Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

การออกแบบทารก” ไม่ไกลเกินฝัน ฝ่ายสนับสนุนชี้ “สองปี” มีลุ้น  

ม.มหิดลและมหาวิทยาลัยชิบะ ร่วมพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการปลูกพืชมูลค่าสูง เปิดตัว ศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในอาคาร MU-CU-PFAL ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. โทโยกิ โคซาอิ (Prof. Dr. Toyoki Kozai) ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยชิบะ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้เกียรติและร่วมเป็นสักขีพยานในงานพิธีเปิด “ศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในอาคาร ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยชิบะ” (MU-CU Collaborative Research and Training Center in Plant Factory) หรือ ศูนย์ MU-CU-PFAL เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน ในฐานะผู้อำนวยการการจัดตั้งศูนย์ฯ เปิดเผยว่า ศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในอาคารฯ มีเป้าหมายในการยกระดับกระบวนการผลิตพืชมูลค่าสูง โดยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ การเกษตร วิศวกรรม และ IOT เพื่อใช้ในโรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียม หรือ PFAL (Plant Factory with Artificial Light) ที่ริเริ่มพัฒนาโดยศาสตราจารย์โทโยกิ โคซาอิ จากมหาวิทยาลัยชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดศูนย์ฯ ในฐานะตัวแทนของอธิการบดีมหาวิทยาลัยชิบะในครั้งนี้ด้วย แนวคิดและเทคโนโลยีนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก และเริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 สำหรับ “งานวิจัยด้าน PFAL ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ถูกริเริ่มขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 2545 ในระยะเริ่มต้นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เน้นพัฒนาองค์ความรู้การวิจัยพื้นฐาน เพื่อที่จะเข้าใจการตอบสนองของพืชในระบบควบคุมสภาพแวดล้อมเทียม สำหรับพืช 2 กลุ่ม คือกลุ่มพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน และกลุ่มพืชเขตหนาว ชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ภายใต้สภาพอากาศของประเทศไทย โดยเริ่มพัฒนาต้นแบบ Plantopia® ซึ่งเป็น PFAL ขนาดเล็กภายใต้ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมแบบกึ่งปิด ที่ใช้สำหรับการคัดเลือกต้นพืชพันธุ์กลายและต้นพืชที่มีพันธุกรรมผันแปรได้อย่างแม่นยำและใช้ย่นระยะวลาการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งต่อมาเป็นผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับนักศึกษาในงานแสดงผลงานนวัตกรรมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้น มีงานวิจัยอีกหลายโครงการที่ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยให้เข้าใจผลกระทบของสภาวะแวดล้อมเทียม ต่อการเจริญเติบโตและกลไกการสร้างสารสำคัญในพืชสมุนไพร โดยมีบางงานวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยชิบะ และอาจารย์สังกัดม.มหิดลที่วิทยาเขตกาญจนบุรี รวมทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผักสมุนไพรมูลค่าสูง ด้วยระบบ PFAL ที่ไม่ใช้ดินทั้งในอาคารและโรงเรือน ในขณะเดียวกันคณะวิทยาศาสตร์ก็มีทีมศึกษาวิจัย ที่พัฒนางานด้านโดรน หุ่นยนต์ และเซนเซอร์อัจฉริยะ สำหรับสนับสนุน PFAL และการเกษตรแบบแม่นยำในแปลงปลูก ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในอาคาร MU-CU-PFAL มีพันธกิจที่ตอบสนองการวิจัยเชิงปฏิบัติการ สำหรับถ่ายทอดให้ผู้สนใจทั้งในภาคการศึกษาภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันและภาคเอกชน เพื่อพัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อย่างเหมาะสมสำหรับการลงทุน สามารถถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชนของประเทศไทยรวมถึงประเทศอื่นในภูมิภาคที่ต้องการได้ อันจะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือที่ยั่งยืน ระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลได้กล่าวเสริมว่า MU-CU-PFAL นี้เป็นหนึ่งในศูนย์ Joint Research Center ที่มหาวิทยาลัยมหิดลให้การสนับสนุนการจัดตั้ง ภายใต้โครงการ “ทุนสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2561” ของกองวิเทศสัมพันธ์ โดยงบประมาณในส่วนของการจัดตั้งอาคารปฏิบัติการและระบบสนับสนุนภายใน เป็นการสนับสนุนจากงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเงินสนับสนุนโครงการ จากกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะของคณะวิทยาศาสตร์ ในส่วนของอุปกรณ์ครุภัณฑ์เครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นนั้น ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยชิบะประเทศญี่ปุ่น นอกจากการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ MU-CU-PFAL นี้แล้ว ทางมหาวิทยาลัยชิบะยังได้สนับสนุนเงินทุนในการจัดสร้างโรงเรือนระบบควบคุมเพื่อปลูกพืชทดลองที่วิทยาเขตกาญจนบุรีของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อใช้เป็นเครือข่ายวิจัยและฝึกอบรมเช่นกัน Voice of America 2.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร