Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แผ่นดินไหว ภัยที่เทคโนโลยีของคนยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด! แต่สัตว์กลับรู้ล่วงหน้า!!  

เมื่อสัปดาห์ก่อนมีเรื่องเขย่าขวัญกันเล็กน้อย เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาด ๖.๔ ขึ้นในลาวเมื่อเช้าวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน แต่สั่นสะเทือนมาถึงหลายจังหวัดในประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ตั้งอยู่บนผืนดินอ่อนซึ่งเคยเป็นทะเลมาก่อน แรงสั่นสะเทือนจึงเพิ่มมากขึ้นเป็น ๓ เท่า ทั้งคนอยู่บนตึกสูงที่โยกตัวได้ ก็จะมีความรู้สึกมากกว่าคนอยู่ที่พื้นดินอีก ๓-๕ เท่า หลายคนจึงบอกในโลกออนไลน์ว่า รู้สึกเวียนหัวนึกว่าเป็นลม แต่พอเห็นโคมไฟแกว่งไปมาก็รู้ว่าแผ่นดินไหว นี่ขนาดไหวอยู่ในลาว แต่ถ้าเกิดไหวใกล้เข้ามา อย่างรอยเลื่อนสะแกงในทะเลอันดามัน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯราว ๔๐๐ กม. หรือเกิดที่รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนศรีสวัสด์ ห่างจากกรุงเทพฯ ๒๐๐ กว่า กม. ก็จะเขย่าขวัญมากกว่านี้ แต่ก็อย่าไปขวัญอ่อนให้มากนัก เพราะกรุงเทพฯสร้างมา ๒๐๐ กว่าปีแล้ว ยังไม่เคยมีคนตายจากแผ่นดินไหวเลยแม้แต่คนเดียว อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวก็เป็นภัยใกล้ตัวเข้ามาแล้ว หาวิธีป้องกันตัวหรือหาทีหนีทีไล่ไว้ก่อนก็ดี ขณะนี้เรามีระบบตรวจวัดแผ่นดินไหวได้รวดเร็วขึ้นมาก ทำให้รู้ขนาดความรุนแรงและตำแหน่งจุดศูย์กลางของแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกลงไปในดินหลายกิโล และเชื่อมระบบโยงใยไปทั่วโลกด้วยดาวเทียม ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่ไหน ก็จะรู้รายละเอียดไปได้ทั่วโลกภายในไม่กี่นาที แต่กระนั้น ก็ยังไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใด ต้องให้เกิดขึ้นก่อนถึงจะรู้ แต่แปลก ที่สัตว์หลายชนิดกลับรู้ล่วงหน้าว่าจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น และแสดงอาการผิดปกติเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น แมลงสาบพากันวิ่งพล่าน หนูแตกตื่นวิ่งออกถนน เป็ดไก่พยายามบินออกจากเล้า วัวไม่ยอมเข้าคอก หมูมีอารมณ์ฉุนเฉียวกัดกัน และพยายามหนีออกจากเล้า ผึ้งแตกออกจากรัง กบเลิกจำศีล งูออกจากรูมาอยู่กลางแจ้ง ปลากระโดดขึ้นเหนือน้ำ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะเกิดก่อนแผ่นดินไหวเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน นักวิทยาศาสตร์แผ่นดินไหวของจีนได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้มาก และเชื่อปฏิกิริยาของสัตว์ในเรื่องแผ่นดินไหว จนทำให้จีนได้รับการบันทึกว่าเป็นชาติแรกที่สามารถทำนายแผ่นดินไหวได้ล่วงหน้า และช่วยชีวิตคนไว้ได้มาก เหตุการณ์เกิดขึ้นในฤดูหนาวปี ๒๕๑๘ บรรดาสัตว์ในเมืองไฮเซ็ง ประเทศจีน เกิดอาการแตกตื่นพร้อมกันอย่างประหลาด บรรดาห่านพากันบินพล่านและหลบเข้าไปในอยู่ในพุ่มไม้ หมูไล่กัดกัน สุนัขทำจมูกฟุดฟิดและส่งเสียงเห่าหอนตลอดเวลา งูพากันเลื้อยออกจากรูมานอนตายบนน้ำแข็งของฤดูหนาว ส่วนหนูวิ่งกันพล่านออกมากลางถนน และไต่ขึ้นไปอยู่บนสายไฟฟ้าในเวลากลางวันแสกๆ ประกอบกับเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวรายงานการสั่นไหวเป็นระยะ เหมือนเตือนว่าจะมีการไหวใหญ่เกิดขึ้น จึงตัดสินใจอพยพประชาชนออกจากเมือง ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ ๑ ล้านคน และแล้วในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ก็ได้เกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นตามที่คาด มีขนาด ๗.๓ ริกเตอร์ ทำลายเมืองไฮเซ็งถึงครึ่งเมือง แม้จะรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ได้ แต่ก็รักษาชีวิตผู้คนไว้ได้จำนวนมาก นี่เป็นครั้งแรก และดูเหมือนจะเป็นครั้งเดียวที่ถูกบันทึกไว้ว่า มนุษย์สามารถทำนายแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้หลายวัน จากสัตว์แสดงอาการบอกให้รู้ จีนจึงพยายามศึกษาเรื่องนี้ต่อไป โดยเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ของเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ได้ติดตั้งเครื่องมือในการติดตามพฤติกรรมของสัตว์ในสวนสัตว์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยติดไว้ที่บริเวณกรงนกยูง เต่า กวาง และกระรอก เพื่อนำไปศึกษาเรื่องแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการเปิดเผยว่าพฤติกรรมของสัตว์เหล่านี้เปลี่ยนไปก่อนเกิดแผ่นดินไหวมากน้อยแค่ไหน แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่ามีสัตว์ราว ๑๓๐ ชนิดที่จะช่วยเตือนว่ากำลังจะเกิดภัยธรรมชาติในระยะเวลาอันใกล้ได้ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกหนูและงู ที่ตามธรรมชาติจะไม่ออกจากที่ซ่อนในเวลากลางวัน แต่เมื่อจะเกิดแผ่นดินไหวจะเห็นสัตว์พวกนี้ออกมาสู่ที่โล่งแจ้ง หรือยีราฟจะออกให้ห่างต้นไม้ แต่สัตว์ที่เจ้าหน้าที่ให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่สัตว์ประเภทเลื้อยคลาน อย่างงู เพราะถือว่าเปนสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสไวมาก ความจริงทุกชีวิตในโลก เกิดจากธรรมชาติ แต่ ความเจริญ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ หรือความสิวิไลซ์ ทำให้มนุษย์เราห่างธรรมชาติออกไปทุกที จนไม่สามารถรับรู้ในสิ่งที่ธรรมชาติเตือนได้ Manager online 25.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร