Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เครื่องเอกซเรย์ฝีมือคนไทย ความหวังผู้ป่วยห่างไกล  

“เครื่องเอกซเรย์” ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญ ในการเป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยภายในร่างกายของผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่มีเครื่องเอกซเรย์สำหรับไว้ใช้งาน ผู้ป่วยต้องเสียเวลาเดินทางมารักษา และเป็นภาระหนักของคนไข้ที่อยู่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เล็งเห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการใช้เครื่องเอกซเรย์ในการรักษา และความยากลำบากในการเข้าถึงเครื่องเอกซเรย์ของผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล จึงได้ทำโครงการวิจัยประดิษฐ์ “เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบรังสีทรงกรวย” ขึ้น เพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำในการใช้เครื่องเอกซเรย์ในการรักษา และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องเอกซเรย์จากต่างประเทศ ศ.ดร.ไพรัช กล่าวว่า ทำโครงการวิจัยประดิษฐ์ “เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบรังสีทรงกรวย” ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ มาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีผู้ร่วมวิจัยคือ ดร.เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี นักวิจัยอาวุโส สวทช. เป็นหัวหน้านักวิจัยระบบซอฟท์แวร์ และ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป นักวิจัยอาวุโส สวทช. เป็นหัวหน้านักวิจัยระบบฮาร์ดแวร์ และคณะวิจัยรวมทั้งสิ้น 19 คน ในช่วงแรกของโครงการนั้น ดำเนินงานเริ่มจากการวิจัยและประดิษฐ์เครื่องเอกซเรย์ในด้านทันตกรรมเป็นอันดับแรก โดยเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำรังสีทรงกรวย โดยรังสีเอกซ์จะถูกฉายหลอดเอกซเรย์ ทะลุผ่านอวัยวะของผู้ป่วยที่ทำการตรวจ เข้ามายังอุปกรณ์รับรังสี และคำนวณด้วยระบบคอมพิมพ์เตอร์และสร้างภาพการวินิจฉัยแบบสามมิติ ที่มีรายละเอียดโครงสร้างอวัยวะของผู้ป่วยที่ชัดเจน การวิจัยและพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำรังสีทรงกรวย ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สร้างเครื่องมือเอกซเรย์ได้สำเร็จเป็นรายแรกที่สร้างโดยฝีมือนักวิจัยไทย และผลิตในประเทศไทย โดยได้ประดิษฐ์ออกสามลักษณะ คือ “เครื่องเดนตีสแกน” (DentiiScan) เน้นงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า , “เครื่องโมบีสแกน” (MobiiScan) เน้นการแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ สามารถเคลื่อนย้ายได้ และ “เครื่องมินีสแกน” (MiniiScan) เน้นการตรวจหาขอบเขตทางรังสีของก้อนเนื้อเต้านมในห้องผ่าตัด เครื่องเอกซเรย์ทั้งสามแบบนั้นได้รับการทดสอบคุณภาพของภาพด้วยมาตรฐาน แฟนทอม (Phantom) ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสีตามหลักสากล และได้รับรองมาตรฐานสากล ISO 13485 (ระบบการบริหารจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์) และนำเครื่องเอกซเรย์ไปใช้งานจริงกับผู้ป่วย โดยกระจายไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี “เครื่องเดนตีสแกนนั้น ใช้สแกนใบหน้าตั้งแต่บริเวณดวงตาและช่องปาก โดยส่วนมากจะใช้ในงานทันตกรรม เช่น การทำรากฟันเทียม, การฝ่าตัดฟันคุด และยังสามารถใช้วินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ขากรรไกรหักเนื่องจากอุบัติเหตุ, มะเร็งกรามช้าง และไซนัสอักเสบ เครื่องนี้ได้ผลตอบรับจากผู้ใช้งานว่าภาพวินิจฉัยแบบสามมิตินั้นมีรายละเอียดโครงสร้างอวัยวะของผู้ป่วยที่ชัดเจน เช่น กรณีผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกร รูปสแกนที่ได้จากเครื่องเอกซเรย์แบบสามมิติ จะเห็นโครงสร้างอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างชัดเจน ภาพไม่ทับซ้อนเหมือนแบบสองมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจและรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุดและถูกวิธี ย่นระยะเวลาในการรักษาได้อย่างมาก” ศ.ดร.ไพรัช กล่าวเสริม สำหรับ “เครื่องโมบีสแกน” จะช่วยงานในด้านการศัลยกรรมเพื่อแก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รวมทั้งผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ และยังสามารถสแกนอวัยวะอื่นๆ นอกจากกะโหลกศีรษะได้อีกด้วย เช่น มือ แขน เท้า ที่สามารถวางบนเครื่องเอกซเรย์ได้โดยไม่ติดขัด และ “เครื่องมินีสแกน” ก็จะช่วยวินิจฉัยก้อนเนื้อมะเร็ง ซึ่งเครื่องนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยก้อนเนื้อได้เลยในห้องผ่าตัด ช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัดและการดมยาสลบของผู้ป่วย ส่งผลให้การผ่าตัดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องรอผลวินิจฉัยและผ่าตัดเพื่อรักษาซ้ำอีก และช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยได้ ด้วยความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ป่วย และช่วยลดการเหลื่อมล้ำในการใช้เครื่องมือเพื่อรักษา และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงของผู้ป่วยที่มีงบน้อยและอยู่ห่างไกลความเจริญ อีกทั้งยังลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ประหยัดเงินงบประมาณในด้านการแพทย์ให้กับประเทศ จึงทำให้ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ และคณะนักวิจัยในโครงการวิจัย “เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบรังสีทรงกรวย” ได้รับรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น 2562” จากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดีต่อนักเทคโนโลยีไทยที่สร้างผลงานด้านการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี Manager online 24.10.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร