Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ปะการังในฮาวายเริ่มกัดขาวเพราะน้ำทะเลอุ่นขึ้นรอบใหม่   

Jamison Gove นักสมุทรศาสตร์วิทยาแห่งสถาบันสมุทรศาสตร์วิทยาเเละชั้นบรรยากาศโลกเเห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) กล่าวว่า ในปี 2015 ฮาวายเจอกับภาวะน้ำทะเลอุ่นขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เขาบอกว่าที่สำคัญที่สุด อุณหภูมิของน้ำทะเลในฮาวายที่ร้อนขึ้นในปีนี้สูงกว่าในปีค.ศ. 2015 ทีมนักวิจัยซึ่งใช้อุปกรณ์ไฮเทคในการเฝ้าดูแนวปะการังของฮาวาย พบสัญญาณระยะเริ่มต้นของภาวะกัดขาวของปะการังในบริเวณ Papa Bay เเละในจุดอื่น ๆ ซึ่งมีต้นเหตุจากคลื่นน้ำทะเลอุ่นขึ้น และมีการพยากรณ์ว่า น้ำทะเลในมหาสมุทรเเปซิฟิกทางเหนือจะยังส่งคลื่นความร้อนไปยังบริเวณน่านน้ำของเกาะฮาวายต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม Gove กล่าวว่า อุณหภูมิของน้ำทะเลได้เพิ่มสูงมาเป็นระยะเวลานาน ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงเเค่ว่าน้ำทะเลอุ่นขึ้นเท่าใดเท่านั้น เเต่น้ำทะเลจะคงความอุ่นไปนานเเค่ไหน แนวปะการังทั่วโลกมีความสำคัญมากเพราะนอกจากจะเป็นแหล่งที่อยู่ของปลาเเล้ว ยังเป็น แหล่งอาหารเเละยาของมนุษย์อีกด้วย แนวปะการังยังทำหน้าที่เป็นแนวกั้นตามธรรมชาติเเก่แนวชายฝั่งที่ช่วยลดเเรงกระแทกของคลื่นทะเล เเละช่วยปกป้องแนวชายฝั่งที่มีคนอาศัยอยู่หนาเเน่นจากคลื่นทะเลที่สูงขึ้นในช่วงที่เกิดพายุเฮอร์ริเคน ในฮาวาย แนวปะการังยังมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจอีกด้วย ธุรกิจการท่องเที่ยวเติบโตเนื่องจากเเนวปะการังช่วยสร้างเเละปกป้องชายหาดที่สวยงามเเละขึ้นชื่อของฮาวาย มีจุดดำน้ำดูปลาเเละกีฬาดำน้ำ เเละยังช่วยสร้างคลื่นที่ดึงดูดนักเล่นกระดานโต้คลื่นจากทั่วโลกให้ไปเที่ยวฮาวาย อย่างไรก็ตาม Gove ย้ำว่าอุณหภูมิของน้ำทะเลไม่ได้อุ่นขึ้นไปทั่วทั้งรัฐฮาวาย เขากล่าวว่าทิศทางลม กระเเสน้ำทะเล เเละเเม้เเต่ลักษณะต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ บนแผ่นดินล้วนมีผลต่อการเกิดคลื่นความร้อนจุดต่าง ๆ ในทะเล Gove กล่าวว่า ภูเขาไฟลูกใหญ่สองลูกบนเกาะ Big Island ที่กันลมพัดผ่าน ทำให้ฝั่งตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของ Papa Bay กลายเป็นจุดที่ร้อนที่สุดจุดหนึ่งของรัฐ เเละเป็นจุดที่เกิดภาวะปะการังกัดขาวมากที่สุดจุดหนึ่ง เขาบอกว่า ในบริเวณอ่าวเเห่งนี้เกิดภาวะกัดขาวกับปะการังเกือบทุกสายพันธุ์ เเละปะการังเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะกัดขาวเมื่อ 4 ปีเเล้ว เเละอาจทนทานต่อคลื่นน้ำทะเลร้อนครั้งใหม่ได้ไม่ดีนัก ทาง NOAA ชี้ว่า คลื่นน้ำร้อนในทะเลเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน รวมทั้งสภาพที่อากาศมีความดันต่ำเป็นเวลานาน ระหว่างฮาวายกับอลาสก้าที่ทำให้ความเเรงของลมอ่อนลง ซึ่งทำให้อุณหภูมิบนผิวหน้าน้ำทะเลทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกทางเหนืออุ่นขึ้น สำหรับปะการัง น้ำทะเลร้อนสร้างความเครียดเเก่ปะการัง เเละหากเรื้อรังต่อไปก็จะทำให้ปะการังตายลง ซึ่งจะทำให้เเนวปะการังล่มสลาย Greg Asner นักนิเวศวิทยาเเละผู้อำนวยการของ Center for Global Discovery and Conservation Science มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซน่า กล่าวว่า ปะการังเกือบทุกสายพันธุ์ที่ทีมงานได้เฝ้าติดตามดู เกิดภาวะกัดขาวบางส่วน เขาเเละทีมงานได้ดำน้ำลงไปสำรวจปะการังในอ่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ Asner กล่าวว่า ตัวเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เเสดงให้เห็นว่า น้ำในอ่าวนี้อุ่นขึ้นกว่าอุณหภูมิปกติ ในช่วงนี้ของปีประมาณ 3.5 องศาฟาเรนไฮท์ เขากล่าวว่า หลังภาวะคลื่นน้ำร้อนในทะเลยุติลง ทีมงานจะรู้ชัดเจนมากขึ้นว่าต้องวางแผนฟื้นฟูปะการังในจุดใดบ้าง Voice of America 28.10.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร