Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคของคนยุคใหม่ในเอเชียแปซิฟิก  

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ – ถูกกล่าวถึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นภาวะใกล้ตัวและร้ายแรงกว่าที่คิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นระริก หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “เอเอฟ” (AF : Atrial Fibrillation) คือการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ ส่วนมากหัวใจจะเต้นเร็วเกินไป มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที (ปกติจะอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที) จน ส่งผลให้การบีบกล้ามเนื้อของหัวใจห้องบนทั้งสองห้องไม่สัมพันธ์กัน จากรายงานวิจัยเรื่องผลกระทบของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในเอเชียแปซิฟิก พบว่าภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมากถึง 5-6 เท่า หลอดเลือดสมองอุดตัน 2.5-3 เท่า และเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 2-3 เท่า ภายในปีพ.ศ.2593 มีการคาดเดาว่าจำนวนผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในเอเชียจะมีมากถึง 72 ล้านคน และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีผู้ป่วยมากเป็น 2 เท่าของจำนวนผู้ป่วยในยุโรปและอเมริกาเหนือรวมกัน อ.นพ.ธัชพงศ์ งามอุโฆษ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามา ธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจริงๆ แล้วมีเป็นจำนวนมาก ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นภาวะนี้คืออายุ และเนื่องด้วยสังคมปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนปัจจัยเสี่ยงรองลงมาคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ไขมันสูง และผู้ที่เคยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต อาการโดยทั่วไปของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจติดขัด และแน่นหน้าอก ซึ่งมากกว่าครึ่งของผู้ป่วยออกกำลังกายได้น้อยลง อ.นพ.ธัชพงศ์กล่าวต่อว่า เนื่องจากอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อยครั้งไม่ชัดเจนเหมือนโรคหัวใจชนิดอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่คิดว่านั่นคือความผิดปกติที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่มาหาหมอครั้งแรกด้วยอาการอัมพาต บ้างมาด้วยอาการหัวใจล้มเหลวจากภาวะน้ำท่วมปอด ศาสตราจารย์ภิชาน นพ.กุลวี เนตรมณี อาจารย์พิเศษ ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ ร.พ.บำรุงราษฎร์ กล่าวว่า การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในปัจจุบันนับว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก การรักษามี 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ 1.ใช้ยาเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอย่างยาละลายลิ่มเลือดควบคู่กับการควบคุมการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วจนเกินไป หรือการใช้ยาเพื่อให้หัวใจเต้นเป็นปกติตลอดเวลา กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจร่วมด้วย ร่างกายจะไม่ตอบสนองกับยากลุ่มหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นยาทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาอาการให้หายขาด ยังคงมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคต่างๆ ที่อาจตามมาอยู่ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังต้องรับประทานยาตลอดชีวิตอีกด้วย ก่อให้เกิดปัญหาด้านค่าใช้จ่าย 2.จี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุ นับเป็นวิทยาการล่าสุดและมีวิธีกระบวนการรักษาที่ต่างกันออกไปแล้วแต่เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้น เป็นการรักษาด้วยการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุผนวกกับการจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ 2 ห้องบนพร้อมประมวลผลและแสดงความซับซ้อนของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ โดยใช้สีเพื่อจำลองหัวใจผู้ป่วยให้เสมือนจริงมากที่สุด ทำให้การหาตำแหน่งและจี้ทำลายจุดที่ก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชัดเจนและแม่นยำขึ้น เป็นการรักษาที่ต้นเหตุโดยตรง ทำให้การฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถหายขาดได้ อายุยืนขึ้น และคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีโอกาสน้อยกว่า 3-4% ที่อาการจะกลับมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยด้วย คุณหมอทั้งสองท่านกล่าวเหมือนกันว่า เราควรตรวจดูชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจเป็นประจำ เพราะหากตรวจเจอเร็วก็จะสามารถรักษาได้แต่เนิ่นๆ เปอร์เซ็นต์การหายขาดก็จะเพิ่มขึ้นตาม แต่ที่สำคัญที่สุดเราควรมีวินัยในการดูแลสุขภาพตัวเอง ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะตามมา Khaosod online 2.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร