Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘ไมโครพลาสติก’ ภัยใกล้จาน...จากทะเลสู่อาหาร  

ปัญหาใหญ่ของพลาสติกชิ้นเล็กจิ๋ว เมื่อพบว่าในร่างกายคนเรามีไมโครพลาสติกกว่า 10,000 ชิ้น ที่น่าจะส่งผลต่อสุขภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข่าวที่ระบุว่า มนุษย์กำลังกินพลาสติกหนักราว 5 กรัมใกล้เคียงกับน้ำหนักของบัตรเครดิตทุกสัปดาห์ หรือราว 21 กรัมต่อเดือน และ 250 กรัมต่อปี แม้ตัวเลขนี้จะแปรผันตามประเภทอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ แต่จากรายงานของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ผู้คนทั่วโลกบริโภคไมโครพลาสติกที่มาพร้อมอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งอากาศเข้าสู่ร่างกายราว 2,000 หน่วยต่อสัปดาห์ ถ้ายังนึกไม่ออกว่ามันมากน้อยขนาดไหน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายให้เห็นภาพว่า “ปัจจุบันจากการที่มีการคำนวณการกินอาหารต่างๆ พบว่าโดยเฉลี่ยคนเราน่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า 10,000 ชิ้น” สอดคล้องกับผลการศึกษา ‘การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอาหารและมนุษย์’ โดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของออสเตรีย (The Environment Agency Austria) ที่ได้นำอุจจาระจากผู้ร่วมการทดลอง 8 คน จาก 8 ประเทศ อาทิ ออสเตรีย อิตาลี ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหราชอาณาจักร มาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (ผู้ร่วมการทดลองไม่มีใครทานมังสวิรัต และมี 6 คนที่ทานปลาทะเล) ดูเหมือนไมโครพลาสติกเหล่านี้จะรุกคืบเข้าสู่ร่างกายของเราแบบไม่บอกกล่าว คำถามก็คือ แล้วพวกมันมาจากไหน ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างไรบ้าง Every-Marine-Animal-Studied-in-This-Report-Contained-Microplastics-800x450 รู้ไว้ไมโครพลาสติก ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กมากที่อาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งปนเปื้อนลงไปในสิ่งแวดล้อม คำนี้ไม่ได้หมายถึงพลาสติกประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่หมายถึงเศษพลาสติกใดๆ ที่มีขนาดเล็กว่า 5 มิลลิเมตร (ตามนิยามของสำนักงานบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา) ไมโครพลาสติก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Primary Microplastics ซึ่งถูกผลิตขึ้นโดยตรงจากโรงงานตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น พวกไมโครบีดส์ในโฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง สครับขัดผิว หรือยาสีฟัน อีกประเภทหนึ่งคือ Secondary Microplastics เกิดจากการที่พลาสติกขนาดใหญ่แตกหักหรือผุกร่อนจากคลื่น แสงอาทิตย์ หรือแรงบีบอัด จนกลายเป็นชิ้นเล็กๆ แม้กระทั่งในกลุ่มพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) ก็พบเป็นส่วนหนึ่งของไมโครพลาสติกเช่นเดียวกัน “พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้จะย่อยสลายได้จริงต่อเมื่ออยู่บนบกเท่านั้น เพราะว่าบนบกมีแบคทีเรีย มีอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่ช่วยในการย่อยสลาย แต่พอลงทะเลปุ๊บ ทะเลไม่ได้มีแบคทีเรียชนิดนั้น และอุณหภูมิของน้ำทะเลก็ไม่ได้สูงจนสามารถที่จะย่อยพลาสติกเหล่านี้ได้ เมื่อตกลงไปในทะเล พอถูกแสงแดด พลาสติกจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเราจะมองเห็น ในระดับที่เรียกว่าไมโครพลาสติก” รศ.ดร.สุชนา ให้ข้อมูลเบื้องต้น ปัญหาก็คือเมื่อไมโครพลาสติกเหล่านี้ปนเปื้อนในแม่น้ำลำธาร ทะเลและมหาสมุทร ไม่เพียงส่งผลต่อระบบนิเวศ ยังเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารโดยผ่านสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ก่อนจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ซึ่งรศ.ดร.สุชนา และทีมงาน ได้เริ่มต้นงานวิจัยเพื่อศึกษาถึงการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก เมื่อปี 2017 โดยการสำรวจสัตว์ทะเลประเภทหอย พบว่ามีการสะสมของไมโครพลาสติกอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเราเก็บหอยบริเวณหนึ่งแล้วพบว่าไมโครพลาสติกส่วนใหญ่เป็นไนลอน ผลปรากฏว่าแถวนั้นมีการทำประมงเยอะ มีอวนเยอะ ซึ่งอวนก็เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดไมโครพลาสติก หรือว่าบริเวณที่ไปเก็บหอยเป็นแหล่งท่องเที่ยว เราจะพบไมโครพลาสติกที่เป็นพีวีซี ซึ่งมาจากขวดน้ำ แก้วน้ำพลาสติกต่างๆ เยอะมากเพราะฉะนั้นไมโครพลาสติกที่พบสามารถบ่งชี้ไปได้เลยว่าบริเวณนั้นมีกิจกรรมอะไรที่ทำให้เกิดไมโครพลาสติก" จากทะเลไทยถึงขั้วโลก ด้วยปริมาณมหาศาลของการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและระบบการจัดการขยะพลาสติกที่ล้มเหลว ทำให้ขยะจำนวนมากเดินทางสู่แม่น้ำลำคลอง ท้องทะเลและมหาสมุทร ภาพของสัตว์ทะเลที่กินพลาสติกโดยไม่ตั้งใจ รวมไปถึงซากของพวกมันที่ในท้องเต็มไปด้วยขยะพลาสติก เป็นเพียงหลักฐานที่ปรากฎชัดถึงสัญญาญอันตรายของระบบนิเวศ แต่สำหรับ ‘ไมโครพลาสติก’ ภัยที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่านี้ ดูเหมือนว่าความร้ายกาจของพวกมัน คือการแทรกซึมเข้าสู่สภาพแวดล้อมและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอย่างเงียบเชียบและกว้างขวาง รศ.ดร.สุชนา บอกว่าทีมวิจัยได้ศึกษาไมโครพลาสติกในปะการัง ซึ่งผลที่ได้ก็ไม่ได้สร้างความแปลกใจเท่าไร แต่ตอกย้ำสถานการณ์ที่น่ากังวลมากกว่า “สัตว์ทะเลที่เป็นพวกกรองกินมีโอกาสที่จะกรองกินไมโครพลาสติกเข้าไปสูง ซึ่งปะการังก็เหมือนกัน โดยพบว่า 1 โพลิป (polyp) ของปะการังจะมีไมโครพลาสติก 1 อัน เพราะฉะนั้นตัวปะการัง 1 ตัว ที่มีโพลิปเป็น 100-1,000 โพลิป ก็มีโอกาสที่จะเจอไมโครพลาสติกเป็นร้อยเป็นพัน ซึ่งตอนนี้เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าจะส่งผลอะไรบ้าง แต่มีโอกาสตรงที่พวกนี้เป็นมลพิษที่อาจจะทำให้เกิดการฟอกขาวง่ายมากขึ้น” นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังเริ่มสนใจศึกษาถึงผลกระทบในสัตว์ทะเลเล็กๆ ที่กรองกินไมโครพลาสติกเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น โคพีพอด (Copepod) สัตว์จำพวกเดียวกับกุ้ง พบว่าถ้ามีไมโครพลาสติกเข้าไปร่างกายจะทำให้การสืบพันธุ์หยุดชะงัก การเจริญเติบโตหยุดชะงัก หรือในปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็พบความเป็นไปได้ว่าการกินไมโครพลาสติกมีผลต่อการเกิดบาดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งนั่นหมายความว่า เมื่อไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายมนุษย์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางใดทางหนึ่ง ที่น่าตกใจก็คือ การเดินทางของไมโครพลาสติกเหล่านี้ ปัจจุบันไปไกลถึงบริเวณขั้วโลกที่แทบจะไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ซึ่ง รศ.ดร.สุชนา เล่าว่า “ทีมวิจัยเองได้มีโอกาสเดินทางไปทำวิจัยที่ขั้วโลก ก็พบว่ามีไมโครพลาสติก นั่นแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พวกเรากระทำนั้นส่งผลไปถึงขั้วโลกเลย ทั้งที่บริเวณนั้นไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ แต่นั่นมาจากการที่เราทิ้งแล้วกระแสน้ำหมุนเวียนไปถึงบริเวณขั้วโลก” และเมื่อนำตัวอย่างน้ำ ดิน ดินในทะเล รวมถึงสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้นมาเปรียบเทียบกับตัวอย่างในประเทศไทย คำตอบที่ได้ก็ทำให้ยิ่งต้องตระหนักในปัญหาเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากปริมาณไมโครพลาสติกที่พบแถบขั้วโลกนั้นค่อนข้างสูง ทว่ายังไม่สูงเท่ากับที่พบในประเทศไทย “บริเวณนั้นไม่กิจกรรมมนุษย์เลย ไมโครพลาสติกที่พบส่วนใหญ่มาจากอวน และขวดพลาสติกต่างๆ แล้วที่ขั้วโลกเราก็พบขวดพลาสติกด้วยเช่นเดียวกัน โดยถูกกระแสน้ำพัดพาไป” นั่นคือความจริงที่ว่า ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นบนพื้นโลกกำลังไหลเวียนอยู่ในมหาสมุทรและเดินทางต่อไปในทุกทิศทุกทางโดยไม่มีการแบ่งแยกอาณาเขตประเทศ หนทางเดียวก็คือเราต่างต้องช่วยกันลดปริมาณขยะพลาสติกเหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ภัยจิ๋วในร่างกายมนุษย์ เมื่อขยะพลาสติกเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล อีกประมาณร้อยละ 12 ถูกนำไปเผาและก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ที่เหลือมากถึงร้อยละ 79 คือขยะปริมาณมหาศาลที่ตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม ไหลลงสู่ท้องทะเล ก่อนจะหลุดเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร โดยมีมนุษย์เป็นผู้บริโภครายใหญ่ ตลอดเส้นทางนี้ชัดเจนว่า ไมโครพลาสติกได้ถูกกรองกินโดยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด และในจำนวนสัตว์ทะเลที่สะสมไมโครพลาสติกไว้ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอาหารของมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่ในเกลือปรุงอหาร โดยผลการศึกษาร่วมกันระหว่าง ศาสตราจารย์ซึง-คยู คิม (Seung-Kyu Kim) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติอินชอน และกรีนพีซ เอเชียตะวันออก เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเกลือ พบไมโครพลาสติกในเกลือจากแบรนด์ต่างๆ จากทั่วโลก (ข้อมูล www.greenpeace.org) ในรายงานชิ้นนี้ระบุว่า เมื่อไมโครพลาสติกเหล่านี้หลุดรอดเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวนั้น ข่าวร้ายก็คือ พลาสติกเล็กจิ๋ว(แต่ร้าย)พวกนี้มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า BPA หรือบิสฟีนอลเอ สารตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของระบบในร่างกาย รบกวนการทำงานการปล่อยฮอร์โมนเอสโทรเจน แม้จะยังไม่มีการศึกษาลงไปในรายละเอียดว่า ไมโครพลาสติกที่เข้าไปในร่างกายนั้นจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง แต่จากการคำนวณการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เชื่อว่าโดยเฉลี่ยในคนที่ทานอาหารปกติน่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า 10,000 ชิ้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณการรับประทานอาหารทะเล) สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือถ้าตกค้างอยู่ภายในร่างกายแล้ว และไมโครพลาสติกมีการแตกตัวเล็กลงจากไมโครเมตร เป็นนาโนเมตร หรือพิโคเมตร หรือเล็กเท่ากับแบคทีเรียหรือไวรัส อาจจะหลุดเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดได้ แบบนี้น่ากลัว เพราะว่าแบคทีเรีย ไวรัสเข้าได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นขนาดไมโครพลาสติกหลุดเข้าไปในเส้นเลือดอาจจะไปขวางกั้นเส้นเลือดเราก็ได้ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือถ้าไปฝังตามเนื้อเยื่อของเรา อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ต้องใช้เวลานานพอสมควรที่จะเกิดขึ้นให้เห็น เพราะฉะนั้นตอนนี้เราก็ได้แค่ทราบแล้วก็ระวังไว้ เพราะว่าไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทุกหนแห่งแล้ว เราก็ต้องปรับพฤติกรรมของเราเองด้วย" รศ.ดร.สุชนา ย้ำว่าไม่ได้พูดให้ตระหนกแต่อยากให้ทุกคนตระหนักและหาวิธีป้องกัน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งอยู่ในอันดับ 6 ของประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดในโลก สิ่งสำคัญคือการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง “การจัดการขยะที่ดี เราต้องจัดการตั้งแต่บนบก เพราะพอพลาสติกลงไปในทะเลแล้ว การจัดการจะลำบากมาก ถึงแม้เราจะเก็บกวาดขยะก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บได้หมด ยิ่งถ้าเป็นไมโครพลาสติกแล้ว เรายิ่งไม่สามารถจัดการมันได้เลย เพราะฉะนั้นยิ่งลงทะเลแล้วแตกหักเป็นชิ้นเล็กมากเท่าไหร่ อันตรายหรือผลกระทบก็จะยิ่งสูง การที่เราจะทำความสะอาดก็ยิ่งยาก ฉะนั้นทางที่ดีคือไม่ให้ขยะและพลาสติกลงทะเลไปตั้งแต่แรกเพราะ ณ ขณะนี้เราไม่สามารถสร้างพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในทะเล” ความเป็นไปได้มากที่สุดในการรับมือกับภัยจิ๋วเหล่านี้ จึงยังไม่มีอะไรดีไปกว่าการลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งปริมาณการผลิตและการใช้ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ...ไม่ว่าจะเพื่อโลกหรือเพื่อเรา จุดประกาย 19.07.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร