Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“ที่นอนน้ำ” จากยางพารา ทนทาน-ยืดหยุ่นสูง ผู้ป่วยแผลกดทับฟื้นตัวเร็ว  

นวัตกรรม “ที่นอนน้ำเพื่อสุขภาพ” ผลิตจากยางพารา ทนทาน-ยืดหยุ่นสูง สร้างรอยยิ้มให้กับผู้ป่วยแผลกดทับฟื้นตัวเร็วขึ้น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ช่วยผู้ประกอบการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการผลิตที่นอนน้ำเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ พร้อมจับคู่ธุรกิจผลิตจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม นายปริญญา จันทร์หุณีย์ วิศวกรอาวุโส กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ จากเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า ทีมเอ็มเทคได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนจำกัด เคทีซี ที่นอนน้ำ ซึ่งมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตที่นอนน้ำสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ “เดิมได้ทดลองนำถุงปัสสาวะที่ยังไม่ได้ใช้งานมาบรรจุน้ำขนาดเท่ากับกระดาษ A4 จำนวนหลายถุง และนำไปใช้กับผู้ป่วยแผลกดทับเพื่อทดลองนอน ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากถุงน้ำที่ทำขึ้นนั้น สามารถชะลอการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยได้ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดทำเป็นต้นแบบที่นอนน้ำ โดยใช้วัสดุจากยางพารานำมาผลิตเป็นถุงน้ำลักษณะคล้ายกระเป๋าน้ำร้อนแทนถุงปัสสาวะ” ทว่า เมื่อผู้ประกอบการผลิตใช้งานกับผู้ป่วยได้ระยะหนึ่งก็พบปัญหา คือถุงน้ำที่ทำจากยางพารารั่วแตก ไม่ได้มาตรฐานตามความต้องการ จากนั้นผู้ประกอบการได้เข้ามาปรึกษากับทางเอ็มเทค และทีมวิจัยได้วิเคราะห์ถึงปัญหาแล้วพบว่า ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตถุงน้ำซ้ำได้ ถึงแม้ว่าจะผลิตซ้ำได้ก็ยังเจอปัญหารั่วแตกเหมือนเดิม ทีมวิจัยจึงเข้าไปช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเทคโนโลยีของ เอ็มเทค สวทช. นายปริญญา จันทร์หุณีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถผลิตถุงน้ำได้เองอยู่แล้ว แต่อายุการใช้งานสั้นและเกิดปัญหาการแตกรั่ว ประกอบกับการผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงสะท้อนถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อทีมวิจัยทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงได้หารือร่วมกับทีมวิจัยวัสดุยางและการขึ้นรูปขั้นสูง ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของเอ็มเทคที่มีประสบการณ์และมีเครือข่ายด้านยางพารา “จนได้ข้อสรุปโดยปรับเปลี่ยนตั้งแต่การใช้วัสดุยางพาราแบบ Food Grade การออกแบบแม่พิมพ์ วิธีการซีลฝาเปิด-ปิด การทดสอบอุณหภูมิ และความดันของแรงกดทับ โดยหนึ่งลอนน้ำทดสอบแรงกดทับที่ 120 กิโลกรัม จนแน่ใจว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและได้มาตรฐานตามที่ต้องการ” นางกานต์ชนิต เทอดโยธิน ผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนจำกัด เคทีซี ที่นอนน้ำ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยติดเตียงเป็นผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย นอนนาน จึงเสี่ยงต่อการมีแผลกดทับและมีค่ารักษาสูงมาก ดังนั้น จึงคิดศึกษาที่นอนน้ำของในต่างประเทศ พบว่าที่นอนน้ำมีคุณสมบัติป้องกันแผลกดทับได้ดี จึงนำเอามาปรับใช้ โดยใช้ถุงปัสสาวะที่ยังไม่ใช้มาทำเป็นที่นอนน้ำให้กับคนไข้ซึ่งป้องกันแผลกดทับได้ แต่อายุการใช้งานของวัสดุจะสั้น จึงมีแนวคิดในการพัฒนาวัสดุยางพาราให้เป็นลอนหรือถุงใส่น้ำแทนถุงปัสสาวะ “เราได้เข้าไปติดต่อหน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งให้ทำเป็นลอนใส่น้ำมาต่อกันให้เป็นที่นอน แต่พบปัญหาว่าลอนน้ำสั้นไปจึงทำให้เกิดร่อง เมื่อผู้ป่วยติดเตียงใช้งานแล้วเกิดปัสสาวะล้นก็จะทำให้เกิดความอับชื้น และเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับติดเชื้อได้ หลังจากทีมวิจัยได้พัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว จึงได้ลอนน้ำที่มีความยาวตามมาตรฐาน ทนทาน และมีความยืดหยุ่นสูง” เมื่อนำไปใช้งานกับผู้ป่วยพบว่าที่นอนน้ำมีคุณสมบัติในการลดแรงกดทับในผู้ป่วยที่นอนนาน ทำให้ไม่เกิดแผลกดทับ ระบายความร้อน ระบบไหลเวียนผู้ป่วยดีขึ้น ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยที่จะต้องคอยพลิกตะแคงท่าของผู้ป่วยติดเตียงที่นอนนาน และประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมากอีกด้วย นอกจากการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว เอ็มเทค สวทช. ยังได้จับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการเคทีซี และบริษัท กังวาลอุตสาหกรรมยาง ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการขึ้นรูปท่อยางผลิตที่นอนน้ำเพื่อสุขภาพ เพื่อผลิตจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนี้มีผู้ป่วยใช้งานแล้วหลายร้อยชุด Manager online 16.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร