Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชี้เป้า! สิงคโปร์ เอาชนะปัญหาขยะ ด้วยกฎหมายเข้มงวดในการจัดเก็บขยะ  

มีนักวิชาการและผู้บริหารในหลายประเทศที่มีความเชื่อมาตลอดว่า การปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single -use plastic) เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) คือทางเลือกที่ดีกว่าต่อสิ่งแวดล้อม แต่ผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้กลับระบุว่า ไม่พบความแตกต่างที่เพียงพอในกรณีของสิงคโปร์ หีบห่อและถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้อาจจะสลายตัวเร็วกว่าพลาสติกโพลีเอธีลีน และอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกดูเหมือนว่าไม่ได้กระทบต่อสภาพแวดล้อมมากนัก แต่ผลการศึกษากรณีของประเทศสิงคโปร์พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเผาพลาสติกแบบย่อยสลายได้กลับแพงกว่าเดิม เนื่องจากทางเลือกที่ผลิตพลาสติกประเภทย่อยสลายเองได้มาจากทรัพยากรการผลิตมากกว่า ซึ่งทำให้ต้นทุนของหีบห่อพลาสติกทางเลือกนี้แพงกว่าเดิม จากรายงานของ BIOPLASTICS NEWS เรื่อง Biodegradable Plastic Alternatives Net Necessary Better for Singapore, Say Expert พบว่ากรณีของสิงคโปร์มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าขยะจากผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มที่ต้องกำจัดด้วยการเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่าน และไม่ได้รับยกเว้นให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ จึงไม่ทำให้ต้นทุนในส่วนของการเผาขยะไม่ได้แตกต่างกัน และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจากการเผาขยะก็ไม่ได้แตกต่างกัน ยิ่งกว่านั้น การใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ โดยเฉพาะประเภท Oxo-biodegradable กลับรบกวนและเป็นอุปสรรคขัดขวางกระบวนการรีไซเคิลเมื่อขยะของพลาสติกทางเลือกนี้ไปปะปนกับพลาสติกแบบเดิมๆ แม้ว่าพลาสติกแบบย่อยสลายได้จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้เร็วในรูปของ “ไมโครพลาสติก” แต่ไม่ง่ายในการแตกตัวในระดับโมเลกุลหรือโพลีเมอร์ จึงทำให้ไมโครพลาสติกยังคงตกค้างในสภาพแวดล้อมตลอดไปจนกว่าจะเกิดการแตกตัวครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้สหภาพยุโรปที่จัดทำรายงานผลดีผลเสียของพลาสติกชนิด Oxo มีข้อสรุปชัดเจนว่า หีบห่อชนิดนี้ไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและห้ามใช้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019 เช่นเดียวกับการห้ามใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมีผลใช้บังคับจริงในปี 2021 แม้ว่าผลการศึกษาในสิงคโปร์จะชี้ว่า พลาสติกทางเลือกประเภทย่อยสลายได้จากแสงแดดจะไม่ได้สร้างผลที่แตกต่างต่อสภาพแวดล้อม แต่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ จำนวนไม่น้อยในสิงคโปร์ได้ตัดสินใจเปลี่ยนโมเดลการดำเนินธุรกิจและลงทุนธุรกิจไปใช้พลาสติกกลุ่ม biodegradable เรียบร้อยแล้ว การศึกษาของ Bread Talk Group ที่ถือว่าเป็นผู้ประกอบการชั้นนำและกลุ่มผู้บุกเบิกในการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ ยังคงยืนยันว่า จะค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนของหีบห่อพลาสติกย่อยสลายได้ เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคต่อไป และพบว่าการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลาสติกย่อยสลายได้เป็นไปได้ยากในธุรกิจอาหารท้องถิ่นที่ยังคงใช้ฝาปิดและหีบห่อพลาสติก เพราะง่ายในการบริหารจัดการมากกว่าทางเลือกอื่น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการหีบห่ออาหาร Neo Group ที่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตมาใช้พลาสติกย่อยสลายได้ จากวัสดุข้าวโพดมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งมีรายงานว่าต้นทุนของการปรับเปลี่ยนสู่พลาสติกย่อยสลายได้ ทำให้ต้นทุนของกิจการสูงขึ้น แต่กิจการยอมรับภาระนี้เพราะมีความเชื่อว่าการปรับตัวครั้งนี้จะช่วยดูแลสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ซึ่งได้รวมถึงการมีเป้าหมายระยะยาวที่จะเข้าสู่สังคม Paperless และลดการใช้พลาสติกลง 80% ในการดำเนินงานประจำวัน ความเชื่อดังกล่าว สวนทางกับผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญว่าการใช้พลาสติกย่อยสลายได้กลับสร้าง carbon footprint สูงกว่าเดิมจากการผลิตพลาสติกทางเลือกนี้ และแม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจจะส่งเสริมความเชื่อนี้ด้วยการใช้พลาสติกใหม่ทั้งหมด กับแทบไม่มีผลให้ carbon footprint หรือภาวะก๊าซเรือนกระจกลดลงแต่อย่างใด เพราะการแตกตัวของพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ไม่ได้เกิดจากแสงแดดในธรรมชาติ แต่ยังต้องผ่านกระบวนการเผาเป็นเถ้าถ่านด้วยวิธีพิเศษ และไม่ชัดเจนว่าจะสามารถรีไซเคิลได้หรือไม่ ซึ่งผู้ประกอบการที่ทำการผลิตพลาสติกทางเลือกนี้ คือกลุ่มที่ควรจะรู้ดีที่สุดว่าผลผลิตของตนเป็นสิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมที่แท้จริงหรือไม่ ตามกฎหมายของสิงคโปร์ ประการที่ 1 ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ภาคธุรกิจต่างๆ ทุกประเภทจะต้องนำส่งรายงานรูปแบบของหีบห่อและปริมาณของหีบห่อที่ได้ป้อนจำหน่ายสู่ตลาดแก่ NEA (National Environment Agency) และนำเสนอแผนงานที่จะลดปริมาณการใช้ โดยครอบคลุมผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ประกอบการผลิต ผู้นำเข้าหีบห่อ และสินค้าพร้อมหีบห่อ และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีมูลค่าทางการค้าเกินกว่า 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ประการที่ 2 รัฐบาลได้ขยายกรอบความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อขยะหีบห่อที่มาจากธุรกิจของตน โดยจะเริ่มมีผลในปี 2025 เป็นต้นไป แม้ว่าจะมีการควบคุมทางกฎหมายมากขึ้น แต่ผลการศึกษาของ Assistant Professor Marvin Montefrio ที่ Yale-NUS ยังคงเชื่อว่าสิงคโปร์ไม่อาจกำจัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ทั้งหมด เนื่องจากสิงคโปร์เป็นตลาดผลิตพลาสติกที่สำคัญในภูมิภาคนี้ เพื่อรองรับความต้องการใช้จากภาคการค้าปลีก แม้ว่าจะควบคุมการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่หีบห่อแบบเดิมนี้ ก็ยังคงมีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการหีบห่ออาหารและในสินค้าประเภทยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องยอมรับประเด็นนี้ว่า บางภาคธุรกิจพลาสติกอาจจะจำเป็นอยู่และการปรับเปลี่ยนนั้นทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนยุ่งยาก ไม่สะดวก ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ จึงควรเลิกสมมติฐานว่าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะต้องถูกกำจัดและแทนที่ด้วยพลาสติกแบบย่อยสลายได้ทั้งหมด นักวิชาการเชื่อว่าสิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตนเองไปสู่พลาสติกแบบย่อยสลายได้ทั้งหมด เพราะสิงคโปร์มีจุดแข็งและได้เปรียบจากการที่มีพื้นที่ขนาดเล็กทำให้การบริหารจัดการขยะได้ง่าย และรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขัน ด้วยบทลงโทษที่รุนแรงในการทิ้งขยะอยู่แล้ว ทำให้ขยะเกือบทั้งหมดมีการจัดเก็บสู่กระบวนการจัดการ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่ยังทิ้งขยะในระบบเปิดจนกระจายเรี่ยราดไปทั่ว หรือทิ้งขว้างไว้ตามพื้นดินโดยปราศจากการบริหารจัดกำรขยะที่ดี ซึ่งอาจจะต้องใช้พลาสติกยอยสลายได้เพื่อให้ย่อยสลายได้โดยเร็ว รวมถึงกลุ่ม OXO และพลาสติกที่ย่อยสลายได้เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหากการจัดการขยะใช้การเผาเป็นเถ้าถ่าน ในทำนองเดียวกัน ความพยายามในการหาวัสดุทางเลือกอื่นมาทดแทนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่ได้ช่วยให้ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมดีขึ้นแต่อย่างใด ทำให้พลาสติกยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดต่อการใช้งานประจำวัน หากมีการบริหารจัดการเก็บขยะที่ดีและมีประสิทธิผล Manager online 12.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร