Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

10 สิ่งประดิษฐ์ที่เราเกือบพลาด...หากปราศจากการท่องอวกาศ  

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ 10 สิ่งประดิษฐ์ที่เราเกือบพลาด หากปราศจากการท่องอวกาศ 1. กล้องโทรศัพท์มือถือ ย้อนไปเมื่อราวปี พ.ศ.2533 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Jet Propulsion Laboratory (JPL) องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้คิดค้นกล้องขนาดเล็กเพื่อติดตั้งบนยานอวกาศสำหรับงานสำรวจทางวิทยาศาสตร์ สมัยนั้นอย่าว่าแต่โทรศัพท์มือถือเลยครับ แค่โทรศัพท์บ้านในบ้านพื้นที่ยังไม่รู้จักเลย และความคิดนั้นก็ได้รับการต่อยอดจนมาสู่กล้องมือถือที่ให้เราได้เซลฟีกันนั่นเอง 2.เลนส์กันรอยขีดข่วน แรกเริ่มมาจากนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยเลวิส (Lewis) นาซา ได้พัฒนาวิธีการเคลือบวัสดุด้วยเพชรแข็งสำหรับอากาศยาน ต่อมากระบวนการดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย 3.เครื่องซีทีสแกน การเดินทางในห้วงอวกาศที่มืดสนิทจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยเหลือการมองเห็นเพื่อช่วยในการนำทาง นักวิทยาศาสตร์จาก JPL นาซาจึงได้คิดค้นการถ่ายภาพอวกาศด้วยรังสี เป็นเทคนิคการได้มาซึ่งข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ ต่อมาพัฒนากลายมาเป็นเครื่องซีทีแสกนและใช้กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์ในปัจจุบัน 4.หลอดไฟเอลอีดี แรกเริ่มนาซาพัฒนาหลอด LED แสงสีแดงขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยการปลูกพืชในสถานีอวกาศและกระสวยอวกาศ ต่อมาทางบริษัท Quantum Devices ได้นำมาเป็นต้นแบบพัฒนาอุปกรณ์ที่ชื่อว่า WARP-10 รักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และภายหลัง LED แสงสีต่างๆก็ได้ถูกพัฒนาขึ้น ขนาดเล็กลงและใช้พลังงานน้อยลง จนนำไปสร้างหน้าจอที่มีแสงจากด้านหลัง ต่อมาเทคนิคดังกล่าวได้ใช้เพื่อพัฒนาเป็นหน้าจอสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์หลายรุ่นในปัจจุบัน 5.ผ้าห่มฟอยล์ หรือ ผ้าห่มฉุกเฉิน หากใครนึกไม่ออกก็ให้นึกถึงตอนที่ผ้าห่มที่ทีมหมูป่าใช้ในถ้ำระหว่างรอเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือออกจากถ้ำนะครับ ซึ่งพัฒนามาจากฉนวนกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ใช้กับดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ปฎิบัติภารกิจในอวกาศ ต่อมาได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ในงานกู้ภัยและการให้ความช่วยเหลือ ประโยชน์ของฟอยล์ก็เพื่อกักเก็บความร้อนภายในร่างกายคนเราไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อมมากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะตัวเย็นหรืออุณหภูมิกายต่ำผิดปกติ (Hypothermia) ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 6.เครื่องดูดฝุ่น ในช่วงยุคแห่งการสำรวจดวงจันทร์ นาซาร่วมกับบริษัท Black & Decker ได้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เก็บชิ้นส่วนตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ ภายใต้โครงการ Apollo ต่อมาในปีพ.ศ. 2522 ไอเดียดังกล่าวได้ถูกพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นเครื่องดูดฝุ่นที่เราใช้อยู่ตามบ้านในปัจจุบัน 7. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด นาซาร่วมกับบริษัท Diatek พัฒนาเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายผ่านทางหู โดยอาศัยคลื่นอินฟาเรดเพื่อตรวจวัดค่าพลังงานที่ได้จากแก้วหูของนักบินอวกาศ ต่อมาเครื่องดังกล่าวกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดในปัจจุบันและถูกนำไปใช้งานหลากหลายยิ่งขึ้น เช่น การตรวจสอบอุณหภูมิของอาหารจานร้อน อุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆ ของร่างกาย อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น รวมถึงทางการแพทย์ เป็นต้น และได้ถูกวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 8.หูฟังแบบไร้สาย ไอเดียแรกเริ่มมาจากเพื่ออำนวยความสะดวกนักบินอวกาศในระหว่างปฎิบัติภารกิจ และเพิ่มความปลอดภัยในการปฎิบัติภารกิจจากสายต่างๆ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ก็ได้นำมาใช้กับนักบินสายการบิน United Airlines และพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศในเวลาต่อมา 9.อาหารแช่แช็งแห้ง หนึ่งในสิ่งที่นาซาได้ทุ่มทุนทำการวิจัยอย่างหนักหน่วง ก็คือเรื่องอาหารที่จะให้นักบินอวกาศใช้ทานในอวกาศ มีหลากหลายเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การแช่แข็งแห้ง คือ การเอาความชื้นออกจากวัสดุที่แช่แข็งแล้ว ในขณะที่มันยังคงอยู่ในสภาพเดิม รักษารูปร่างและโครงสร้างไว้เหมือนเดิม รวมถึงรักษาคุณค่าทางอาหารให้คงเดิมได้ถึง 98% ในขณะที่น้ำหนักของอาหารลดเหลือเพียง 20% ปัจจุบันไอเดียดังกล่าวมีความสำคัญมากในธุรกิจส่งออกอาหาร 10.เมาส์ ย้อนไปในช่วงยุคต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 นักวิจัยนาซ่าได้พยายามคิดค้นวิธีที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการคำนวณในภารกิจต่างๆ ของนาซาที่ต้องอาศัยการพิมพ์ป้อนคำสั่งอย่างเดียวในขณะนั้น ต่อมาได้มีการนำเสนอไอเดียการจัดการข้อมูลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็นำมาสู่การประดิษฐ์เมาส์ควบคุมการสั่งการผ่านหน้าจอ เป็นต้นแบบการพัฒนาจนเป็นเมาส์ไร้สาย แป้นควบคุม รวมถึงหน้าจอสัมผัสในปัจจุบัน แม้ว่าเมาส์จะไม่เป็นผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจอวกาศโดยตรงแต่ก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญที่ทำให้ภารกิจของนาซ่าประสบความสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ปัญขาของมนุษย์เรา ทั้งหมดนี้ ยังเป็นแค่ส่วนเล็กๆในอีกหลากหลายนวัตกรรมที่เป็นผลพลอยได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ จะได้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์บางชิ้นที่ได้คิดค้นขึ้นมาในอดีต เพื่อเพียงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เดิมๆ แต่ได้เปลี่ยนชีวิตเราให้สะดวกขึ้นแล้วในปัจจุบัน Manager online 25.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร