Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไทย-เยอรมันร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนครบ 10 ปีแล้ว  

จัดงานฉลองปีที่ 10 ของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีในการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ด้วยความสำคัญและความเร่งด่วนที่ต้องจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานฉลองครบรอบ “10 ปี ความร่วมมือไทย - เยอรมัน การเดินทางรักษ์สิ่งแวดล้อม” เพื่อร่วมมือกันปกป้องและแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมผ่านการเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบันที่เต็มไปด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ การผนึกกำลังความร่วมมือของทั้งสองประเทศในการดำเนินงาน รวมทั้งการสะท้อนมุมมองต่อความท้าทายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคต เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ณ สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ “ประเทศเยอรมนีเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เราได้รวบรวมการดำเนินงานความร่วมมือตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไว้ในงานนี้ กว่า 60 โครงการที่เราได้ดำเนินการครอบคลุมเรื่องการจัดการของเสีย การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง และการส่งเสริมการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่ประหยัดพลังงาน” นายเกออร์ก ชมิดท์ (H.E. Mr.Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย กล่าวในพิธีเปิด นายชมิดท์กล่าวว่าการดำเนินงานดังกล่าวนับเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากผลกระทบที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะจัดการหรือรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ประเทศไทยต้องการการเติบโตในหลายด้านมากควบคู่ไปกับการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การผลักดันและการสนับสนุนกรอบการดำเนินงานที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการพัฒนาต่างๆ ที่ให้เกิดความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น ประเทศเยอรมนีจึงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานร่วมกับประเทศไทยในการรับมือกับปัญหาและความท้าทายดังกล่าว และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานร่วมกันต่อไป ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวขอบคุณรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องและเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ของสภาพภูมิอากาศ และระบุว่าไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถต่อสู้กับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมได้เพียงลำพัง ดังนั้นความร่วมมือระหว่างประเทศและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต "ประเทศไทยพร้อมเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการจัดทำข้อเสนอที่จะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ในส่วนของแผนปฏิบัติการการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC) ประเทศไทยเองได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20 จากการดำเนินงานตามปกติ (BAU) ภายในปีพ.ศ. 2573 ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี จะช่วยสนับสนุนความพยายามของเรา และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้ขยายกรอบความร่วมมือและดำเนินงานในระยะต่อไปร่วมกัน” นายวราวุธกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพฯ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมด้วยว่า สิ่งที่ได้รับจากเยอรมันนั้นมีทั้งงบประมาณ ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และโอกาสในการส่งคนไทยไปเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญเยอรมัน ซึ่งทำให้แนวทางการเรียนรู้เรื่องสภาวะโลกร้อนของไทยก้าวหน้าไปมาก และตั้งแต่มีรัฐบาลใหม่นั้น นายกรัฐมนตรีก็ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้มาก แต่สำหรับประเทศไทยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไทยเป็นประเทศที่กำลังเร่งพัฒนา การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนจึงเป็นเหมือนการดึงเบรกมือไปพร้อมๆ กับการเหยียบคันเร่ง สำหรับโครงการภายใต้ความร่วมมือทวิภาคีไทย-เยอรมันจำนวน 13 โครงการ ได้รับเงินทุนราว 57.5 ล้านยูโร (ประมาณ 1.9 พันล้านบาท) จากจำนวนนี้เป็นโครงการภายใต้กองทุน NAMA Facility จำนวน 2 โครงการ ด้วยเงินทุนกว่า 13.5 ล้านยูโร (ประมาณ 450 ล้านบาท) ซึ่งเงินทุนทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU) ภายใต้การปฏิบัติงานของแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative: IKI) โดยโครงการทั้งหมดนั้นล้วนมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินงานเพื่อปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปกป้องพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในงานยังได้จัดแสดงนิทรรศการเพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “เส้นทางแห่งความร่วมมือไทย - เยอรมัน” พร้อมกับการจัดเสวนาเพื่อสะท้อนมุมมองจากผู้ที่เคยได้ร่วมและได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการและทรรศนะของผู้แทนเยาวชนที่มีต่อการดำเนินความร่วมมือในอนาคต งานฉลองครบรอบ “10 ปี ความร่วมมือไทย - เยอรมัน การเดินทางรักษ์สิ่งแวดล้อม” มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 150 คน ได้แก่ ผู้แทนจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม เยาวชน สื่อมวลชน และผู้ดำเนินงานโครงการต่างๆ ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก IKI ซึ่งประกอบด้วยองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Plan International) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) สถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (GGGI) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย Manager online 26.11.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร