Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

รียูสแก้ว zero–waste “เพาะชำกล้าไม้” ลดขยะพลาสติกสองเด้ง!!  

แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ หรือ zero-waste cup จากโครงการ Chula Zero Waste จุฬาฯ ร่วมกับกรมป่าไม้ นำไปทดสอบใช้ซ้ำ (Reuse) “เพาะชำกล้าไม้” เป็นการนำแก้วชนิดนี้ที่ใช้แล้ว (ทิ้งเป็นขยะ) กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง จึงถือว่าเป็นแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเมื่อช่วยต่ออายุให้กับผลิตภัณฑ์ แถมยังลดขยะพลาสติกได้เป็นครั้งที่สอง โครงการทดสอบแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพสำหรับการเพาะชำกล้าไม้ ทางโครงการจะนำแก้วที่ใช้แล้ว หรือแก้วที่ถูกทิ้งเป็นขยะจากโรงอาหารของจุฬาฯ กลับมาใช้ซ้ำสำหรับใช้เพาะกล้าต้นไม้ที่จะนำปลูกในป่าแทนการใช้ถุงดำพลาสติก นอกจากเป็นวิธีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ยังช่วยกำจัดขยะแบบครบวงจร หมายความว่า คนใช้แก้ว zero-waste ย่อมช่วยลดขยะแก้วพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งที่ยากต่อกำจัด โดยเฉพาะหากหลุดลอดเป็นขยะทะเลก็เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ และเมื่อนำแก้วนี้มารียูส เพาะชำกล้าไม้ ยังลดขยะพลาสติกถุงดำที่ใช้เพาะกล้าไม้ได้เป็นต่อที่สอง ปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้ ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการผลิตกล้าไม้คุณภาพดีและสนับสนุนการปลูกต้นไม้ แต่ละปีมีการใช้ถุงพลาสติกปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่า 30 ล้านต้น ที่ผ่านมากรมป่าไม้ได้มองหาแนวทางในการลดการใช้ถุงพลาสติกดังกล่าว ดังนั้นการขอรับแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพหรือ zero-waste cup ที่ผ่านการใช้งานแล้วจากจุฬาฯ มาทดสอบการย่อยสลายในดิน สำหรับนำไปใช้เพาะชำกล้าไม้แทนถุงพลาสติก จึงเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรู้สึกหวงแหนธรรมชาติอีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสริมว่า จุฬาฯ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอย จึงจัดตั้งโครงการ Chula Zero Waste เพื่อป้องกันหรือลดขยะตั้งแต่ต้นทางด้วยหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ทำให้ในปัจจุบันโรงอาหารภายในจุฬาฯ กว่า 17 แห่ง เปลี่ยนมาใช้แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ หรือ zero-waste cup ที่ย่อยสลายได้ทั้งหมดภายใน 4-6 เดือน โดยนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี จึงหวังว่าที่นี่จะเป็นโมเดลเพื่อให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ หรือหน่วยงานใดก็ตามได้นำโครงการนี้ไปใช้งานต่อ โดยเฉพาะกรมป่าไม้ที่ยังต้องการใช้แก้วนี้สำหรับเพาะชำกล้าไม้อีกเป็นจำนวนมาก ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ หรือ PETROMAT กล่าวถึงผลการทดลองใช้แก้ว zero-waste ของจุฬาฯ ว่า มีการทดลองใช้โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับแรก เป็นการใช้เพื่อทดแทนพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งผู้บริโภคเครื่องดื่มส่วนใหญ่ใช้แล้วทิ้งเป็นขยะอยู่ภายในรั้วจุฬาซึ่งมีระบบการคัดแยกขยะที่ดี สะดวกต่อการจัดเก็บเพื่อนำไปบด ฝังกลบกับดินร่วมกับขยะอินทรีย์อื่นๆ ซึ่งจะกลายเป็นสารปรับปรุงดิน หรือปุ๋ยใช้ภายในมหาวิทยาลัยต่อไป ตอนนี้เริ่มมาได้ 15 เดือน ใช้แก้วไปแล้วประมาณ 230,000 ใบ ส่วนระดับที่ 2 ที่จุฬาฯ ร่วมกับกรมป่าไม้ แทนที่จะเอาไปฝังกลบเป็นปุ๋ย เราก็เอาไปเพาะต้นกล้า จากเดิมที่เคยใช้ถุงพลาสติกก็จะใช้แก้วนี้แทน ก่อนหน้าความร่วมมือในครั้งนี้ จุฬาฯ ได้ทดลองใช้แก้วนี้เพาะต้นกล้าไม้ภายในจุฬาฯ มาก่อนหน้าราว 6 เดือน ซึ่งได้ผลดี คือเราสามารถปลูกต้นกล้าได้โดยไม่ต้องเอาแก้วออกให้เหลือเป็นขยะเหมือนถุงพลาสติก เพราะแก้วย่อยสลายได้ จึงง่าย และสะดวกกว่าแบบเดิม ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเนื่องจากเป็นการนำแก้วที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาดูงานที่จุฬา แล้วนำเอาโมเดลนี้ไปใช้ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ยังคงใช้ในวงจำกัด ขอบเขตเล็กกว่าที่เราทำในจุฬา เนื่องจากไม่ใช่แค่การนำแก้วไปใช้ได้เลยทันที แต่จะต้องมีระบบจัดการขยะที่ดี มีการคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ไม่ใช่ทิ้งปะปนกับขยะทั่วไปซึ่งจะทำให้ยุ่งยากต่อการนำไปใช้เป็นครั้งที่สอง ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงต่อยอดการนำแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพที่ใช้แล้ว ซึ่งย่อยสลายได้ในดิน ไปใช้ทดสอบเพาะชำกล้าไม้ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และผลักดันการกำจัดขยะในรั้วจุฬาฯ อย่างครบวงจร Manager online 2.10.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร