Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สังเคราะห์อนุพันธ์ “ต้นน็อบวูด” หายาต้านมาลาเรียตามภูมิปัญญาแอฟริกา  

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่อดีต แม้ในปัจจุบันจะมีการพัฒนายารักษาโรคที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้ แต่ก็ยังมีโรคที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่อง และในอนาคตก็ยังมีแนวโน้มที่เชื้อโรคเหล่านี้จะมีการพัฒนาการดื้อยารักษาที่สูงขึ้นอีกด้วย จึงทำให้การพัฒนาในด้านยารักษาโรคเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ หนึ่งในนักวิจัยของประเทศไทย ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านนี้ คือ ดร.จำเรียง ธรรมธร จากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 1 ใน 5 นักวิจัยหญิงที่ได้รับทุนจากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2562 (L’OREAL For Women in Science 2019) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life sciences) จาก “การสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ และการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาเลเรีย” ดร.จำเรียง กล่าวว่า ในปัจจุบันมีการพัฒนายารักษาโรค ที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยให้หายได้ แต่ก็ยังมีโรคเกิดขึ้นใหม่มากมาย อีกทั้งโรคต่างๆ ที่มีอยู่ก็มีอัตราการดื้อยาที่สูงขึ้น การพัฒนายาจึงเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะแข่งกับเชื้อโรคที่พัฒนาไม่ต่างจากเรา แต่ในการพัฒนายารักษาโรคนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำกันได้โดยง่าย “หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญคือ การสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเชื้อโรค เพื่อนำไปต่อยอดเป็นยารักษาโรค แต่การสังเคราะห์สารอนุพันธ์นั้น จำเป็นต้องวิจัยและศึกษาหาข้อมูล ว่าสารชนิดใดสามารถรักษาโรคได้บ้าง และได้จากแหล่งใด แต่การสกัดสารอนุพันธ์จากแหล่งกำเนิดนั้น ส่วนมากจะได้ปริมาณที่น้อยและยังมีโครงสร้างเดียว” ผลงานวิจัยด้านการสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ และการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาลาเรียของ ดร.จำเรียง นั้น เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิธีการสังเคราะห์สาร และได้เล็งเห็นว่าเชื้อมาเลเรียเป็นเชื้อโรคที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อีกทั้งโรคมาลาเลียก็เป็นโรคที่พบได้ในประเทศไทย มีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง และยังมีแนวโน้มการพัฒนาการดื้อยาที่สูงขึ้นอีกด้วย ยารักษาโรคมาลาเรียนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก จึงได้มีการศึกษาวิจัยค้นหาสารอนุพันธุ์จากสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่ง ดร.จำเรียงสนใจ “ต้นน็อบวูด” (knobwood) พืชสมุนไพรในแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ที่มีถูกใช้รักษาโรคมาลาเรียมาช้านานตามภูมิปัญญาพื้นบ้านของผู้คนที่นั่น “แต่ด้วยการสกัดสารอนุพันธ์จากต้นน็อบวูดนั้นได้ปริมาณที่น้อย โครงสร้างอนุพันธ์ยังมีโครงสร้างเดียว และยังเป็นพืชที่ไม่สามารถหาได้ในประเทศ จึงได้วิจัยเพื่อที่จะสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่เหมือนความคล้ายคลึงกับสารอนุพันธ์ที่สกัดได้มาจากต้นน็อบวูด และมีโครงสร้างที่หลากหลาย เพื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการรักษาโรคมาลาเรียในขั้นตอนต่อไป” ดร.จำเรียงกล่าว หลังจากได้สารที่เป็นสารประกอบแล้ว ดร.จำเรียงจะนำสารนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่อไป และสิ่งที่จำเป็นที่สุดก็คือการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์สาร ต้องเป็นวิธีที่สะดวก และมีประสิทธิภาพสูง เพื่อที่จะสามารถสังเคราะห์ตัวยารักษาโรคได้เองในประเทศ ไม่ต้องพึ่งยาจากต่างประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาการสังเคราะห์สารสารอนุพันธ์ เพื่อที่จะผลิตเป็นยารักษาโรค และสามารถผลิตได้เองในประเทศ จึงทำให้ ดร.จำเรียง ธรรมธร ผู้ดำเนินงานวิจัยการสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ และการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อมาเลเรีย เป็น 1 ใน 5 นักวิจัยหญิงที่ได้รับทุนจากโครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2562 (L’OREAL For Women in Science 2019) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทุนวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กับสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ความมุ่งมั่นในการร่วมเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนงานด้านการค้นคว้าและวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย Manager online 20.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร