Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไทยผนึกกำลังนานาชาติ “ใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจัดการขยะพลาสติกในทะเล”  

7 ประเทศในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย สหภาพยุโรป (EU) และรัฐบาลเยอรมนี ประสานความร่วมมือในการลดขยะพลาสติกและขยะทะเล ผ่านการเปิดตัว “โครงการ ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล” โดยการสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านยูโร (ราว 336 ล้านบาท) จาก EU และกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) มีระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งหมด 3 ปี (พ.ศ.2562-2565) ประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หน่วยงานความร่วมมือหลักของโครงการฯ กล่าวว่า“บรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือสินค้าพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว มีส่วนทำให้เกิดขยะทะเลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและการประมง รวมถึงภาคการท่องเที่ยว “เราจำเป็นต้องผนึกกำลังความร่วมมือของเรา” “กรมควบคุมมลพิษ จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และเราจะร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันนโยบายของ Roadmap ในประเทศไทยเพิ่มเติม เราหวังว่าประเทศไทยจะได้รับองค์ความรู้และการสนับสนุนจากโครงการฯ เพื่อมาดำเนินการกับ Roadmap” ฯพณฯ เอกอัครราชทูต เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “สหภาพยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศไทย จีน อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ในโครงการฯ ด้วยแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน และยุทธศาสตร์ยุโรปเพื่อจัดการพลาสติก เราจึงพร้อมก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบ การใช้ และการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ขยะพลาสติกลงสู่ทะเล โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล ถือเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนและการปฏิบัติงานระดับโลก และผมเชื่อมั่นว่าเราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ของแต่ละประเทศร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างกำลังความร่วมมือในการลดขยะพลาสติก” “ความท้าทายระดับโลก ซึ่งรวมถึงปัญหาขยะในทะเล ต้องการแรงสนับสนุนจากทั่วโลก” ฯพณฯ เกออร์ค ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยกล่าว “ประเทศเยอรมนีมีความร่วมมือกับประเทศไทยมายาวนานและประเทศภาคีอื่นๆ รวมทั้งเรายังสนับสนุนให้มีการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ทั่วโลก กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความความร่วมมือมากขึ้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เราต้องมุ่งเน้นไปที่การหลีกเลี่ยง การรวบรวม การรีไซเคิลและการทิ้งขยะพลาสติกไปพร้อมกัน แทนที่จะปล่อยขยะต่างๆ เหล่านี้ลงสู่ทะเล จุดมุ่งหมายที่สำคัญของเราก็คือ พลาสติกจะต้องลดลง ถูกนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิล ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล เราจะสามารถแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกตามเป้าที่เราวางไว้แน่นอน” ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการร่วมกับ Expertise France ชี้แจงขอบเขตการดำเนินงานของโครงการฯ ว่า “โครงการฯ จะให้คำปรึกษาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งครอบคลุมเรี่องการจัดการขยะพลาสติก การบริโภคและการผลิตพลาสติกอย่างยั่งยืน การลดปริมาณขยะ ณ แหล่งทิ้งขยะลงสู่ทะเล ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำหรือขยะที่มาจากเรือ นอกจากนี้เรายังสนับสนุนโครงการนำร่อง เพื่อเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดี และเรามีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม” ซึ่งภายหลังจากพิธีเปิดโครงการฯ ได้มีการจัดเวทีเสวนากลุ่มที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนของประเทศในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานและการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป เพื่อจัดการกับปัญหาขยะทะเลและลดขยะพลาสติกร่วมกับโครงการฯ นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอ “แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและพลาสติก: การวิเคราะห์ช่องว่างในประเทศสมาชิกอาเซียน”การวิเคราะห์ช่องว่างเป็นผลจากความร่วมมือของสหภาพยุโรปและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในเรื่องปัญหามลพิษพลาสติก ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจัดการขยะทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Manager online 21.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร