Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ลุ้นต่อยอด! เทคนิคฟื้นฟูดิน ม.นเรศวรเจ๋ง! ผู้ว่าฯ สั่งล้าง 3 สารพิษเกษตรให้ชุมชน  

นักวิจัยม.นเรศวรปลื้มผู้ว่าฯ ตากและเลยชวนช่วยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ขอใช้เทคนิคฟื้นฟูดินจากสารปนเปื้อนอันตราย คาดอีก 2-3 เดือนรู้ผลล้างสารกำจัดศัตรูพืชอันตรายโดยเฉพาะพาราควอตได้จริงหรือไม่ หลังจากประสบความสำเร็จในการคิดค้นกระบวนการฟื้นฟูดินด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นและทดสอบในพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนได้ผลเป็นครั้งแรกของโลก และฝึกให้ชาวนาสามารถฟื้นฟูการปนเปื้อนได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ยั่งยืนที่สุดและรวดเร็วที่สุด จนได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2561 ล่าสุด งานวิจัย “การใช้โฟมที่ปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดิน” ภายใต้การสนับสนุนทุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดังกล่าว มีการนำไปขยายผลต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากหน่วยงานต่างๆ นับเป็นความสำเร็จที่น่าปลื้มใจของทีมวิจัย ซึ่งนำโดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของผลงานวิจัย เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.ธนพล ได้เข้าพบนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ในการหารือแนวทางการผลักดันการล้างดินเพื่อกำจัดแคดเมียมออกจากนาข้าวของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ใน 3 ตำบลของอำเภอแม่สอด ประมาณ 13,000 ไร่ แบบเต็มพื้นที่ ขณะนี้มีชาวบ้านตอบรับเข้าร่วมโครงการแล้วประมาณ 30 คน และเสนอให้ใช้เงินกองทุนประกันความเสี่ยงจากผู้สร้างผลกระทบ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตากได้รับปากให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยให้ทำเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล ทำแปลงสาธิตโชว์ระดับประเทศเป็นการนำร่อง รวมถึงให้เสนอแผนการตลาดซึ่งทางเกษตรอำเภอจะร่วมสนับสนุน นอกจากนี้ ยังขอให้ ผศ.ดร.ธนพล ต่อยอดเทคนิคการล้างดินแบบแม่เหล็กเพื่อขยายผลสู่การล้างและสลายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เพราะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก แม้จะเลิกใช้สารเหล่านี้แล้ว แต่ยังมีการตกค้างในดินซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่าจะย่อยสลาย ยกตัวอย่าง พื้นที่การเกษตรและในแหล่งน้ำที่ลำพูนและลำปางมากกว่าร้อยละ 80 ของตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์และตกค้างในดิน มีความเข้มข้นสูงสุด 25.1 มก./กก. ด้วยค่าครึ่งชีวิตของพาราควอตยาวนานถึง 1,104 ชั่วโมง การรอให้ธรรมชาติบำบัดให้พาราควอตกลับคืนสู่ระดับตรวจไม่พบ (0.05 มก./กก.) จะต้องใช้เวลานานถึง 412 วัน ซึ่งหากไม่ล้างและสลายสารปนเปื้อนออกจากดิน เกษตรกรจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากลได้ ขณะที่ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เชิญ ผศ.ดร.ธนพลเข้าร่วมประชุมในเวทีระดับจังหวัดกับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีกว่า 100 คน เพื่อหาทางฟื้นฟูดินตามคำสั่งศาลในเขตอำเภอวังสะพุง ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวที่ปนเปื้อนสารหนูจากการทำเหมืองทอง โดยใช้ความสำเร็จจากพื้นที่นาข้าวที่แม่สอดที่ใช้เทคนิคการล้างดินของทีมวิจัยแทนการว่าจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากเกษตรกรเพราะอยากดำเนินการด้วยตัวเอง และจะนัดหารือการทำแผนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในเร็วๆ นี้ ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยและการสาธิตการฟื้นฟูดินจากสารปนเปื้อนในงานมอบรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น ประจำปี 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หรือ สกว.เดิม ได้รับรางวัลกองทุนหมุนเวียนเกียรติยศ โดยแสดงความสนใจอย่างมากและซักถามถึงศักยภาพการล้างดินด้วยเทคนิคดังกล่าว ซึ่งนักวิจัยยืนยันว่ามีประสิทธิภาพได้ผลจริง ชาวบ้านสามารถทำได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ผงเหล็กประจุศูนย์ที่ใช้ในเทคนิคดังกล่าวเป็นของที่มีในประเทศในปริมาณมาก ด้วยเป็นของเหลือใช้จากกระบวนการอุตสาหกรรมทำให้การขยายผลของงานวิจัยนี้ทำได้ในทันที Manager online 30.09.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร