Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มีความหวังขยายพันธุ์แรดขาวเหนือ 2 ตัวสุดท้ายบนโลก  

หลังจาก “แรดขาวเหนือ” ตัวผู้ตัวสุดท้ายตายไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ความหวังในการพิทักษ์พันธุกรรมแรดหายากนี้น้อยลง แต่ล่าสุดสัตวแพทย์ได้จุดไฟความหวังขึ้นมาหลังประสบความสำเร็จในการเก็บไข่ของแรดเพศเมียพันธุ์นี้ที่เหลือเพียง 2 ตัวสุดท้ายบนโลก เอเอฟพีระบุว่า วิทยาศาสตร์เป็นเพียงความหวังเดียวสำหรับแรดขาวเหนือ (northern white rhino) หลังจาก “ซูดาน” (Sudan) แรดขาวเหนือเพศผู้ ที่อยู่ในสำนักอนุรักษ์โอลเปเจตา (Ol Pejeta Conservancy) ในเคนยา ได้ตายไปเมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดภายในแหล่งอนุรักษ์เดียวกันได้เกิดประกายความหวังอีกครั้ง เมื่อสัตวแพทย์ประสบความสำเร็จในการเก็บไข่ของแรดขาวเหนือเพศเมียที่เหลืออยู่บนโลกเพียง 2 ตัว แรดเพศเมีย 2 ตัวที่เหลืออยู่ คือ นาจิน (Najin) อายุ 30 ปี และลูกสาวของเธอ ฟาตุ (Fatu) อายุ 19 ปี ทั้งสองอยู่ภายในการปกป้องตลอด 24 ชั่วโมง ของกองกำลังติดอาวุธที่โอลเพเจตา เคนยา นาจินและฟาตุมีปัญหาไม่สามารถตั้งท้องได้ โดยฟาตุนั้นมีปัญหามดลูกเสื่อมสภาพ ส่วนนาจินแม่ของเธอมีปัญหาขาหลังที่อ่อนแอ ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้เมื่อเธอตั้งท้อง กระบวนการเก็บไข่จากแรดขาวเหนือทั้งสองตัวอยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูง โดยต้องถูกวางยาสลบเป็นเวลานานเกือบ 2 ชั่วโมง และมีสัตวแพทย์นานาชาติร่วมปฏิบัติการที่เคนยา โดยใช้เทคนิคเก็บไข่ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาเป็นเวลาหลายปี แจน สเตจสกัล (Jan Stejskal) จากสวนสัตว์ดวูร์ คราเลิฟ (Dvur Kralove Zoo) ในสาธารณเช็ก กล่าวว่าความสำเร็จครั้งนี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ โดยพวกเขาเก็บโอโอไซต์ (oocytes) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมีย ได้จำนวน 10 โอโอไซต์ ซึ่งเป็นจำนวนตามที่ตั้งความหวังไว้ ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ.2009 ทางสวนสัตว์แห่งนี้ยังเคยส่งแรดขาวเหนือเพศผู้จำนวน 4 ตัวไปยังเคนยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์ สเตจสกัลอธิบายต่อว่า หลังพบว่าแรดขาวเหนือตัวเมียทั้งสองตัวไม่เจริญพันธุ์แล้วเมื่อปี ค.ศ.2014 ก็มีสวนสัตว์ในยุโรป 15 แห่งให้ไฟเขียวเพื่อให้ใช้แรดขาวใต้ (southern white rhino) ตัวเมียเพื่อทดลองใช้เทคนิคการเก็บไข่ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นใหม่ และเมื่อเดือน ก.ค.2018 เป็นครั้งแรกที่ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) ของแรดถูกสร้างขึ้น โดยเป็นลูกผสมระหว่างแรดขาวเหนือและแรดขาวใต้ โอโอไซต์จากนาจินและฟาตุถูกขนส่งทางเครื่องบินไปยังห้องปฏิบัติการในอิตาลี ซึ่งเป็นสถานที่ในการผสมพันธุ์ไข่กับสเปิร์มแช่งแข็ง ที่ได้จากแรดขาวเหนือตัวผู้ 4 ตัวที่ตายไปแล้ว ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิคเพื่อถ่ายฝากตัวอ่อนไปยังแม่แรดอุ้มบุญ โดยมีความพยายามนี้ในแรดขาวใต้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อเก็บไข่จากแรดขาวเหนือตัวเมียที่ยังมีชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทีมงานในโครงการขยายพันธุ์แรดขาวเหนือนี้ประกอบด้วยโอลเพเจตา, อาแวงที (Avantea) ห้องปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากอิตาลี, สวนสัตว์ดวูร์ คราเลิฟ ( Dvur Kralove) ในสาธารณรัฐเช็ก, สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าเคนยา (Kenya Wildlife Service: KWS) และสถาบันเพื่อการวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าไลบ์นิซ (Leibniz Institute for Zoo and Wildlife Research) ในเยอรมนี แฟรงก์ กอริตซ์ (Frank Goritz) หัวหน้าสัตวแพทย์สถาบันไลบ์นิซระบุว่า ในฐานะนักวิทยาศาสตร์แล้วพวกเขาได้รับทั้งผลและข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับชีววิทยาการขยายพันธุ์ และการช่วยเหลือการขยายพันธุ์ ซึ่งสามารถและนำไปช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่นได้ โดยที่สัตว์สปีชีส์อื่นไม่ได้เข้าใกล้ภาวะสูญพันธุ์มากเท่าแรดขาวเหนือ ด้าน ริชาร์ด วิญ (Richard Vigne) ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการของสำนักอนุรักษ์โอลเปเจตา กล่าวว่าความพยายามที่ฟื้นคืนชีพให้สปีชีส์ที่กำลังสูญพันธุ์ เป็นสิ่งสำคัญที่เน้นย้ำให้เห็นว่าวิกฤตการสูญพันธุ์ในปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรับผิดชอบ ตอนนี้มีแรด 5 สปีชีส์ที่เหลืออยู่บนโลก โดยแรดขาวและแรดดำนั้นพบได้ในแอฟริกา ส่วนแรดขาวเหนือนั้นเข้าใจโดยทั่วไปว่าเป็นสปีชีส์ย่อยของแรดขาว แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าเป็นแรดสปีชีส์ที่ 6 บนโลก จากขนาดตัวของแรดทำให้แรดมีผู้ในธรรมชาติอยู่น้อย แต่ถูกลดจำนวนลงไปมหาศาลจากการเพื่อเอานอ ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาของแพทย์แผนจีน ทั้งนี้ แรดยุคใหม่นั้นเดินย่ำบนโลกมาแล้ว 26 ล้านปี และเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีแรดในแอฟริกามากกว่า 1 ล้านตัว แต่จำนวนแรดก็ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.2011 แรดดำตะวันตกถูกประกาศว่าสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า หากการทำแรดหลอดแก้วประสบความสำเร็จ ก็อาจจะมีลูกแรดขาวเหนือหลายตัวกำเนิดออกมา แต่วิธีการให้ถึงจุดหมายนั้นยังมีข้อจำกัด อีกข้อจำกัดคือการเก็บไข่ของตัวเมียนั้นทำได้เพียงปีละ 3 ครั้ง และการขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมยังเป็นอุปสรรคในการอยู่รอดของสปีชีส์ แต่คณะทำงานของทีมนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติในชื่อทีมไบโอเรสคิว (BioRescue) ก็พยายามสร้างเซลล์เพศประดิษฐ์ที่เรียกว่า “แกมีต” (gamete) จากสเต็มเซลล์ ที่ถ่ายโอนจากเนื้อเยื่อแช่แข็งของสัตว์ตัวอื่นที่ไม่สัมพันธ์กับแรดขาวเหรือ เพื่อสร้างความหลากหลายให้ยีน แรดเหนือขาวนั้นเคยมีอยู่ทั่วอูกานดา, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, ซูดานและชาด ซึ่งหวังกันว่าประชากรที่จะฟื้นคืนมานั้นจะกลับคืนแหล่งอาศัยที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยภายในประเทศเหล่านี้ โดยคาดว่าอาจต้ องใช้เวลาถึง 70 เพื่อฟื้นคืนจำนวนประชากรแรดที่กำลังจะสูญพันธุ์นี้ Manager online 3.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร