Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สวทช.-มจธ.-มจพ. ร่วมมือยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ฯ  

3 หน่วยงาน สวทช.-มจธ.-มจพ.ร่วมมือยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ฯ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ลงนามความร่วมมือ “โครงการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” เมื่อวันที่ 3 ก.ย.62 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การลงนามความร่วมมือดังกล่าวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ แข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ พร้อมสร้างเครือข่ายและร่วมกันพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาศักยภาพ ไม่น้อยกว่า 20 ราย ในระยะเวลา 2 ปี รศ.ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานครั้งนี้ เพื่อมุ่งสร้างสรรค์พัฒนายกระดับศักยภาพด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถพึ่งพาตนเองของผู้ประกอบการทั้งระดับกลางและระดับย่อย พัฒนาคุณภาพบรรจุภัณฑ์ทั้งในด้านการใช้งานและความสวยงาม สร้างสรรค์แนวทางการใช้ทรัพยากรทุกๆ ด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน แก้ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์และมีศักยภาพในการแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ "มจธ. โดยภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จะเน้นส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ซึ่งจะรับบทบาทเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมาใช้ผลิตหรือพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และเข้าไปให้คำแนะนำตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้นวัตกรรมให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ การยืดอายุการเก็บอาหาร การลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ การลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์หรือเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งกระบวนจัดหาวัตถุดิบ จนถึงขั้นตอนกำจัดทิ้ง ที่จะสามารถนำสิ่งเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้" รศ.ดร.ธเนศกล่าว ด้าน ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ความร่วมมือของ 3 หน่วยงานจะเป็นการร่วมมือกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการพึ่งพาตนเองของผู้ประกอบการ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการผลิตแบบอัจฉริยะ เช่น การพัฒนาระบบ IoT และการสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ บิกดาตา (Big data) ให้เกิดระบบการผลิตทางไซเบอร์-กายภาพ (Cyber Physical Product System) ที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการยกระดับศักยภาพทางการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเกิดความมั่งคั่งและยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ "มจพ.โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์-กายภาพทางการผลิต สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเน้นใช้กลไกความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดดด้วยการสร้าง ‘ห่วงโซ่คุณค่า’ (Value Chain) ให้สถานประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในการพัฒนาคุณค่าของธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ที่ตอบสนองต่อการเพิ่มจุดแข็งการแข่งขันด้วยกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตด้วยระบบปฏิบัติการอัตโนมัติอัจฉริยะ การจัดการเทคโนโลยีบำรุงรักษาและความน่าเชื่อถือ เพื่อลดความสูญเสียของเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การควบคุมและติดตามผลกำไรกระบวนการผลิตในยุคอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาระบบควบคุมและติดตามความก้าวหน้างานเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตแบบ Real Time"นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.และรองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. กล่าวว่าความร่วมมือระหว่าง สวทช.และมหาวิทยาลัย 2 แห่งครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันอย่างครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อเตรียมพร้อมในการวางแผนใช้ทรัพยากรอย่างริเริ่มสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเครื่องมือและองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและเกิดนวัตกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและด้านผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการที่ได้รับจากการเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทั้งระดับกลางและระดับย่อยในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ แข่งขันได้ทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งยังสร้างเครือข่ายและร่วมกันพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับคำแนะนำด้านวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์และนวัตกรรมการออกแบบวัสดุและเทคโนโลยีการพิมพ์จากผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบอย่างน้อย 20 รายในระยะเวลา 24 เดือน (ก.ย.62 - ส.ค.64) “โครงการฯมุ่งหวังจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำ creative and problem solving ทางด้านบรรจุภัณฑ์ การออกแบบการเลือกใช้วัสดุและการผลิตงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ในการพัฒนาคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ ทั้งในด้านใช้งานและความสวยงามสร้างสรรค์แนวทางใช้ทรัพยากรทุกๆ ด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก้ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังหวังให้เป็นโครงการนำร่อง ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ประสบความสำเร็จ เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กลุ่มธุรกิจสินค้าและบริการด้วยการสนับสนุนอย่างครบวงจร ตั้งแต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตสินค้าใช้ทรัพยากรทุกๆ ด้าน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมสร้างรายได้เพิ่มให้ผู้ประกอบการผ่านการส่งเสริมความรู้และนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการอย่างจริงจัง” ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.กล่าว สำหรับผู้สนใจขอรับการสนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์และการออกแบบวัสดุและเทคโนโลยีการพิมพ์รวมถึงคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ติดต่อได้ที่โปรแกรม ITAP สวทช. โทร.0 2564 7000 ต่อ 1301,1368, 1381 หรือที่ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มจธ. โทร.0 2470 8571-4 และศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์-กายภาพทางการผลิต สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ. โทร.0 2555 2000 Manager online 3.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร