Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่าหมื่นคน ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ”  

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่าหมื่นคน ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ” – BBCไทย บรรดานักวิทยาศาสตร์จาก 153 ประเทศทั่วโลก จำนวนกว่า 11,000 คน ร่วมกันลงนามสนับสนุนรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกฉบับล่าสุด รวมทั้งออกแถลงการณ์ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ” (Climate emergency) เหล่านักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายสาขาวิชาชี้ว่า มนุษยชาติจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากชนิดที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงชะตากรรมนี้ได้ หากผู้คนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สร้างก๊าซเรือนกระจก หรือละเลิกกิจกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างถอนรากถอนโคนแบบถาวร รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกฉบับดังกล่าว ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Bioscience เป็นที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศในครั้งนี้ โดยรายงานได้รวบรวมข้อมูลการวิจัยที่ยาวนานกว่า 40 ปี ซึ่งครอบคลุมตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่กว้างขวางและหลากหลาย ตั้งแต่อัตราการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล, ปริมาณการบริโภคเนื้อ, อัตราการเจริญพันธุ์และการเติบโตของประชากรโลก, อัตราการแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า, ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลก อัตราการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ไปจนถึงตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างสุดขั้ว ดร. โทมัส นิวซัม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ของออสเตรเลีย หนึ่งในแกนนำของกลุ่มผู้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศบอกว่า “นักวิทยาศาสตร์มีความรับผิดชอบทางศีลธรรม ในแง่ที่จะต้องเป็นผู้ออกมากระตุ้นเตือนให้มนุษยชาติตระหนักถึงภัยอันใหญ่หลวง” “จากข้อมูลที่เรามีอยู่นั้น ชัดเจนว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ หากมนุษย์ไม่เร่งแก้ไข มีความเป็นไปได้สูงว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่าที่เคยพบเจอกันมาอย่างมาก เช่นบางพื้นที่ของโลกอาจไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป” ดร. นิวซัมกล่าว รายงานฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลที่เห็นภาพชัดเจน เพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และสาธารณชน ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ที่ภัยด้านสิ่งแวดล้อมกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วทุกขณะ แต่กลับถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังมานานหลายสิบปี โลกต้องหยุดยั้งการทำลายป่าไม้ หากประเทศต่าง ๆ จริงจังกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศมากพอ อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ระบุในรายงานข้างต้นด้วยว่า มีมาตรการ 6 ด้านที่ผู้คนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที เพื่อชะลอและหยุดยั้งผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 1) ด้านพลังงาน ควรใช้นโยบายอนุรักษ์แหล่งพลังงานและประหยัดพลังงานในระดับมหภาค ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หันมาใช้พลังงานทดแทนที่ยั่งยืน ยกเลิกนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันหรือนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล คิดค่าการปล่อยคาร์บอนให้สูงพอที่ธุรกิจต่าง ๆ จะหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 2) ด้านสารก่อมลพิษระยะสั้น ควรลดการใช้และปล่อยมีเทน, สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, รวมทั้งเขม่าควันต่าง ๆ เนื่องจากอาจจะช่วยลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าลงได้ถึง 50% 3) ด้านธรรมชาติ ควรหยุดยั้งการแผ้วถางพื้นที่ป่า อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศเช่นป่าไม้ ทุ่งหญ้า หรือป่าโกงกาง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก 4) ด้านอาหาร ควรบริโภคพืชผักให้มากขึ้นและลดผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ลง ซึ่งจะช่วยตัดลดการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ รวมทั้งลดการแผ้วถางพื้นที่ป่าเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์ด้วย รายงานระบุว่า ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะต้องได้รับการแก้ไขด้วย 5) ด้านเศรษฐกิจ ควรยกเลิกแผนการที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก เปลี่ยนทิศทางนโยบายที่มุ่งแสวงหาแต่ความมั่งคั่งและเพิ่มตัวเลขจีดีพีด้วยการทำลายทรัพยากร มาเป็นนโยบายที่คำนึงถึงความยั่งยืนของ “ชีวมณฑล” ในระยะยาวแทน 6) ด้านประชากร ควรจำกัดจำนวนประชากรโลกให้อยู่ในระดับคงที่และเหมาะสม โดยใช้วิธีการที่มีความยุติธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากในปัจจุบันมีประชากรเกิดใหม่เพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 แสนคนต่อวัน Khaosod online 6.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร