Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“เอไอ” อ่านภาพเอกซเรย์ เจอร่องรอยโรคแม้จุดตาคนมองไม่ชัด  

“ศิริราช” จับมือ “เพอเซ็ปทรา” วิจัย-พัฒนาอำอรังสีวินิจฉัยสัญชาติไทย ใช้ฐานข้อมูลภาพถ่ายเอกวเรย์รพ.ศิริราช 1-2 ล้านภาพ คัดกรองโรคทรวงอกได้ทั้ง 14 สภาวะ มั่นใจแม่นยำสูง ช่วยเสริมการทำงานแพทย์ ผู้ป่วยรู้ผลโรคเร็วเร็วขึ้น แก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง หวังขยายผลใช้ทั่วประเทศไทย-อาเซียน วันนี้(12 พ.ย.) ที่รพ.ศิริราช มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)ว่าด้วยการร่วมวิจัยและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์(เอไอ)เพื่อรังสีวินิจฉัย ระหว่างศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นายชัยวัฒน์ พู่พิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และน.ส.สุพิชญา พู่พิสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด โดยศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มุ่งเน้นการทำวิจัยและการนำองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์มาพัฒนาให้ก่อเกิดคุณประโยชน์แก่วงการสาธารณสุขของประเทศไทย จึงเกิดความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และบริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด ในการวิจัยและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก เนื่องจากโรคเกี่ยวกับปอด เช่น โรคมะเร็งปอด วัณโรค ปอดอักเสบ เป็นกลุ่มโรคที่ติดอันดับทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดแทบทุกปี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเมื่อสายไปแล้วที่จะรักษา ซึ่งปัจจุบันการคัดกรองโรคด้วยภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกเป็นวิธีการที่สะดวก ต้นทุนถูก และปลอดภัยที่สุด “การที่จะวินิจฉัยโรคปอดจากภาพถ่ายเอกซเรย์ให้ได้ความแม่นยำสูง ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์รังสีวินิจฉัยเฉพาะทาง แต่ความขาดแคลนอย่างมาก ดังนั้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับความเชี่ยวชาญของกลุ่มแพทย์รังสีที่มีประสบการณ์ จึงมีส่วนสำคัญที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน”ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว น.ส.สุพิชญา พู่พิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เพอเซ็ปทรา จำกัด กล่าวว่า ในปี 2561 เพอเซ็ปทราได้พัฒนา อินเสป็คทรา ผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ขึ้นมาจากการทำงานร่วมกันของระบบปัญญาประดิษฐ์หลายระบบ อาทิ การคัดกรองภาพถ่ายที่ใช้งานไม่ได้ (Defective image screening) การแปลงผลรายงานแพทย์ (Medical report analysis) การปรับภาพก่อนการวินิจฉัย (Pre-processing image) และการวินิจฉัย (Diagnosis) ด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์แบบการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) ที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ถึง 121 ชั้น ขึ้นจากภาพรังสีทรวงอกจำนวนกว่า 500,000 ภาพ ทำให้สามารถคัดกรองโรคจากภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกได้ทั้ง 14 สภาวะเสมือนการอ่านผลของแพทย์รังสี ทั้งนี้แพทย์สามารถเข้าถึงการบริการได้ง่าย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านเว็บแอพลิเคชันที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงถึง 3 ชั้น ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราช เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงเกิดความร่วมมือเพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดระบบให้สามารถนำมาใช้ได้เหมาะสมกับประชากรและระบบสาธารณสุขในประเทศไทยและประเทศแภบอาเซียน “จากความรวมมือนี้บริษัทคาดว่าจะเปิดตัวแอพลิเคชันให้โรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ที่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน รวมถึงผู้ให้บริการรถตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ใช้ได้ในต้นปี 2563 และมีแนวคิดที่จะขยายความร่วมมือไปสู่การแพทย์ด้านอื่นด้วย เพื่อยกระดับสาธรรณสุขไทยโดยรวมให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุข และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)”น.ส.สุพิชญากล่าว ด้าน รศ. นพ.พิพัฒน์ เชี่ยววิทย์ หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ข้อดีของการใช้เอไอเพื่อรังสีวินิจฉัยมาเสริมการทำงานของแพทย์ คือช่วยให้มีความรวดเร็ว และแม่นยำในการช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์ ขณะที่ผู้ป่วยจะได้รู้ผลการตรวจเร็วขึ้นและลดโอกาสผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งในการอ่านภาพถ่ายเอกซเรย์นั้น อาจมีจุดในปอดขนาดเล็กมากๆ อาจจะดูด้วยตาเห็นไม่ชัด แต่เอไอจะพบจุดเล็กๆนี้ในปอด แล้วจะแสดงผลเป็นวงสีเกิดขึ้น ทำให้แพทย์เห็นจุดเล็กๆนั้น ช่วยให้สามารถตรวจเจอมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ระยะแรกได้ เป็นต้น ศ.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ รองหัวหน้าสาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา กล่าวเสริมว่า ปัญญาประดิษฐ์เพื่อรังสีวินิจฉัยที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการใช้ฐานขอ้มูลภาพถ่ายเอกซเรย์ของต่างประเทศ ซึ่งในบางกรณียังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในการวินิจฉัยกับคนไทย และยังมีราคาแพง ดังนั้น การร่วมมือระหว่างศิริราชและเพอเซ็ปทราจะเป็นการพัฒนาเอไอเพื่อรังสีวินิจฉัยจากฐานข้อมูลของคนไทยเอง โดยใช้ภาพถ่ายเอกซเรย์ที่รพ.ศิริราชมีอยู่ราว 1-2 ล้านภาพมาเป็นฐานข้อมูลให้ในการบรรจุเข้าสู่ระบบเอไอ ซึ่งจะยิ่งฐานข้อมูลจำนวนมากก็จะทำให้ความแม่นยำในการแสดงผลของเอไอสูงขึ้น จะมีความแม่นยำถึง 90 % โดยจะเป็นการพัฒนาให้สามารถคัดกรองโรคจากภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกได้ 14 สภาวะตามมาตรฐานโรคในทรวงอกเบื้องต้นแต่ในอนาคตจะมีมากกว่านี้ “เมื่อความร่วมมือนี้ดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้มีเอไอเพื่อรังสีวินิจฉัยที่เกิดจากฐานข้อมูลของคนไทยเอง เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากศิริราช จะช่วยให้การอ่านของเอไอมีความแม่นยำสูง ช่วยเสริมการทำงานของแพทย์ที่บางครั้งเมื่อทำงานนานๆมีความล้า ทำให้รพ.ที่ไม่มีแพทย์รังสีวินิจฉัยสามารถให้แพทย์ทั่วไปอ่านภาพถ่ายเอกซเรย์ของผู้ป่วยเบื้องต้นได้ หากสงสัยเพิ่มเติมจึงค่อยส่งปรึกษาแพทย์รังสิวินิจฉัย เพราะปัจจุบันทั่วประเทศมีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ราว 1,000-2,000 คน ที่สำคัญ ช่วยผู้ป่วยรู้ผลการวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้นและในระยะต้นของดรค”ศ.นพ.ทนงชัยกล่าว Bangkokbiznews 13 พฤศจิกายน 2562

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร