Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วช.เผยอาคารสูงสร้างก่อนปี 2550 น่าห่วงได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว  

วช.นำผลงานวิจัยความเสียหายจากแผ่นดินไหว มาใช้เป็นบทเรียน การเฝ้าระวัง ชี้อาคารสูงสร้างก่อนปี 2550 ใน กทม. น่าห่วง เพราะอาจไม่ได้สร้างตามกฎกระทรวงเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ตามที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาว เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาประเทศไทย พร้อมเปิดเผยภาพความเสียหายบางส่วนจากแขวงไชยบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ มีพื้นที่ติดกับประเทศไทยทางด้านจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และจังหวัดเลย เบื้องต้นพบว่ามีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายหลายหลัง โดยตัวบ้านที่สร้างจากปูนมีรอยร้าวทั้งหลัง หลังคา ฝ้าเพดานพังถล่ม ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหายเพิ่มเติมและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว เหตุการณ์ดังกล่าว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนการวิจัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา โดยมีผลงานวิจัยที่เป็นข้อมูลอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พบว่าเกิดความเสียหายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว อาคารที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่ เป็นอาคารที่ไม่ได้มีวิศวกรควบคุม (Non-engineered structures) ซึ่งเป็นอาคารที่ประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณภาคเหนือ ในขณะที่อาคารที่ก่อสร้างถูกหลักวิศวกรรมที่ถึงแม้ว่าไม่ได้รับการออกแบบต้านแผ่นดินไหวก็ตาม (Engineered structures) เกิดความเสียหายที่น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า เนื่องจากในประเทศไทยมีอาคารจำนวนมากที่ถูกก่อสร้าง โดยไม่มีการควบคุมจากวิศวกร ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหรือพังทลายได้หากเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงในบริเวณใกล้เคียง ปัญหาของอาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกจำกัดด้วยงบประมาณ และความรู้ในการก่อสร้างทำให้มีจุดอ่อนในหลายลักษณะ จึงควรได้รับการดูแล จัดการ และแก้ไขอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน "สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากในเวลานี้ คือ อาคารสูงในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสภาพชั้นดินของกรุงเทพมหานคร เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน แม้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นจากระยะไกล แต่ด้วยสภาพชั้นดินของ กรุงเทพมหานคร จะขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก จึงทำให้อาคารอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังกล่าว โดยอาคารสูง เช่น คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน ที่มีความสูง 10 ชั้นมีค่าความถี่ธรรมชาติต่ำ ซึ่งเป็นค่าความถี่การสั่นของอาคารที่ใกล้เคียงกับการสั่นไหวของพื้นดิน ทำให้เกิดการสั่นเข้าจังหวะกันระหว่างพื้นดินและอาคาร ทำให้อาคารสูงมีการสั่นสะเทือนที่แรงกว่าอาคารทั่วไป "อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร หากก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 มีแนวโน้มที่จะไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ได้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา" manager online 21.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร