Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กฟผ.พาดูต้นแบบไฮบริด “โซลาร์ผนวกพลังน้ำ”ที่โปรตุเกส ก่อนนำร่องที่เขื่อนสิรินธรในปีนี้  

ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผสมผสานโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ (Hydro Floating Solar Hybrid System) ที่โปรตุเกส ถือว่าเป็นโครงการสาธิตที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการนำร่องของ กฟผ. ที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 45 เมกะวัตต์ จะช่วยสร้างความมั่นคงไฟฟ้าในภาคอีสานตอนใต้ได้ดีขึ้น เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา คณะศึกษาดูงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)และสื่อมวลชนไทยจากหลายสำนัก เดินทางมาที่โครงการ Hydro Floating Solar Hybrid System ณ เขื่อน Alto Rabagao ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทพลังงานแห่งโปรตุเกส หรือ EDP (Energias de Portugal) โดยโครงการดังกล่าวถือเป็นต้นแบบ และจุดเริ่มต้นที่ทำให้ กฟผ.เกิดไอเดียและนำมาทดลองทำที่เขื่อนผลิตไฟฟ้าของกฟผ. โดยนำร่องที่ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทผู้รับงานวิศวกรรม-จัดหา-ก่อสร้าง (Engineering-Procurement-Construction-EPC) ที่หากสำเร็จจะเป็นโครงการโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนี้ ความน่าสนใจที่ทางคณะดูงานของกฟผ.ได้รับฟังการบรรยายจากทีมบริหารของ EDP Renewable คือการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใช้แหล่งพลังงานมากกว่า 2 ประเภทขึ้นไป หรือที่เรียกว่า ระบบ Hybrid System โดยโครงการทดลองของ EDPที่เขื่อน Alto Rabagao มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ จำนวน 840 แผง กำลังผลิต 220 กิโลวัตต์ ผสมผสานกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำของตัวเขื่อนเองที่มีกำลังผลิต 72 เมกะวัตต์ (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 36 เมกะวัตต์) นอกจากนี้ยังมีเครื่องแปลงไฟระบบกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (Inverter) อีกจำนวน 4 ชุด การผลิตไฟฟ้าทั้งจากแผงโซลาร์เซลล์ และพลังน้ำจากเขื่อน สามารถใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่แล้วร่วมกัน เช่น สายส่งไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าฯ ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้าแรงสูง ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยลดต่ำลงได้ และมีจำนวนชั่วโมงการผลิตไฟฟ้าที่ยาวนานขึ้น เพราะในช่วงเวลากลางวันที่เดิมต้องปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนต่อความต้องการ ก็จะเปลี่ยนมาผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แทน ในขณะที่ในช่วงเวลากลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไม่ได้ จึงจะใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ ยังประหยัดพื้นที่การติดตั้งและมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่า การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน โดยจะติดตั้งที่มุม 12 องศา ในขณะที่การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นดินจะทำมุมชัน (slope) 30 องศา ซึ่งทำให้รับแสงได้ดีขึ้น ดังนั้นในการผลิตไฟฟ้าให้ได้1เมกะวัตต์ ถ้าเป็นโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำจะใช้พื้นที่เพียง 1 เฮกตาร์(6.25ไร่)แต่ถ้าเป็นโซลาร์เซลล์บนพื้นดิน จะต้องใช้พื้นที่มากถึง 3 เฮกตาร์(18.75ไร่) ส่วนประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ดีกว่า 4-10% เนื่องจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำนั้น จะมีน้ำใต้แผงโซลาร์เซลล์มาช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนทำให้อุณหภูมิของแผงโซลาร์เซลล์ต่ำกว่าแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งติดตั้งบนพื้นดิน โครงการทดลองของ EDP ที่เขื่อน Alto Rabagao ได้รับการสนับสนุนค่าไฟฟ้าจากภาครัฐในรูปของ feed in tariff ที่95 ยูโรต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง (3.2 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง )ภายในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งช่วยให้โครงการแข่งขันราคาได้ดีขึ้นกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น ความสำเร็จของโครงการ Hydro Floating Solar Hybrid System ณ เขื่อน Alto Rabagao ทำให้ EDP นำไปขยายผล ที่เมือง Alqueva ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกส โดยจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตติดตั้งรวมสูงถึง 480 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD)ใน ปลายปี 2563 อีกทั้ง EDP ยังมีแผนที่จะพัฒนาโครงการ Hybrid System ในรูปแบบผสมผสานร่วมกันของโรงไฟฟ้าหลายประเภทมากขึ้น ทั้งพลังน้ำ โซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและเสถียรมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทดลองหาขนาดกำลังการผลิตที่เหมาะสมของ Hybrid System ดังกล่าว ปัจจุบันโปรตุเกสมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 300 เมกะวัตต์ แต่รัฐบาลมีเป้าหมายในปี 2583 ที่จะเพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มเป็น 7,000 เมกะวัตต์ โดยในช่วงเริ่มต้นสำหรับโครงการทดลอง รัฐบาลโปรตุเกสยังให้การสนับสนุนค่าไฟฟ้าในรูปของ feed in tariff ที่95 ยูโรต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง (3.2 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง )ภายในระยะเวลา 15 ปี เริงชัย คงทอง รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ.กล่าวว่า ความตั้งใจของ กฟผ.ที่พาสื่อมวลชนไทยมาดูงานโครงการต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ผสมผสานโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ (Hydro Floating Solar Hybrid System) ในครั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า เป็นโครงการที่สามารถทำได้จริง และยังไม่พบข้อบกพร่อง ซึ่ง กฟผ. ก็มีโครงการ hybrid ระหว่าง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และ โซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำในลักษณะเดียวกันที่เขื่อน สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งการประมูลคัดเลือกบริษัทผู้รับงานวิศวกรรม-จัดหา-ก่อสร้าง(Engineering-Procurement-Construction-EPC) ที่มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก น่าจะรู้ผลในเดือนต.ค.2562 นี้และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ในปี2563 ทั้งนี้ กฟผ.มั่นใจว่า โครงการที่เขื่อนสิรินธร จะช่วยเสริมความมั่นคงไฟฟ้าในพื้นที่ภาคอิสานตอนใต้ได้ดีขึ้น จากเดิมที่พื้นที่ดังกล่าวพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโครงการห้วยเฮาะใน สปป.ลาว โดยโครงการที่เขื่อนสิรินธร จะเป็นโครงการ Hydro Floating Solar Hybrid System ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนที่จะถูกทำลายสถิติ จากโครงการของEDP ขนาด480เมกะวัตต์ ที่เมือง Alqueva Manager online 14.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร