Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“อุตุโลก”ระบุโลกร้อนขึ้น 1.1 องศา “ยูเอ็น”เรียกร้องผู้นำโลกแก้ปัญหาเป็นรูปธรรม  

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization-WMO) เผยแพร่รายงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นสำคัญ เพื่อส่งสารไปถึงการประชุมสมัยพิเศษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของผู้นำจาก 60 ประเทศทั่วโลก ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้ (23 กันยายน 2562) ให้ผู้นำโลกแสดงจุดยืนในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง รายงานฉบับดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าปัญหาภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 จนถึงปีพ.ศ. 2562 นี้ โดยระบุว่า นานาชาติต้องเพิ่มความพยายามขึ้นเป็น 3 เท่า ในการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงถึง 2 องศาเซลเซียส และต้องเพิ่มความพยายามอีก 5 เท่า ในการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และยังระบุอีกว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของโลกในระยะ 5 ปีนี้ เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.1 องศาเซลเซียล ขณะที่ อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้ผู้นำแต่ละประเทศนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมตลอด 10 ปีข้างหน้า เพื่อปูทางไปสู่ภาวะปลอดคาร์บอน ในปีพ.ศ. 2593 ๐ ย้ำชัดๆ “ภาวะโลกร้อน”ไม่ใช่วงจร“ธรรมชาติ” แต่มาจาก“ฝีมือมนุษย์” รายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากบีบีซีไทย เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนจากรายงานวิจัยล่าสุด 3 ชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature และวารสาร Nature Geoscience ระบุว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงผันผวนของอุณหภูมิโลกในปัจจุบันสูงกว่าสถิติในประวัติศาสตร์ที่ได้เคยมีการเก็บข้อมูลกันมาอย่างมาก โดยมีความรุนแรงยิ่งกว่า "ยุคน้ำแข็งน้อย" (Little Ice Age) ที่รู้จักกันดีเสียอีก ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่ทำงานวิจัยดังกล่าวชี้ว่า ผลการศึกษานี้ได้หักล้างข้อสงสัยที่มีมานานเรื่องภาวะโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์ว่าไม่มีอยู่จริง เพราะมีผู้อ้างว่าเป็นเพียงวงจรการเพิ่มและลดของอุณหภูมิตามธรรมชาติเท่านั้น ตลอดช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา มีการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ซึ่งในระหว่างนั้นมีเหตุการณ์ที่ภูมิอากาศผันผวนอย่างรุนแรงรวมอยู่ด้วยหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น "ภาวะอากาศร้อนยุคโรมัน" (Roman Warm Period) ระหว่างคริสต์ศักราช 250-400 ซึ่งทั่วยุโรปมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ไปจนถึงยุคน้ำแข็งน้อยที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 14 ซึ่งทำให้อุณหภูมิในหลายพื้นที่ของโลกลดต่ำลงอย่างยาวนานติดต่อกันหลายร้อยปี หลักฐานที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิในอดีตกว่า 700 ชิ้น ซึ่งรวมถึงวงปีของต้นไม้ แนวปะการัง และดินตะกอนก้นทะเลสาบจากแหล่งต่างๆ ชี้ว่า ไม่มีปรากฏการณ์ที่อากาศร้อนขึ้นหรือหนาวเย็นลงครั้งใดจะมีความรุนแรงหรือส่งผลกระทบในวงกว้างไปทั่วทั้งโลกได้เท่ากับ “ภาวะโลกร้อน” ที่เริ่มเกิดขึ้นนับแต่ “ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม” ในศตวรรษที่ 18-19 เป็นต้นมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ยุคที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 สหัสวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ ช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่ถึงกว่า 98% ทั่วโลกในเวลาเดียวกัน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศครั้งอื่นๆ ไม่เคยส่งผลกระทบถึง 50% ของพื้นที่โลกทั้งใบในแต่ละครั้ง ผลวิจัยสรุปว่า ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์มีความรุนแรงสูงกว่าและแตกต่างจากเหตุการณ์ภูมิอากาศผันผวนในอดีตอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น “ยุคน้ำแข็งน้อย”มีความรุนแรงสูงสุดในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนช่วงศตวรรษที่ 15 ในขณะที่ยุโรปกลับเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่งห่างกันถึง 300 ปี ส่วนเหตุการณ์ "ภาวะอากาศร้อนยุคกลาง" (Medieval Warm Period) ในช่วงคริสต์ศักราช 950-1250 ครอบคลุมพื้นที่เพียง 40% ของโลกเท่านั้น ดร. ราฟาเอล นิวคอม หนึ่งในทีมผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเบิร์นของสวิตเซอร์แลนด์อธิบายว่า ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟครั้งรุนแรง ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่อุบัติขึ้นแบบสุ่ม ไม่ใช่วัฏจักรที่มีกำหนดแน่นอน นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังไม่พบข้อมูลที่ชี้ว่า ความผันผวนของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ในอดีตซึ่งเป็นวงจรตามธรรมชาติ ได้ส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกแต่อย่างใดด้วย "ดังนั้น ความเห็นของบางฝ่ายที่ระบุว่า ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันเป็นเพียงวงจรตามธรรมชาติที่เราไม่ควรต้องวิตกกังวล จึงถือเป็นข้ออ้างเลื่อนลอยที่ไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับอย่างเพียงพอ" ดร. นิวคอมกล่าว Manager online 24.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร