Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิด “แล็บ” เจาะขั้นตอนตรวจ “กัญชา” วิเคราะห์พิษ-สารสำคัญ-ความเข้มข้น  

ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มจ่าย “ยากัญชา” แล้ว ทั้งทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย โดยมีทั้งสารสกัดกัญชา ซึ่งผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และยาแผนไทย คือ ตำรับศุขไสยาศน์ และจะมีตำรับอื่นๆ ทยอยออกมาอีกจำนวนมาก รวมถึงสูตรยากัญชาของหมอพื้นบ้าน ซึ่งการขึ้นชื่อว่าเป็น “ยา” จะต้องมีความปลอดภัย ตั้งแต่เป็นวัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จในขั้นสุดท้าย การจะบอกว่ายากัญชามีความปลอดภัย มีค่าความเข้มข้นของสารสำคัญต่างๆ เป็นไปตามที่ผลิตไว้หรือไม่ จำเป็นที่จะต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (แล็บ) เพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งหลักๆ ที่มีการส่งกัญชามาตรวจนั้น พบว่า มีทั้งการตรวจการปนเปื้อนในกัญชาแห้งของกลาง ที่จะนำมาผลิตสารสกัดหรือยา การตรวจปริมาณสารสำคัญของสารสกัดกัญชา รวมไปถึงตรวจสารปนเปื้อนหรือความเป็นพิษของสารสกัดกัญชาหรือยากัญชาที่ผลิตออกมาแล้ว ในส่วนของการตรวจการปนเปื้อนหรือสารพิษต่างๆ นั้น นายสุพัฒน์ แสงสวย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายถึงขั้นตอนการตรวจความปลอดภัยว่า การตรวจการปนเปื้อนในกัญชา หลักๆ ที่ตรวจจะมีสารโลหะหนัก 4 ชนิด คือ 1.สารหนู ซึ่งค่ามาตรฐานต้องปนเปื้อนไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./กก.) 2.สารปรอท ต้องไม่เกิน 0.5 มก./กก. 3.สารตะกั่ว ต้องไม่เกิน 10 มก./กก. และ 4.แคดเมียม ต้องไม่เกิน 0.3 มก./กก. ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกัญชาของกลาง วัตถุดิบ หรือสารสกัดที่ผลิตแล้ว จะใช้วิธีในการตรวจเหมือนกัน คือ จะนำตัวอย่างที่ได้รับมาย่อยสลาย เพื่อปรับปริมาตรด้วยกรดไนตริกแบบซูเปอร์เพียว ในหลอดที่เรียกว่า “Cuatztube” ซึ่งเป็นหลอดแก้วคุณภาพดี นายสุพัฒน์ กล่าวว่า ปริมาณตัวอย่างในการใช้ตรวจนั้น ขึ้นกับเครื่องมือในการตรวจว่ามีความไวมากน้อยแค่ไหน หากไวธรรมดา ก็จะใช้กัญชาแห้ง 1 กรัม ส่วนกัญชาพืชสดจะใช้ 4-5 กรัม ส่วนสารสกัดจะใช้ประมาณ 0.5 กรัม แต่หากเครื่องมีความไวสูง ก็อาจใช้กัญชาประเภทต่างๆ เพียง 0.5 กรัมก็พอ การย่อยสลายตัวอย่างจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปวางไว้ในที่ยึดหลอด แล้วนำเข้าเครื่องไมโครเวฟ ซึ่งคลื่นไมโครเวฟที่ใช้จะสูงกว่าไมโครเวฟตามบ้านเรือนที่ใช้กันมาก โดยกระบวนการนี้จะเป็นการเผาไหม้ด้วยความร้อนและกรด เพราะสารโลหะหนักพวกนี้จะเผาธรรมดาไม่ได้ มิเช่นนั้นต้องใช้เวลาเป็นวัน แต่การเผาไหม้ด้วยกรดตะช่วยลดระยะเวลาลงเหลือเพียงครึ่งวัน ซึ่งหากตัวอย่างมีสารโลหะหนักพวกนี้ก็จะละลายปนออกมา นายสุพัฒน์ กล่าวว่า หลังจากเผาด้วยเครื่องไมโครเวฟเสร็จสิ้น ก็จะเทสารที่ได้ลงในขวดแก้วที่เรียกว่า “Volumntric Flask” เพื่อปรับปริมาตรต่างๆ ตามกระบวนการ จากนั้นจึงเทใส่หลอดที่เรียกว่า “High Density Polyethilene” เพื่อเอาเข้าเครื่องวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุ เพื่อตรวจวิเคราะห์ดูว่ามีสารโลหะหนักต่างๆ ปนเปื้อนหรือไม่ ซึ่งใช้เครื่องที่เรียกเทคนิคในการตรวจว่า ICP-MS โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีต่อตัวอย่างก็วัดเสร็จ จากนั้นจึงส่งผลกลับไปยังผู้ยื่นส่งตรวจ ส่วนการตรวจความเข้มข้นของสารสกัดกัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชาว่า มีสัดส่วนเป็นไปตามที่ผลิตหรือไม่นั้น ภญ.บงกช พันธ์บูรณานนท์ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า หลักการตรวจหาความเข้มข้นของสารสกัดกัญชา ทั้งซีบีดีและทีเอชซีนั้น จะเป็นการนำตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน แล้วนำเข้าเครื่องวิเคราะห์ออกมาว่า มีความเข้มข้นเท่าไร เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ผลิตต้องการหรือไม่ ซึ่งกระบวนการแต่ละขั้นตอนก็ค่อนข้างใช้เวลา ภญ.บงกช กล่าวว่า ขั้นตอนการดำเนินการ จะเริ่มจากการเตรียมตัวอย่าง เนื่องจากสารสกัดตัวอย่างจะเป็นของเหลวเหนียวๆ ไม่สามารถฉีดเข้าเครื่องเพื่อตรวจวิเคราะห์สารสำคัญได้ จึงต้องนำมาเจือจางปรับสภาวะ จนได้สารละลายใส เช่นเดียวกับสารมาตรฐานซีบีดีหรือทีเอชซี ที่เป็นของแข็งก็ต้องนำมาเป้นสารละลายใสเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่าการเตรียมตัวอย่างและสารมาตรฐาน โดยจะต้องเตรียมให้มีค่าความเข้มข้นใกล้เคียงกัน ภญ.บงกช กล่าวว่า หลังจากได้สารละลายใสก็จะฉีดเข้าเครื่องตรวจ ซึ่งเครื่องจะใช้เวลาในการประมวลผลและวัดค่าความเข้มข้นของสารสำคัญ ทั้งทีเอชซีและซีบีดีออกมา ว่ามีความเข้มข้นกี่เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ซึ่งเรียกว่าใช้หลักการโครมาโทกราฟี โดยจะมีการทำซ้ำเอกับบีเพื่อตรวจเช็กกันและกัน ถ้าผลไม่ชัดเจนถึงต้องมีการตรวจเช็กซ้ำอีกครั้ง โดยตัวอย่างที่จะนำมาตรวจนั้นปกติจะได้มาประมาณ 50 กรัม แต่จำนวนตัวอย่างจะมากหรือน้อยขึ้นกับว่าผู้ส่งตรวจจะตรวจกี่หัวข้อมากน้อยเยงใด หากตรวจเรื่องความเป็นพิษสารปนเปื้อนด้วยก็จะใช้มากขึ้น นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า นอกจากการตรวจเรื่องสารปนเปื้อน ตรวจสารสกัดแล้ว แล็บยังสามารถตรวจวิเคราะห์คนไข้ฉุกเฉินว่าเกิดจากพิษกัญชาหรือไม่ ซึ่งกรมได้จัดตั้งศูนย์ประสานการตรวจกัญชาทางห้องปฏิบัติการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงาน และกำหนดมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ นอกจากนี้ ยังให้บริการตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบ สารสกัด ยาจากกัญชา ให้การอบรมและคำปรึกษาแก่ห้องปฏิบัติการอื่นๆ ขณะนี้ในส่วนกลางสามารถทำได้แล้ว ส่วนห้องปฏิบัติการฯ ในส่วนภูมิภาคมีแผนจะเปิดภายใน ต.ค.นี้ เริ่มที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่, ศูนย์วิทย์ฯ ที่ 6 ชลบุรี, ศูนย์วิทย์ที่ 9 นครราชสีมา และศูนย์วิทย์ฯ ที่ 12 สงขลา Manager online 10.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร