Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ฟู้ดอินโนโพลิส สวทช. เปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหาร  

ฟู้ดอินโนโพลิส สวทช.เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีกลิ่นรสของประเทศ จับมือ ฟู้ดอินโนโพลิสส่วนขยาย ที่คณะวิทย์ มหิดล และ เวิลด์เทค เอ็นเตอร์ไพรส์ เปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหาร ต่อยอดงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือฟู้ดอินโนโพลิส ร่วมกับฟู้ดอินโนโพลิสส่วนขยาย ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เวิลด์เทค เอนเตอร์ไพรส์ จากัด จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหาร (MUSC-WTE-GERSTEL: Food Innopolis Learning Center of Flavor and Aroma) เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 62 ณ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พญาไท ศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหารตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพงานวิจัยในการวิเคราะห์กลิ่นรสที่แม่นยำมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารด้านกลิ่นรสของประเทศ โดยมี ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล นายสนธิ ดำรงศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวิลด์เทค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และคุณแตน สุรการพินิจ ผู้จัดการภาคพื้นเอเชีย บริษัท GERSTEL, Germany ร่วมงานเปิดตัว ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวว่า เทคโนโลยีด้านกลิ่นรสอาหารเป็นเรื่องสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหารเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่ฟู้ดอินโนโพลิส สวทช. ได้จัดอบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐานและขั้นสูงด้านกลิ่นรสเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีกลิ่นรสของประเทศ (Flavor Academy) ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปี “จนกระทั่งในปีนี้ ฟู้ดอินโนโพลิส สวทช. พร้อมต่อยอดสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลิ่นรสในประเทศ ด้วยความร่วมมือกับฟู้ดอินโนโพลิสส่วนขยาย ที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เวิลด์เทค เอ็นเตอร์ไพร์ส์ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหาร เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการวิเคราะห์กลิ่นรสที่แม่นยำมากขึ้น ให้สามารถรองรับงานค้นคว้าวิจัยด้านกลิ่นรสอาหาร พร้อมทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหารที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการภาคเอกชน และพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารด้านกลิ่นรสของประเทศต่อไป” ดร.อัครวิทย์กล่าว ด้าน รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย และเครือข่าย Flavor Academy คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเทคโนโลยีด้านกลิ่นรสของประเทศ โดยศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหารได้มีการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์วิเคราะห์กลิ่นรสทั้งในตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงที่มีความแม่นยำด้วยระบบอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องสกัดสารตัวอย่างอีกต่อไป “นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ที่ช่วยกักเก็บกลิ่นจากตัวอย่าง ซึ่งดีกว่าอุปกรณ์แบบเดิมกว่า 1,000 เท่า พร้อมทั้งอุปกรณ์ดมกลิ่นที่สามารถตรวจวัดและจับกลิ่นของตัวอย่างที่แยกออกมาจากเครื่อง อีกทั้งยังมีฐานข้อมูลด้านกลิ่นรสมากกว่า 100,000 ชนิด ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยจาก GERSTEL ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านระบบการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูงจากประเทศเยอรมัน ทางศูนย์ฯ พร้อมให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ และสนับสนุนงานวิจัยด้านกลิ่นรสอาหาร รวมทั้งเป็นแหล่งให้ความรู้แก่บุคลากรทางด้านกลิ่นรส นอกจากนี้ ยังพร้อมผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมด้าน Flavor Analysis ในภูมิภาคเอเชียโดยความร่วมมือกับบริษัท GERSTEL ประเทศเยอรมัน” รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ กล่าว ขณะที่ นายสนธิ ดำรงศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวิลด์เทค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารส่งออกอันดันต้น ๆ เปรียบได้ดั่ง “ครัวของโลก” ซึ่งที่ผ่านมา บริษัท เวิลด์เทค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้ให้ความสำคัญในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยการเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ของบริษัท GERSTEL ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านระบบการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูงจากประเทศเยอรมัน และเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจอาหาร “ประเทศไทยจึงควรมองในเรื่องของการสร้างนวัตกรรมทางอาหาร เพื่อเพิ่มเอกลักษณ์ทางด้านรูปลักษณ์ กลิ่น และรสชาติ รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล” นายสนธิกล่าว Manager online 19.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร