6 = 20 วัตต์” ดร.ดริศอธิบายต่อว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลัง 20 วัตต์นั้นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังการใช้ไฟน้อยมาก ขณะที่พัดลมตั้งโต๊ะแบบธรรมดานั้นมีกำลังกินไฟอย่างน้อยประมาณ 45 วัตต์ หากใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟจะใช้งานได้เพียง 125/45 = 2.8 ชั่วโมงเท่านั้น “จะเห็นได้ว่าพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟตัวนี้ ไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมงได้เลย เพราะถ้าสมมติว่าเอาไปใช้กับเครื่องซักผ้าที่มีกำลังไฟฟ้าขั้นต่ำ 250 วัตต์ เป็นเวลา 6 ชั่วโมงตามที่อ้าง แสดงว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้า 250x6 = 1500 วัตต์ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าจากเครื่องปั่นไฟที่มีเพียง 125 วัตต์ชั่วโมง” "นั่นก็หมายความว่ากฏการอนุรักษ์พลังงานถูกละเมิดนั่นเอง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ สรุปง่ายๆ ได้ว่าเครื่องปั่นไฟมีพลังงานไฟฟ้าเพียง 125 วัตต์ชั่วโมง ไม่สามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่านี่แน่นอน พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟที่ปรากฏในข่าวไม่สอดคล้องกับกฎพื้นฐานทางฟิสิกส์ที่ได้กล่าวมา นอกจากนี้จะเห็นได้ว่ากฏทางอุณหพลศาสตร์เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการออกแบบเครื่องจักรหลายประเภท" ดร.ดริศบอกอีกว่า ก่อนหน้านี้หลายสิบปีได้มีนักประดิษฐ์หลายๆ คนในต่างประเทศไม่ใช่แค่ในประเทศไทยอ้างว่า สามารถสร้างเครื่องจักรที่สามารถทำงานได้เป็นนิรันดร์หรือเพิ่มพลังงานของระบบให้มากขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุน แต่เครื่องจักรดังกล่าวไม่มีอยู่จริงเนื่องมันเป็นขัดกับกฏของอุณหพลศาสตร์ (รายละเอียดดูเพิ่มเติมที่ เครื่องจักรที่ไม่สามารถมีอยู่จริงได้ แต่คนคิดกันอยู่ได้ !! อีกหลักการที่นำมาอธิบายถึงหลักการทำงานและความเป็นไปได้ของเครื่องปั่นไฟพลังงานมืออย่างง่ายๆ คือ เครื่องแรงดันไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก ตามหลักการแล้วเราสามารถคำนวนแรงดันไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟพลังมือ ด้วยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นแรงสนามแม่เหล็กที่ผ่านขดลวด โดยพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยวงตัวนำที่หมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก โดยปลายแต่ละด้านของวงตัวนำต่อกับขั้วทั้ง 2 ดังภาพ เมื่อวงตัวนำรูปสี่เหลี่ยมหมุนในสนามแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กผ่านวงจะเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำกระแสสลับที่ขั้วไฟฟ้าต่อออกมาดังรูป โดยแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) สูงสุด มีขนาดดังสูตร (อ้างอิง Hugh D. Young and Roder A. Freedman, University physics with modern physics, 14th edition, Pearson, 2016) emf = N B A ω เมื่อ emf = แรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลต์ (Volt) N = คือจำนวนรอบของลวดตัวนำ B = สนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็นเทสลา (Tesla) A = พื้นที่หน้าตัดของขดลวดตัวนำรูปสี่เหลี่ยมมีหน่วยเป็นตารางเมตร ω = 2 π f เมื่อ ω คือความเร็วเชิงมุม และ f คือความถี่ในการหมุนของวงลวดตัวนำ "จากนั้นเราลองมาคำนวนว่าถ้าเครื่องปั่นไฟสามารถผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า emf = 220 โวลต์ได้ตามข่าว ซึ่งเท่ากับไฟบ้านเลย และข้อมูลจากข่าวระบุอีกว่าขนาดของเครื่องปั่นไฟมีตัวถังกว้าง 80 เซ็นติเมตร = 0.8 เมตร ยาว 100 เซ็นติเมตร = 1 เมตร ดังนั้น เมื่อประมาณคร่าวๆขดลวดตัวนำรูปสี่เหลี่ยมที่จะใส่ในเครื่องปั่นไฟเพื่อหมุนได้ก็จะมีพื้นที่หน้าตัดขนาดประมาณ 0.75 เมตร x 0.75 เมตร = 0.5625 ตารางเมตร และจากภาพข่าวสาธิตการหมุนเครื่องปั่นน่าจะประมาณ 1 รอบต่อวินาที นั่นคือ ω = 2 π x1 นอกจากนี้เราสมมติว่ามีขดลวดตัวนำพันเป็นรูปสี่เหลี่ยมประมาณ 10 รอบ เราสรุปปริมาณที่ได้จากการสมมติตามแบบจำลองเครื่องปั่นไฟในข่าว นั่นคือ emf = 220 โวลต์, N = 10 รอบ A = 0.5625 ตารางเมตร, ω = 2 π นำค่าที่ได้ไปแทนค่าในสมการของแรงดันไฟฟ้า เพื่อหาค่าสนามแม่เหล็กถาวรที่ใช้ในการปั่นไฟจะพบว่า B = emf/(NxAxω) = 220/(10x0.5625x2 π) = 6.2274 ~ 6.23 เทสลา "จากแบบจำลองเครื่องปั่นไฟตามข่าวจะพบว่า สนามแม่เหล็กมีค่าประมาณที่ใช้เพื่อทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ดังข่าว จะต้องใช้แม่เหล็กขนาด 6.23 เทสลา ซึ่งต้องเป็นแม่เหล็กที่มีขนาดใหญ่และราคาแพงมาก โดยเครื่อง MRI (magnetic resonance imaging) ซึ่งเป็นเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย ที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบันตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็มีขนาดแม่เหล็กประมาณ 2-3 เทสลาเท่านั้นเอง" ดร.ดริศชี้ให้เห็นว่า การจะสร้างเครื่องปั่นไฟที่ผลิตแรงดันไฟฟ้าให้ได้ตามข่าวนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย หรือทำได้ก็ยากมากๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกันกับข้อมูลในข่าว แต่ได้ย้ำว่า การคำนวณที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นการคำนวนอย่างคร่าวๆ จากข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของแบบจำลองฟิสิกส์เชิงอุดมคติซึ่งที่ไม่ได้พิจารณาตัวแปรอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานะการจริง เช่น แรงเสียดทานหรือความฝืด ที่เกิดจากการทดเพิ่มรอบการหมุน ตามที่ผู้ประดิษฐ์ได้กล่าวอ้าง และประมาณปริมาณต่างๆ แบบหยาบๆ จากข้อมูลแหล่งข่าวเท่านั้น "ถึงกระนั้นการคำนวนนี้ก็พอทำให้มองให้เห็นภาพขององค์ประกอบต่างๆ ของอุปกรณ์ในเครื่องปั่นไฟที่ได้จากหลักการทางฟิสิกส์ และนำไปเทียบกับเครื่องปั่นไฟในข่าวนั่นเองเพื่อเป็นการพิจารณาข้อมูลจากข่าวว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ หรือมากน้อยเพียงใด จริงๆ แล้วอยากให้มีการสาธิตการทดลองต่อหน้าสาธารณะที่สามารถตรวจสอบทำซ้ำเพื่อตอบคำถามต่อข้อสังเกตในการสร้างและผลผลิตจากเครื่องปั่นไฟนี้ด้วยด้วยหลักการที่ถูกต้องและชัดเจนจะดีมาก” ดร.ดริศยังเสริมต่อไปอีกว่าการริเริ่มลงมือสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งของหรือนวัตกรรมเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเพราะเราไม่สามารถมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ได้เลยถ้าไม่ลงมือทำ แต่ควรต้อง มีหลักการหรือกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มารองรับเพื่อพิสูจน์และทำซ้ำได้ ไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งประดิษฐ์จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ซึ่งเป็นการง่ายต่อบุคคลที่คิดไม่ซื่อในการฉกฉวยหาผลประโยชน์จากผู้บริโภคที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องด้วยวิทยาศาสตร์เทียมเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ดร.ดริศระบุย้ำอีกว่า จากเรื่องราวที่เป็นข่าวของเครื่องปั่นไฟพลังมือนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แต่การที่มีความรู้ความเข้าใจหลักการพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งวิชาเคมี ชีววิทยาไม่ใช่แค่ฟิสิกส์) ที่หนักแน่นและชัดเจน จะทำให้เกิดระบบความคิดแบบตรึกตรอง และมีข้อสงสัย ซึ่งไม่ถูกชักจูงด้วยข้อมูล ที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจหวือหวา ที่ดูเหมือนวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ เป็นวิทยาศาสตร์เทียมเพื่อมาหาผลประโยชน์แก่ผู้หลงเชื่อ “นอกจากนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ยังได้มีข่าวเกี่ยวกับบัตรพลังงานประจุไฟฟ้าบางอย่างที่ปรากฏตามข่าว ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เทียมเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เราควรตระหนักถึงความสำคัญของ การศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ชัดเจนและถูกต้องในโรงเรียนให้มากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และชวนสงสัยกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา “ผมมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในสังคมบ้านเรา เหตุการณ์หรือข่าวเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่หลอกลวงผู้บริโภคโดยพยายามใช้จะเกิดขึ้นได้น้อยมากถ้าเราพยายามใตร่ตรองหรือตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าและสิ่งต่างๆให้มากขึ้น ซึ่งเราสามารถทำได้เพราะปัจจุบันนี้เราเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆจากอินเตอร์เนทได้เป็นส่วนใหญ่เพื่อการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่เราเอง” ดร. ดริศได้ทิ้งท้าย Manager online 05.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร