Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แห่งแรกในไทย!! คณะแพทย์รามาฯ ใช้ "เครื่องอัลตราซาวนด์พกพา" สอน นศ.เรียนกายวิภาค-ตรวจวินิจฉัย  

แห่งแรกในไทย!! คณะแพทย์รามาฯ หันใช้ "เครื่องอัลตราซาวนด์พกพา" สอน นศ.แพทย์ เรียนรู้กายวิภาค สรีระ พยาธิสภาพ นำไปใช้ตรวจรักษาได้ จัดสรร 2 คนต่อเครื่อง เริ่มปีการศึกษานี้ เผยได้รับมอบ 200 เครื่องจาก "กัลฟ์ เอเนอร์จี" รวมกว่า 12 ล้านบาท ช่วยนศ.เข้าถึงการเรียนอัลตราซาวนด์มากขึ้นในระดับบุคคล แทนการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ผ่านเครื่องขนาดยักษ์ วันนี้ (8 พ.ย.) ที่ห้องประชุม 910A-B อาารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในงานแถลงข่าวนวัตกรรมการเรียนการสอนทางการแพทย์ "Ultrasound พกพาชนิดไร้สายสำหรับนักศึกษาแพทย์ยุคดิจิทัล" และพิธีรับมอบเงินบริจาคเพื่อซื้อเครื่องอัลตราซาวนด์พกพาชนิดไร้สาย (Wireless) โดยนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอป เมนท์ จำกัด (มหาชน) และนางนลินี รัตนาวะดี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิพลังงานไทย ร่วมกันมอบเงินจำนวน 12 ล้านบาท ผ่าน ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการซื้อเครื่องอัลตราซาวนด์พกพา ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาการตรวจวินิจฉัยของแพทย์จะอาศัยการดูฟังเคาะคลำ รวมถึงสเตโทสโคปในการฟัง แต่ปัจจุบันมีความก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี ที่ทำให้เห็นภาพใต้ผิวหนังเข้าไปในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ หัวใจ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเครื่องมือในการตรวจเหล่านี้มีขนาดใหญ่และต้องทำในศูนย์อัลตราซาวนด์เท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้เครื่องมือเหล่านี้มีขนาดเล็กลง สามารถพกพาได้ แล้วสามารถเชื่อมต่อภาพผ่านทางบลูธูทมาออกหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตต่างๆ จึงไม่ต้องใช้จอหรือเครื่องมือขนาดใหญ่อีกต่อไป ส่งผลให้มีประโยชน์อย่างมากในการใช้ตรวจวินิจฉัยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ที่จะช่วยลดโอกาสผิดพลาดลงได้ งานด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงมีการนำเครื่องมือเช่นนี้มาใช้ ดังนั้น การเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือทันสมัยเหล่านี้ จึงมีดำริที่ให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ของคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เพื่อผนวกการเรียนรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์กับภาพที่เห็นจากเครื่องมือที่สร้างภาพแนวใหม่ คือ เครื่องอัลตราซาวนด์พกพาชนิดไร้สาย เช่น เมื่อเรียนสรีระวิทยา การปั๊มหัวใจ การเปิดปิดหัวใจ พยาธิสภาพต่างๆ ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ไปดูหัวใจเพื่อนด้วยกันเอง และเข้าใจถึงสรีระวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ได้ดีขึ้น ทักษะเหล่านี้ก็จะต่อเนื่องไปจนถึงตอนที่เป็นแพทย์ ก็สามารถใช้เครื่องมือพกพาได้ดีขึ้น แต่เรื่องของการตรวจร่างกายพื้นฐานก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเสมอ แต่จะมีเครื่องมือเหล่านี้ทำให้มีความแม่นยำถูกต้องมากขึ้น "อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งหัวใจ ช่องท้อง ช่องปอด หรือเวลามีภาวะฉุกเฉิน เครื่องมือจะสามารถตรวจให้เห็นภาวะเลือดคั่งในตำแหน่งต่างๆ หรือกรณีเกิดความผิดปกติของตัวอวัยวะภายใน หรือดูบริเวณคอให้เห็นไทรอยด์ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำขนาดใหญ่ได้ ซึ่งวันนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้รับมอบเครื่องอัลตราซาวนด์จากทางบริษัทกัลฟ์ฯ จำนวน 200 เครื่อง จำนวนเงิน 12 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรให้แก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2-3 ในการนำมาใช้ประกอบการเรียนด้านปรีคลินิก โดยช่วงทดลองนี้จะให้นักศึกษา 2 คนมีเครื่องนี้ 1 เครื่อง ในการใช้เรียนรู้ร่วมกัน แต่สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ก็จะให้ใช้คนละเครื่อง เพื่อฝึกใช้และเรียนรู้ในการตรวจรักษาคนไข้และเรียนรู้ข้อบกพร่องของเครื่องมือ โอกาสที่จะใช้แล้ววินิจฉัยผิดพลาดต่างๆ ก่อนที่จะมีการออกไปใช้จริง ซึ่งในอนาคตหากมีความจำเป็นก็สามารถหามาเพิ่มเติมได้ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี จะถือว่าเป็นแห่งแรกที่นำเครื่องมือนี้เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์" ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าว ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวว่า ส่วนเครื่องอัลตราซาวนด์พกพาต้องยอมรับว่า ความละเอียดหรือการดูแรงดันของเลือดต่างๆ อาจจะสู้เครื่องใหญ่ไม่ได้ แต่เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดคุณภาพดีขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้คิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งก็สามารถเริ่มนำมาใช้ในการเรียนได้ในทันที ส่วนเรื่องข้อกังวลที่ว่า แพทย์เน้นการใช้เครื่องมือทันสมัยเหล่านี้มากเกิน หากขาดอุปกรณ์แล้วจะวินิจฉัยได้ตามวิธีปกติที่ทำๆ มาหรือไม่นั้น ขอให้ไม่ต้องกังวล เพราะการเรียนการสอนเราก็ยังเน้นการตรวจร่างกายพื้นฐาน การดูคลำเคาะฟัง ใช้สเตโทสโคปสมบูรณ์เหมือนเดิม แต่เครื่องมือนี้จะเข้ามาเสริมในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้มีความแม่นยำมากขึ้น นายสารัชถ์ กล่าวว่า หลังจากได้ฟังทางรพ.รามาธิบดี นำเสนอเรื่องขอบริจาคเครื่องมือ พอฟังแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมาก โดยใช้เวลาในการหารือกันไม่ถึง 5 นาที ก็ตอบรับเลย ไม่มีปฏิเสธ เพราะเรื่องการช่วยเหลือสังคมทางกัลฟ์ก็ทำใน 2 ส่วนอยู่แล้ว คือ ด้านการศึกษา และเครื่องมือแพทย์ ที่ผ่านมาเราก็มีการบริจาคเครื่องมือแพทย์ให้แก่รพ.รัฐหลายแห่ง ซึ่งเครื่องอัลตราซาวนด์พกพาแบบไร้สายนี้ก็เป็นทั้งเรื่องของการศึกษาและเครื่องมือแพทย์ด้วย ถือว่ามีประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์รุ่นใหม่ๆ ที่จะได้รับเครื่องนี้ไปดูไปฝึก ทำให้มีความชำนาญตั้งแต่เด็กๆ หรือตั้งแต่เรียนปี 2 ก็จะไปช่วยพัฒนารุ่นต่อๆ ไป รักษาคนไข้ห้องฉุกเฉินมีโอกาสมีชีวิตรอดมากขึ้น ซึ่งตนเคยไปสูงานด้านไบโอเทคและเมดิเทคหลายแห่งในต่างประเทศ แนวโน้มก็พัฒนาไปสู่ในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น อย่างเรื่องของการเอกซเรย์และการทำเอ็มอาร์ไอ ก็มีการใช้เอไอมากขึ้น สามารถบอกความผิดปกติของร่างกายในส่วนอื่นนอกจากส่วนที่เราตั้งใจทำการสแกน และคอมพิวเตอร์ก็สามารถบอกข้อมูลเราได้ทันที โดยไม่ต้องมานั่งอ่าน ดังนั้น จึงคิดว่า รพ.รามาธิบดี ค่อนข้างนำสถาบันอื่นๆ ที่นำเทคนโลยีทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน รศ.นพ.สิทธิ พงษ์กิจการุณ หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า เมื่อก่อนการเรียนอัลตราซาวนด์จะเรียนในชั้นคลินิก คือ ปี 4-6 เพราะเครื่องอัลตราซาวนด์มีขนาดใหญ่ ทำให้นำมาสอนการใช้ลำบาก และต้องเรียนกันเป็นกลุม่มใหญ่ แต่ช่วงหลังเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากเครื่องที่มีขนาดใหญ่โตและราคาแพง ก้มีขนาดเล็กลงที่สามารถพกพาได้ทำให้นำมาใช้ในระดับบุคคลได้มากขึ้น จึงนำมาใช้ในการสอนช่วงปรีคลินิก หรือชั้นปีที่ 2-3 ด้วย ทำให้นักศึกษาเข้าถึงการเรียนการสอนการใช้อัลตราซาวนด์ได้มากขึ้น และคาดหวังว่า เครื่องมือนี้จะกระตุ้นให้นักศึกษาอยากเรียนรู้มากกว่าเดิม นำเครื่องมือนี้ไปเรียนร่วมกับกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยาและพยาธิสภาพ เชื่อมโยงชั้นปรีคลินิกไปคลินิกได้ และอยากจะไปหาความรุ้เพิ่มเติมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในอนาคต ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีการศึกษานี้ รศ.ดร.นพ.ไชยพร ยุกเซ็น หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ห้องฉุกเฉิน รพ.มีการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ในการตรวจวินิจฉัย แต่เมื่อเครื่องอัลตราซาวนด์มีขนาดเล็กลง พกพาได้ ตรงนี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้วินิจฉัยผู้ป่วยตั้งแต่ที่เกิดเหตุ หรือบนรถพยาบาลฉุกเฉิน ทำให้ตรวจวินิจฉัยและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้เห็นพยาธิสภาพความเป็นจริง สามารถกล้าวินิจฉัยตัดสินใจได้มากขึ้น หรืออาจเปลี่ยนการวินิจฉัยที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น รวมไปถึงอาจเลือกรพ.ที่มีความเหมาะสมกับอาการหรือภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยมากขึ้น เพราะหากไม่รู้และไปส่ง รพ.ที่ศักยภาพอาจไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือภาวะนั้นของผู้ป่วย ก็ต้องเสียเวลาในการส่งต่ออีก เครื่องอัลตราซาวนด์พกพาจึงเป็นประโยชน์มากต่อบุคลากรฉุกเฉินหรือ Paramedic ในการเป็นดวงตาคู่ที่สองในการช่วยตรวจวินิจฉัย และการนำมาใช้ให้นักศึกษาเรียน รพ.รามาธิบดีจึงเป็นที่แรกของประเทศไทย และเชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้สถาบันการศึกษาอื่นนำมาใช้ในการเรียนหรือนำมาใช้ตรวจมากยิ่งขึ้น Manager online 8.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร