Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ฮือฮา! พบ “หอยมรกต” หนึ่งเดียวในโลก เติบโตได้ดี หลังปิดเกาะตาชัยกว่า 3 ปี  

อส. เผยพบสัตว์หายาก หอยมรกต หนึ่งเดียวในโลก เติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย คาดอาจมาจากการปิดการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัยเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว โดยวันนี้เกาะตาชัยยังไม่มีกำหนดเปิดการท่องเที่ยวบนเกาะ แต่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปทำกิจกรรมดำน้ำลึกบริเวณรอบเกาะได้ตามปกติ เพจ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park” ของ “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” (อส.) เผยภาพ “หอยมรกต” สัตว์หายากที่พบเพียงหนึ่งเดียวในโลกบนเกาะตาชัย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน โดยข้อความบางส่วนจากโพสต์ของเพจดังกล่าวระบุว่า ...วันพฤหัสบดี ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลาประมาณ 19:00น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันทำการออกค้นหาหอยมรกตที่หน่วยพิทักษ์ฯ ที่ สล.3 (เกาะตาชัย) ได้พบหอยมรกตตัวเต็มวัย ขนาดประมาณ 4-5 เซ็นติเมตร จำนวน 5 ตัว ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เป็นตัวบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าหอยมรกตมีการขยายพันธุ์และเติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศบนเกาะ ซึ่งอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากการปิดการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จึงทำให้ทรัพยากรมีการฟื้นตัวและกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ทั้งนี้ปัจจุบันเกาะตาชัยยังไม่มีกำหนดเปิดการท่องเที่ยวบนเกาะ แต่นักท่องเที่ยวยังสามารถเข้ามาทำกิจกรรมดำน้ำลึกบริเวณรอบเกาะได้ตามปกติ... สำหรับ “หอยมรกต” เป็นหอยสปีชีส์ใหม่ คือ แอมฟิโดรมัส แอตริคาโลสซัส คลาสซิอาเรียส (Amphidromus atricalossus classiarius) ซึ่งเป็นสปีชีส์ย่อยของหอยสปีชีส์ แอมฟิโดรมัส แอตริคาโลสซัส (Amphidromus atricalossus) ที่พบบนแผ่นดินใหญ่ ชื่อหอยมรกต ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันหอยชนิดนี้พบได้ที่เกาะตาชัย ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันเท่านั้น หอยมรกต วิวัฒนาการมาจาก จากสปีชีส์ดั่งเดิม คือ หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส (Amphidromus atricallosus) ที่มีเปลือกเวียนทั้งซ้ายและขวา เพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่มีอาหารจำกัด หอยมรกตจึงมีการปรับตัวให้มีขนาดเล็กลง มีฟันเปลี่ยนไป มีอวัยวะเพศหดสั้นลงจนไม่สามารถสืบพันธุ์กับชนิดดั่งเดิมได้ และมีเปลือกเวียนซ้ายเพื่อเอาตัวรอดจากนักล่าอย่างงูกินทาก จนเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่อย่างสมบูรณ์ (Speciation) ทั้งนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านหอยมรกตของไทย ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับหอยดังกล่าว กับ MGR Online ว่า “ประชากรของหอยมรกต มีเปลือกเวียนซ้ายทั้งหมด ในขณะที่สปีชีส์เดิม มีทั้งเวียนขวาและเวียนซ้าย และยังมีขนาดเล็กกว่าสปีชีส์เดิมด้วย เมื่อศึกษาอวัยวะภายในก็พบว่ามีอวัยวะสืบพันธุ์สั้นลงและมีรายละเอียดต่างกัน จึงทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์กับสปีชีส์เดิมได้อีกต่อไป และฟันของหอยมรกตก็แตกต่างไปจากสปีชีส์เดิม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหอยมรกต เริ่มมีวิวัฒนาการแยกออกจากสปีชีส์เดิม” ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หอยต้นไม้หรือหอยทากในสกุล แอมฟิโดรมัส (Amphidromus) มีเปลือกสวยงาม และพบเฉพาะในป่าแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น จึงได้รับสมญานามว่า “อัญมณีแห่งป่า” (Gems of the forest) ซึ่งหอยทากในสกุลนี้ มีอยู่ประมาณ 80 ชนิด ทั่วโลก โดยพบในประเทศไทยถึง 1 ใน 4 และจากการศึกษาวิจัยพบว่าหอยสกุลนี้มีมาตั้งเกือบ 35 ล้านปีมาแล้ว “หอยทากสกุลนี้น่าสนใจมาก เพราะแม้อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน ประชากรกลุ่มเดียวกัน แต่ก็มีความหลากหลายและแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งสี และการเวียนของเปลือกหอย โดยมีทั้งเวียนซ้ายและเวียนขวาอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้หอยชนิดนี้อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องจากความแตกต่างนี้ทำให้หอยบางส่วน สามารถรอดชีวิตจากผู้ล่าบางชนิดในบางพื้นที่ได้ และขยายพันธุ์ได้ต่อไป” ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าว นอกจากนี้ ศ.ดร.สมศักดิ์ยังได้ยกตัวอย่างว่า งูบางชนิดเลือกกินเฉพาะหอยทากเวียนขวา ทั้งนี้เป็นเพราะความถี่ของซี่ฟันข้างขวามากกว่าข้างซ้าย จึงทำให้หอยทากเวียนซ้าย มีโอกาสรอดมากกว่า ส่วนในพื้นที่ที่ผู้ล่าถนัดล่าหอยเวียนซ้าย ก็จะทำให้มีประชากรหอยเวียนขวาอยู่มากว่าเช่นกัน สำหรับเกาะตาชัย ถิ่นที่อยู่อาศัยของหอยมรกต สัตว์หายากหนึ่งเดียวในโลกนั้น เป็นเกาะในน่านน้ำทะเลพังงา ตั้งอยู่ระหว่างหมู่เกาะสิมิลันกับหมู่เกาะสุรินทร์ ในปี พ.ศ. 2541 ห่างจากชายฝั่งจังหวัดพังงาประมาณ 70 กิโลเมตร เกาะตาชัยถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน” จ.พังงา โดยจากบนฝั่งเกาะตาชัยสามารถเดินทางไปได้ทั้งจากจังหวัดพังงาและภูเก็ต ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1-2 ชม. แม้จะเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่เพียง 12 ตร.กม. และมีชายหาดเพียงแห่งเดียวอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะยาวประมาณ 700 ม.(คนท้องถิ่นเรียกกันว่า “หาดหน้าเกาะ”) แต่หลังจากที่เกาะตาชัยเปิดตัวให้โลกรับรู้ ในฐานะเกาะท่องเที่ยวน้องใหม่มาแรง จนได้ชื่อว่าเป็น “สวรรค์แห่งใหม่ของอันดามัน” ในเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นไม่นานเกาะตาชัยโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืนกับสภาพธรรมชาติอันสวยงามของเกาะแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น แนวหาดทรายยาวขาวสะอาดและมีความละเอียดดุจแป้ง น้ำทะเลที่สวยใสราวกระจก ที่มีโลกใต้ทะเลอันสวยงามทั้งแนวปะการังและปลาหลากหลายชนิด สามารถเล่นน้ำ ดำน้ำตื้น รวมไปถึงสามารถดำน้ำลึกได้ที่บริเวณกองหินใต้น้ำใกล้หัวแหลมทางด้านใต้ของเกาะ ซึ่งเป็นจุดที่นักดำน้ำมีโอกาสจะพบเห็นฉลามวาฬและปลากระเบนราหูได้มากที่สุดจุดหนึ่งของทะเลไทยฝั่งอันดามัน นอกจากนี้บนเกาะตาชัยยังมีจุดชมวิวหลังเกาะที่สวยงาม มีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นอย่าง สาหร่ายใบมะกรูด ปูเสฉวนยักษ์ ปูไก่ และ “หอยมรกต” หนึ่งเดียวในโลกที่พบเพียงแห่งเดียวบนเกาะตาชัยเท่านั้น อย่างไรก็ดีจากความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ทำให้เกาะตาชัยเติบโตแบบก้าวกระโดด มีนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นไปเที่ยวบนเกาะเป็นจำนวนมากจนยากที่จะควบคุม แถมผู้ประกอบเห็นแก่ตัวการบางรายก็ฉวยโอกาสนี้กอบโกยรายได้ นำนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวบนเกาะตาชัยจนล้นทะลักเกินกว่าศักยภาพที่เกาะตาชัยจะรับได้ ส่งผลเกาะตาชัยเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็น ปัญหาขยะ ทรัพยากรรธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะแนวปะการังหน้าเกาะ ทั้งจากน้ำมันเรือ การทิ้งสมอเรือจากเรือจำนวนมากที่ไปทำให้ปะการังเสียหาย และ ปูไก่ ที่ถูกนักท่องเที่ยวบางชาติไปไล่จับปูมาถ่ายรูป รุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัยของปูไก่ รวมถึงทำให้ปูไก่ต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว ถูกนำมาตีแผ่เป็นข่าวใหญ่โตเมื่อช่วงต้นปี 2558 จนปรากฏเป็นข่าวโด่งดัง โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ส่งผลกระเทือนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัย ทำให้ต้องมีการมาพูดคุยปัญหาสร้างข้อตกลงกันใหม่ ระหว่างอุทยานฯกับผู้ประกอบการ อันนำมาสู่มาตรการการแก้ปัญหา(เบื้องต้น) ของเกาะตาชัยในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปี 2559 ด้วยการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ทางอุทยานฯออกมา จะไม่สามารถเยียวยาปัญหาผลกระทบต่างๆบนเกาะตาชัยได้ จนมีผลการวิจัยจากหลายที่ ชี้ชัดถึงความเสื่อมโทรมของแนวปะการังชายฝั่งรอบเกาะตาชัยขยายวงอย่างรวดเร็ว ทำให้สุดท้ายทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต้องออกมาตรการเข้มด้วยการปิดเกาะตาชัย (ตั้งแต่ 15 พ.ค. 59) เพื่อให้ธรรมชาติบนเกาะพักฟื้น ซึ่งปัจจุบันเกาะตาชัยยังไม่มีกำหนดเปิดการท่องเที่ยวบนเกาะ แต่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปทำกิจกรรมดำน้ำลึกบริเวณรอบเกาะได้ตามปกติ ทั้งนี้ผลจากการปิดเกาะตาชัยมากว่า 3 ปี นอกจากจะทำให้ธรรมชาติบนเกาะฟื้นตัวแล้ว ยังมีการค้นพบ หอยมรกต หนึ่งเดียวในโลก เติบโตได้ดีบนเกาะตาชัย ถือเป็นอีกหนึ่งผลพวงของการปิดเกาะ ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่ถูกใจผู้ประกอบการบางราย แต่กลับเป็นที่ถูกใจของประชาชนคนส่วนใหญ่ Manager online 11.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร