Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โรงแรม Go Green เปลี่ยนอากาศร้อนเป็นน้ำอุ่นไม่เปลืองพลังงาน  

ความสะดวกสบายไม่ต้องแลกมาด้วยทุนสิ่งแวดล้อมเสมอไป เมื่อรู้จักใช้นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ เหมือน "โรงแรมอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา" ที่ให้บริการน้ำอุ่น โดยที่ประหยัดพลังงานลงถึง 80% อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการโรงแรม อ่าวนางปรินซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ทางโรงแรมได้นำระบบน้ำร้อนที่ใช้แก๊สต้มแบบระบบฮีทปั๊ม (Heat Pump) มาใช้แทนระบบทำน้ำร้อนแบบเดิม ผลคือใช้พลังงานลดลงถึง 80% และยังลดค่าพลังงานแก๊สจากเดือนละ 20,000 บาท เหลือไม่ถึง 10,000 บาท นอกจากนี้ ทางโรงแรมยังใช้ระบบทำความเย็นแบบ VRF (Variable Refrigerant Flow) ที่เป็นปรับอากาศทั้งอาคาร และใช้พลังงานตามปริมาณการใช้งานของแขกที่เข้าพัก แทนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทุกห้อง ซึ่งทั้งระบบทำน้ำอุ่นและทำความเย็นแบบนี้ ช่วยให้ทางโรงแรมลดค่าไฟฟ้าจากเดือนละไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท เหลือประมาณ 160,000-170,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 15-20% โดยที่ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้าห้องพักว่าสามารถให้บริการน้ำร้อนและห้องปรับอากาศได้อย่างดีสม่ำเสมอ สำหรับระบบน้ำร้อนที่ใช้แก๊สต้มแบบระบบฮีทปั๊มนี้เป็นผลงานของบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านประหยัดพลังงาน ซึ่งได้รับการจับคู่นวัตกรรม (Innovation Matching) กับ โรงแรม อ่าวนางปรินซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.กระบี่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากการสนับสนุนของศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) "เดิมเราใช้ระบบน้ำร้อนที่ต้มด้วยแก๊ส ซึ่งมีความเสี่ยงมาก และมีห้องต้มน้ำ 2 อาคาร จนกระทั่งได้รู้จักระบบฮีทปั๊ม ซึ่งประทับใจมาก เพราะปกติห้องทำน้ำร้อนจะร้อนมาก แต่ระบบใหม่นี้ทำให้ห้องเย็นเหมือนติดแอร์ เพราะมีการถ่ายเทเอาพลังงานความร้อนไปผลิตน้ำอุ่น" อิทธิฤทธิ์ เจ้าของโรงแรมที่มีจำนวนห้องพัก 58 ห้องกล่าว อิทธิฤทธิ์เสริมอีกว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นต้องเริ่มแก้ไขจากตัวเองก่อน ซึ่งพนักงานทุกคนของโรงแรมต้องรู้และตระหนักในเรื่องนี้เหมือนกัน โดยการทำธุรกิจโรงแรมตลอด 10 ปีที่ผ่านมานั้น ทางโรงแรมไม่ถมที่ปรับระดับและไม่ตัดต้นไม้เลย อาศัยการออกแบบและสร้างอาคารเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้ที่มีอยู่เดิม และในทุกๆ วันจันทร์ พุธ และศุกร์ พนักงานโรงแรมจะช่วยกันทำความสะอาดชายหาด เก็บขยะพลาสติกและลงพื้นที่ชุมชนให้ความรู้ ในส่วนของการทำงานของระบบฮีทปั๊มนั้น อัจฉรา ปู่มี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า ระบบฮีทปั๊มจะนำอากาศร้อนรอบๆ มาผลิตน้ำร้อน หลักการคล้ายการทำงานของเครื่องปรับอากาศทำความเย็น แต่ทำงานกลับด้านกัน โดยฮีทปั๊มจะดึงอากาศร้อนรอบๆ เข้าไปบีบอัดในระบบให้ร้อนขึ้นแล้วถ่ายเทความร้อนให้แก่น้ำที่ไหลผ่านในระบบ ทำให้อากาศรอบๆ เครื่องทำน้ำอุ่นเย็นสบาย แตกต่างจากการใช้แก๊สต้มน้ำร้อน อัจฉรากล่าวว่า ระบบทำน้ำอุ่นแบบนี้เหมาะสำหรับประเทศในเขตร้อน เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศในแอฟริกา อินเดียใต้ ซึ่งนอกจากติดตั้งระบบให้กลุ่มโรงแรมในประเทศไทยแล้ว แพค คอร์ปอเรชั่นยังมีลูกค้าในต่างประเทศ โดยเมื่อเร็วๆ ยังได้ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นให้แก่โรงแรมในมัลดีฟด้วย จุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมนั้น อัจฉราเล่าว่า มาจากการต่อยอดธุรกิจจำหน่ายเครื่องปรับอากาศของบิดา โดยเล็งประโยชน์ของอากาศร้อนที่ถูกปล่อยทิ้งจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ แต่การเริ่มนวัตกรรมนี้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมยังไม่มากเท่าปัจจุบัน อีกทั้งปัจจัยบีบคั้นจากราคาพลังงานยังไม่สูงเท่าปัจจุบัน ทว่า ความไม่ย่อท้อและพัฒนานวัตกรรมอย่างเนื่อง ปัจจุบันทางบริษัทมีผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานแล้ว 8 ผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นจากเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับสระว่ายน้ำ เครื่องปรับอากาศจากพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นการเติบโตของธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะช่วง 2 ปีหลังนี้มียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อัจฉรากล่าวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านฮาร์ดแวร์คงจะเติบโตต่อไปไม่ได้มาก และมีแนวโน้มว่าคู่แข่งจะพัฒนาผลิตภัณฑ์มาแข่งขันทางด้านราคา จึงเริ่มให้ความสนใจการพัฒนาระบบควบคุมที่ช่วยให้ลูกค้าประเมินการใช้พลังงานในแต่ละส่วนได้ เช่น แขกโรงแรมในแต่ละห้องใช้พลังงานไปเท่าไร พลังงานถูกใช้มากที่ส่วนไหนและช่วงเวลาใด Manager online 7.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร