Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิชาการยัน 3 สารพิษมีผลแม่-ทารก ก่อมะเร็ง จี้ดันเกษตรอินทรีย์วาระแห่งชาติ  

นักวิชาการเผยผลวิจัย 3 สารพิษร้าย ส่งผลแม่-ทารก เจอพาราควอตในอุจจาระทารก-ซีรัมสายสะดือ เผยปี 56 ทำคนไทยเป็นมะเร็งตาย 6.7 หมื่นราย มข.ชี้คลอร์ไพริฟอส ทำซึมเศร้า-สมาธิสั้น เห็นพ้องเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (25 ก.ย.) ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ประธานคณะ กมธ.วิสามัญฯ เป็นประธานในที่ประชุม ได้เชิญนักวิชาการจาก 3 หน่วยงานหลักมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในการใช้ 3 สารเคมี ประกอบด้วย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยนางพรพิมล กองทิพย์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับการได้รับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์และทารกในชุมชนเกษตรกร จากการสุ่มตัวอย่างอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 102 คน มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ และคลอดด้วยวิธีธรรมชาติในโรงพยาบาล 3 แห่ง พบว่า การรับสัมผัสสารออร์กาโนฟอสเฟต ของมารดาช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือน มีความสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อมัดเล็กและความฉลาดด้านสติปัญญาของเด็กทารก 5 เดือนลดลง และพบความสัมพันธ์ของพาราควอต และไกลฟอเซต ในซีรัมสายสะดือของทารก โดยพบว่าที่ตั้งของบ้านและสมาชิกครอบครัวที่อยู่บ้านเดียวกันมีผลต่อระดับไกลฟอเซต แต่ไม่มีผลต่อระดับพาราควอตในซีรัมของหญิงตั้งครรภ์ และยังตรวจพบสารออร์กาโนฟอสเฟตในอุจจาระของเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะสารพาราควอต ด้านนายนพดล กิตนะ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม กรณีศึกษาสารฆ่าวัชพืชในจังหวัดน่าน พบว่า มีการใช้สารสูงถึง 92.04 เปอร์เซ็นต์ และพบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพาราควอต ทั้งหมด 10 พื้นที่ ไกลฟอเซต 16 พื้นที่ แอทราซีน 51 พื้นที่ มีการปนเปื้อนทั้งในน้ำ นาข้าว และตะกอนดินทั้งในหนองน้ำ และแม่น้ำน่าน และการปนเปื้อนในสัตว์ทั้งในนาในหนองน้ำ และในแม่น้ำ เช่น ปู กบ หอย ปลา ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่เกิดจากการบริโภคอาหารจากสัตว์เหล่านี้ ขณะที่นายปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุถึงอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และมาตรการควบคุมของประเทศ พบว่า มะเร็งเป็นสาเหตุการตายของคนไทยเป็นอันดับหนึ่งมากว่าสิบปี โดยในปี 56 มีผู้เสียชีวิตจากสารเคมี 67,184 ราย หรือวันละ 190 คน ชั่วโมงละ 8 คน เทียบกับเครื่องบินขนาดผู้โดยสาร 300 คนตก 215 ลำต่อปี และสารเคมีดังกล่าวยังก่อให้เกิดโรคออติสซึม ส่วนพาราควอตทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง สำหรับสารไกลฟอเซตทำให้เกิดโรคต่อมไทรอยด์ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ ส่วนคลอร์ไพริฟอส ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า สมาธิสั้น ด้าน น.ส.วรางคณา อินทโลหิต ทันตแพทย์สาธารณสุข จังหวัดหนองบัวลำภู เผยว่า เกษตรกรในพื้นที่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช สูงถึง 1,178,130 ลิตรต่อปี เป็นการใช้ความเข้มข้นสูงกว่าที่กำหนด 4 เท่า ก่อให้เกิดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมทั้งบนดินและใต้ดินระดับสูงถึงสูงมาก และพบอัตราการป่วยโรคเนื้อเน่าสูงในช่วงที่ใช้สารเคมี โดยเฉพาะเดือน ก.ค.ของแต่ละปี พบการตกค้างพาราควอตระดับอันตรายในระดับน้ำผิวดิน น้ำบาดาล น้ำประปา ดิน ผัก และพบระดับไม่ปลอดภัยในปลา ทั้งนี้ นักวิชาการทั้งหมดเสนอตรงกันว่า ถึงเวลาที่หน่วยงานทีเกี่ยวข้องควรจะส่งเสริมการทำเกษตรแบบอินทรีย์ เช่น การกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารฆ่าวัชพืช และควรมีมาตรการเชิงนโยบายโดยประกาศให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ ไม่สนับสนุนการใช้สารพิษในการผลิตอาหาร เป็นต้น Manager online 26.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร