Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

3 นักเศรษฐศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องความยากจน คว้ารางวัลโนเบลประจำปีนี้  

เอพี/เอเอฟพี – 3 นักวิจัยสัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2019 ร่วมกันเมื่อวันจันทร์ (14 ต.ค.) จากผลงานบุกเบิกในการศึกษาว่าอะไรที่ใช้ได้ผลและอะไรที่ใช้ไม่ได้ผลในการต่อสู้เพื่อลดความยากจนในทั่วโลก ผู้ชนะได้รางวัลในปีนี้ คือ อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee) กับ เอสเธอร์ ดูโฟล (Esther Duflo) ศาสตราจารย์ 2 สามีภรรยาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และ ไมเคิล เครเมอร์ (Michael Kremer) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ดูโฟล ซึ่งเกิดที่ฝรั่งเศส ปัจจุบันอายุ 46 ปี ทำให้กลายเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดซึ่งได้รับรางวัลสาขานี้ รวมทั้งยังเป็นผู้หญิงคนที่ 2 ที่ชนะ โดยคนแรกคือ เอลินอร์ ออสตรอม เมื่อปี 2009 ทั้ง 3 คนซึ่งทำงานร่วมกันอยู่ เป็นผู้ปฏิวัติแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ ด้วยการบุกเบิกการทดลองภาคสนามซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งในทางปฏิบัติว่าผู้คนที่ยากจนมีการตอบสนองอย่างไรต่อเรื่องการศึกษา, การดูแลรักษาสุขภาพ, และโปรแกรมอื่นๆ ซึ่งมุ่งหมายที่จะยกระดับพวกเขาให้ก้าวพ้นจากภาวะยากจน “ผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้นำเอากระบวนวิธีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อให้ได้คำตอบต่างๆ ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับวิธีการซึ่งดีที่สุดในการต่อสู้กับความยากจนในทั่วโลก” คณะกรรมการตัดสินของราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์ของสวีเดนระบุในประกาศผลการตัดสิน ขณะที่ ดูโฟล กล่าวในการแถลงข่าวผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ซึ่งจัดโดยทางราชบัณฑิตยสภา ชี้ถึงความสำคัญของการวิจัยภาคสนามว่า “หากไม่มีการใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการทำความเข้าใจความสลับซับซ้อนของชีวิตของคนยากจน และทำไมพวกเขาจึงได้เลือกอย่างที่พวกเขาเลือกแล้ว ... มันก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะออกแบบวางแผนกระบวนวิธีที่ถูกต้องขึ้นมาได้” ตัวอย่างเช่น ผลงานการศึกษาของพวกเขาในเขตชนบทที่เคนยา และที่อินเดีย พบว่า การจัดหาหนังสือแบบเรียน, เลี้ยงอาหารกลางวันในโรงเรียน, ตลอดจนหาครูมาสอนเพิ่มมากขึ้นนั้น ไม่ได้ช่วยให้นักเรียนมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นสักเท่าใดเลย การทำให้งานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ มีความสอดคล้องกับตัวนักเรียนมากยิ่งขึ้น, การทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักเรียนผู้มีความจำเป็นมากที่สุด, การทำให้ครูต้องมีความรับผิดชอบชนิดที่อาจถูกไล่เรียงเอาผิดได้ --ตัวอย่างเช่น ด้วยการทำสัญญาจ้างพวกเขาเพียงแค่ระยะสั้น—กลับมีประสิทธิภาพมากกว่าในหมู่ประเทศซึ่งบ่อยครั้งทีเดียวที่พวกครูไม่แยแสในการไปปรากฏตัวเพื่อทำงาน โดยที่ประกาศของทางราชบัณฑิตยสภาระบุว่าผู้ได้รับรางวัลปีนี้ได้เสนอแนะให้ใช้โปรแกรมครูติวเตอร์เพื่อมุ่งปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเวลานี้กำลังให้ประโยชน์แก่เด็กๆ ชาวอินเดียราว 5 ล้านคนทีเดียว เครเมอร์และผู้ร่วมวิจัยคนอื่นๆ พบว่า การให้บริการดูแลรักษาสุขภาพแบบฟรีๆ สามารถที่จะสร้างความแตกต่างได้อย่างใหญ่โต กล่าวคือ มีผู้ปกครองเพียงแค่ 18% เท่านั้นที่ให้ลูกหลานของพวกตนกินยาถ่ายพยาธิ ถ้าหากพวกเขาต้องจ่ายเงินค่ายาเหล่านี้ ถึงแม้มันจะได้รับการอุดหนุนจนกระทั่งมีราคาถูกมาก นั่นคือไม่ถึง 1 ดอลลาร์ แต่ปรากฏว่า 75% ทีเดียวที่หายามาให้ลูกหลานได้กินถ้าหากว่าได้มาฟรีๆ ทั้งนี้เวลานี้องค์การอนามัยโลกก็มีข้อเสนอแนะ ให้จ่ายยาฟรีในพวกพื้นที่ซึ่งโรคเนื่องจากพยาธิ มีการระบาดในอัตราสูง บาเนอร์จี, ดูโฟล, และผู้ร่วมวิจัยคนอื่นๆ พบว่าคลินิกให้วัคซีนในลักษณะคลินิกเคลื่อนที่ในอินเดีย สามารถเพิ่มอัตราการมีภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างมากมายน่าตื่นใจ เมื่อเปรียบเทียบกับการมีแค่ศูนย์สาธารณสุขแบบดั้งเดิมซึ่งบ่อยครั้งมักอยู่ในภาวะขาดแคลนบุคลากร นอกจากนั้น อัตราการมีภูมิคุ้มกันจะยิ่งเพิ่มขึ้นไปอีก ถ้าพวกผู้ปกครองได้รับถั่ว 1 ถุงเป็นโบนัสสำหรับการนำลูกหลานของพวกเขามารับวัคซีน บาเนอร์จี กับ ดูโฟล ยังพบว่าพวกโปรแกรมให้สินเชื่อแบบไมโครเครดิต ซึ่งปล่อยเงินกู้จำนวนไม่มากที่มุ่งกระตุ้นส่งเสริมคนยากจนให้เริ่มต้นธุรกิจ แทบไม่ได้มีผลในทางช่วยเหลือคนยากจนในเมืองไฮเดอราบัดของอินเดียเลย และการศึกษาซึ่งกระทำในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา, เอธิโอเปีย, โมร็อกโก, เม็กซิโก, และมองโกเลีย ก็แสดงผลลัพธ์ในทำนองเดียวกันนี้ ถึงแม้มีความก้าวหน้าไปอย่างมหาศาลก็ตามที แต่ปัญหาความยากจนของโลกก็ยังคงเป็นความท้าทายที่ใหญ่โต ราชบัณฑิตสภาสวีเดนระบุ โดยชี้ว่าเวลานี้ยังคงมีผู้คนกว่า 700 ล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพที่ยากจนสุดขีด เด็กๆ 5 ล้านคนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 5 ขวบ บ่อยครั้งจากโรคต่างๆ ซึ่งสามารถที่จะป้องกันหรือรักษาได้อย่างง่ายๆ และด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง เด็กๆ ราวครึ่งหนึ่งของโลกออกจากโรงเรียนโดยไม่ได้รู้หนังสือในระดับพื้นฐาน หรือมีทักษะทางคณิตศาสตร์ในระดับพื้นฐาน บาเนอร์จี ซึ่งเกิดที่อินเดีย ยังคงเดินทางกลับบ้านเกิดบ่อยๆ เพื่อร่วมสร้างผลงานให้แก่ศูนย์วิจัยระหว่างประเทศที่ใช้ชื่อว่า Poverty Action Lab (ห้องแล็ปปฏิบัติการด้านความยากจน) ซึ่งเขากับดูโฟลร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาในปี 2003 Manager online 15.10.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร