Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มาใช้กันเถอะ AI FOR THAI เอไอสัญชาติไทย ตัวช่วยหนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล  

เนคเทค เปิดตัว AI FOR THAI แพลตฟอร์มเอไอสัญชาติไทย เพิ่มศักยภาพความสามารถของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการช่วยดำเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดตัว “AI FOR THAI” แพลตฟอร์มเอไอสัญชาติไทย ผลงานวิจัยและพัฒนาที่เนคเทค สวทช.มุ่งหวังให้เป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการเพิ่มศักยภาพความสามารถของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อใช้ในการช่วยงานและพร้อมสร้างอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค 2562 ว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง เนื่องจากได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ผนวกรวมกับข้อมูลในรูปแบบจำนวนมากและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเสียง รูปภาพ ข้อความ แผนผังข้อมูล ซึ่งเก็บรวบรวมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น "ส่งผลให้พัฒนาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ภายใต้กระบวนการที่เรียกว่า Machine Learning ซึ่งหมายถึงการใช้อัลกอรึทึมในการวิเคราะห์ข้อมูล เรียนรู้ข้อมูล แล้วทำการคาดการณ์หรือประเมินผลสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะผ่านการป้อนข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้คนในปัจจุบันมากขึ้น และเริ่มมีบทบาทชัดเจนต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะจะช่วยทํางานในส่วนที่อยู่นอกขอบเขตของมนุษย์ โดยเฉพาะการทําความเข้าใจแบบแผนต่างๆ" ดร.ชัยกล่าวต่อว่าปัจจุบันได้นำเอไอมาประยุกต์ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งสามารถเชื่อมโยง เรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่ง เนคเทค สวทช. ได้สะสมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านปัญญาประดิษฐ์มากว่า 20 ปี โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยและเอกลักษณ์ของไทย และมีความมุ่งหมายว่า AI FOR THAI จะเป็นฐานรากทางเทคโนโลยีที่สำคัญให้กับนักธุรกิจ นักพัฒนา และนักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยได้ สำหรับ AI FOR THAI เป็นแพลตฟอร์มให้บริการ AI สัญชาติไทย ผลงานวิจัยและพัฒนาโดย “เนคเทค” และ “สวทช.” เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ Machine Learning ที่เน้นตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ ในประเทศไทย โดยคำนึงถึงผู้ใช้บริการที่เป็นคนไทยเป็นหลัก เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงระบบเอไอที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น เพื่อประหยัดทรัพยากรณ์ที่ใช้ผลิตและบริการ กลุ่มเป้าหมายสำหรับ AI FOR THAI คือ นักพัฒนาระบบ ผู้ประกอบการบริษัท SME และบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชัน และยังพร้อมให้บริการในทุกช่วงเวลา โดยสามารถใช้บริการได้ทางเว็บไซต์ AIforthai.in.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย AI FOR THAI จะช่วยต่อยอดการสร้างสรรค์แอพพลิเคชันต่างๆ เช่น ภาคธุรกิจกลุ่มค้าปลีก ใช้ระบบ Chatbot เพื่อโต้ตอบเพื่อตอบคำถาม ให้บริการแก่ลูกค้าแทนพนักงาน หรือกลุ่มโลจิสติกส์ ใช้ระบบรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อตรวจจับใบหน้าของพนักงานขับรถว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ และด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้ AI แปลภาษาและสามารถวิเคราะห์รูปอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวจากภาพถ่าย อีกทั้งในด้านการแพทย์ก็ใช้ระบบ AI วิเคราะห์แนวโน้มความเสี่ยงของโรคส่วนบุคคล หรือการอ่านฟิล์ม X-rays แทนมนุษย์ ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ทดลองใช้งานผ่านเว็บไซต์ AIforthai.in.th และกรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ AI FOR THAI ในหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะมีเมนูต่างๆ ให้เลือกมากมาย และทีมงานได้เลือก "เมนูรู้จำวัตถุ" และเมื่อทดลองทใส่รูปอาหารที่ต้องการวิเคราะห์ ระบบก็วิเคราะห์รูปและแสดงผลชื่อเมนูให้ทราบ นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านอาหาร และใช้แค่รูปอาหารก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่าคือเมนูอะไร Manager online 9.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร